For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รถไฟใต้ดินลอนดอน.

รถไฟใต้ดินลอนดอน

รถไฟใต้ดินลอนดอน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งกรุงลอนดอน
ประเภทรถไฟใต้ดิน
จำนวนสาย11[1]
จำนวนสถานีให้บริการ 272 สถานี[1] (เป็นเจ้าของ 262 สถานี)
ผู้โดยสารต่อวัน1.8 ล้าน (กรกฎาคม 2021)[2]
ผู้โดยสารต่อปี1.23 พันล้านคน (ค.ศ. 2012/13)[2][3]
เว็บไซต์tfl.gov.uk/modes/tube/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน10 มกราคม 1863; 161 ปีก่อน (1863-01-10)
ผู้ดำเนินงานLondon Underground Ltd (LUL); ส่วนหนึ่งของ การคมนาคมลอนดอน (TfL)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง402 กิโลเมตร (250 ไมล์)
รางกว้าง
การจ่ายไฟฟ้า630–750 V DC รางที่สี่
ความเร็วเฉลี่ย33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (21 ไมล์ต่อชั่วโมง)[4]

รถไฟใต้ดินลอนดอน (อังกฤษ: London Underground) เป็นระบบขนส่งมวลชนของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตัวระบบใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก มีทั้งรถไฟบนดินและรถไฟใต้ดินอยู่ภายในสายเดียวกัน ถือเป็นระบบรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) โดยสายแรกคือ สายเมโทรโพลิตัน ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สาย Circle" ซึ่งวิ่งรอบโซน 1 ชั้นในของเมือง และ "สาย Hammersmith & City" ที่วิ่งพาดจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ไปยังด้านตะวันออกของเมือง ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าใต้ดินลอนดอนมีทั้งหมด 274 สถานี มีระยะทางรวมประมาณ 406 กิโลเมตร (253 ไมล์) และมีผู้โดยสารในปี ค.ศ. 2016–17 ประมาณ 1,379 ล้านคน-เที่ยว หรือเฉลี่ย 4.8 ล้านคน-เที่ยวต่อวัน[5] แม้ว่าชื่อ "the Underground" จะทำให้คนส่วนใหญ่นึกถึงรถไฟใต้ดิน แต่ความจริงแล้วมีเพียงร้อยละ 45 ของเส้นทางทั้งหมดเท่านั้นที่เป็นทางรถไฟในอุโมงค์ใต้ดิน พื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่ของรถไฟใต้ดินลอนดอน ได้แก่พื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์ ทำให้ส่วนพื้นที่ตอนใต้ของเกรเทอร์ลอนดอน มีจำนวนสถานีให้บริการเพียงร้อยละ 10 ของสถานีทั้งหมดเท่านั้น[6]

ในระยะแรกเส้นทางแต่ละสายของรถไฟใต้ดินลอนดอน เป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของแต่ละบริษัทเอกชนที่ลงทุนสร้างทางเส้นทางรถไฟ แต่ภายหลังถูกรวมเข้าด้วยกันภายใต้แบรนด์ "UNDERGROUND" ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 และภายหลัง ในปี ค.ศ. 1933 ก็ถูกควบรวมเข้ากับเส้นทางขนส่งทางรางใต้ผิวดินอื่น ๆ และ เส้นทางรถเมล์ เพื่อก่อตั้งการขนส่งแห่งนครลอนดอน (London Transport) ขึ้นภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการขนส่งผู้โดยสารลอนดอน (London Passenger Transport Board) ปัจจุบันผู้ดำเนินการให้บริการของรถไฟใต้ดินลอนดอน คือ บริษัท London Underground Limited (LUL) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาขาขององค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ: Transport for London) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) เป็นต้นมา รถไฟใต้ดินลอนดอนได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (TfL) ซึ่งควบคุมการบริหารจัดการรถเมล์ รถไฟรางเบาสายดอคแลนดส์ รถไฟเหนือดินลอนดอน และครอสเรล (Crossrail หรือตามชื่อเป็นทางการว่า สายอลิซาเบธ) ด้วย

การก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินลอนดอน เป็นโครงการที่ต้องมีการระดมทุนอย่างมหาศาล แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้การก่อสร้างเครือข่ายทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลกนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติการระดมทุนผ่านสถาบันการเงินสมัยใหม่

รถไฟใต้ดินลอนดอน บางครั้งจะเรียกว่า ดิอันเดอร์กราวนด์ (The Underground) หรือ เดอะทูป (The Tube) ตามลักษณะของอุโมงค์รถไฟใต้ดิน

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ทางรถไฟสายเมโทรโพลิตันเมื่อเริ่มเปิดใช้งาน โดยใช้หัวรถจักรไอน้ำลากจูงแบบ GWR broad guage[7]

ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหานครลอนดอนมีการขยายตัวทางประชากรอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีแรงงานจำนวนมากจากพื้นที่ชนบทอพยพเข้ามาหางานทำ พอถึงปี ค.ศ. 1830 พื้นที่เขตชั้นในของลอนดอนก็มีประชากรมากถึง 1.5 ล้านคน และยังมีแรงงานจำนวนไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน เดินทางเข้ามาทำงานทุกเช้า ทำให้การจราจรในท้องถนนของนครลอนดอนแทบหยุดนิ่งเป็นอัมพาต เพราะในขณะนั้นต้องพึ่งพารถลาก และรถโดยสารเทียมม้า หรือเทียมวัวซึ่งเคลื่อนที่ช้า[8] และยังทำให้แรงงานจำนวนมากต้องมาอาศัยอยู่กันอย่างแออัดเป็นสลัมในพื้นที่ชั้นในของเมือง เนื่องจากการจราจรที่เกือบหยุดนิ่งในช่วงเช้า ทำให้แรงงานเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ามาหาที่อยู่ใกล้ ๆ สถานที่ทำงาน ขณะนั้นเทคโนโลยีรถไฟยังเป็นของใหม่ แต่ความพยายามที่จะสร้างทางรถไฟเพื่อขนผู้โดยสารจากชานเมือง เข้ามาใจกลางเมือง ยังถูกต่อต้านในรัฐสภาเพราะพื้นที่ใจกลางกรุงลอนดอนล้วนแต่เป็นที่ดินที่มีเศรษฐี และผู้มีอิทธิพลถือกรรมสิทธิ์อยู่ ทำให้การเวนคืนพื้นที่เพื่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่ส่วนในของเมืองหลวงเป็นเรื่องที่มีอุปสรรคมากในทางการเมือง ดังนั้นแม้จะมีชุมทางรถไฟถึง 7 แห่งเกิดขึ้นรอบพื้นที่โซนภายในของนครลอนดอน[9] แต่การจะเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟใหญ่ ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันโดยทางรถไฟบนดิน (at grade) เป็นเรื่องที่ถูกคัดค้านมาตลอด ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ. 1830 จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างทางรถไฟใต้ดินเพื่อนำผู้คนจากพื้นที่ภายนอกของลอนดอนเข้ามาทำงานในใจกลางเมือง โดยมีนายชาร์ลส เพียรสัน (Charles Pearson) อัยการของนครลอนดอนรับหน้าที่เป็นหัวเรือในการผลักดันแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ นายเพียร์สันจึงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นบิดาแห่งรถไฟใต้ดินลอนดอนมาจนปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1854 ทางรถไฟสายเมโทรโพลิตันได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างได้เป็นสายแรก หลังจากเปิดทดลองอยู่สองปี ทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลกก็เปิดให้บริการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1863 ระหว่างสถานีแพดดิงตัน กับสถานีฟาร์ริงตัน โดยเป็นรถโดยสารที่ให้ความสว่างด้วยแก๊ส และมีหัวรถจักรไอน้ำฉุดลาก มีผู้โดยสารใช้บริการถึง 38,000 คนในวันเปิดให้บริการ

ลำดับเวลา

[แก้]
  • ค.ศ. 1863: รถไฟฟ้าใต้ดินลอนดอนเปิดให้บริการ โดยบริษัทรถไฟเมโทรโพลิตันเป็นผู้สร้างสายแรก และให้บริการ 7 สถานีระหว่างสถานีแพดดิงตัน กับสถานีฟาร์ริงตัน
  • ค.ศ. 1864: สายเมโทรโพลิตันขยายต่อไปทางทิศตะวันตกและมุ่งลงใต้ไปถึง Hammersmith กับ Kensington
  • ค.ศ. 1865: สายเมโทรโพลิตันขยายไปทางทิศตะวันออกจนถึงสถานี Moorgate

อุบัติเหตุและการก่อการร้าย

[แก้]

การบริการ

[แก้]
แผนที่ โซน 1 (โซนกลาง) ของรถไฟใต้ดินลอนดอน (และสาย DLR)

รถไฟใต้ดินไม่ได้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันปีใหม่ เพราะว่าสายรถไฟใต้ดินส่วนใหญ่จะมีทางรถไฟแค่สองรางสวนกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปิดบริการตอนกลางคืนเพื่อทำการปรับปรุงรักษารางรถไฟ รถไฟจะเริ่มให้บริการเที่ยวแรกเวลา 04.30 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 01.30 น. ซึ่งแตกต่างจากระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่นิวยอร์กตรงที่ลอนดอนไม่มีรางให้อ้อมบริเวณที่บำรุงรักษา เมื่อไม่นานมานี้จึงได้มีการเริ่มใช้เวลาที่รถไฟปิดบริการวันสุดสัปดาห์ในการบำรุงรักษา

สถานี

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สาย

[แก้]

ตารางข้างล่างนี้แสดงสายรถไฟใต้ดินต่าง ๆ ที่วิ่งบนรถไฟใต้ดินลอนดอน ถึงปี พ.ศ. 2550 รถไฟใต้ดินลอนดอนมีทั้งหมด 12 สาย สายที่ 12 ซึ่งก็คือสายอีสต์ลอนดอน แต่สายนี้ถูกปิดลงเพื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็นรถไฟเหนือดินลอนดอน และเปิดให้บริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553

สายรถไฟใต้ดินลอนดอน
ชื่อสาย สีบนแผนที่ ให้บริการครั้งแรก ส่วนแรกเปิด * ตั้งชื่อสายเมื่อ ประเภท ระยะทาง (กม.) ระยะทาง (ไมล์) จำนวนสถานี รอบการเดินรถต่อปี (พันรอบ) รอบการเดินรถเฉลี่ยต่อไมล์ (พันรอบ)
สายเบเคอร์ลู น้ำตาล พ.ศ. 2449 พ.ศ. 2449 พ.ศ. 2449 ระดับลึก 23.2 14.5 25 95,947 6,617
สายเซ็นทรัล แดง พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2443 ระดับลึก 74 46 49 183,582 3,990
สายเซอร์เคิล เหลือง พ.ศ. 2427 พ.ศ. 2406 พ.ศ. 2492 กึ่งใต้ดิน-บนดิน 22.5 14 27 68,485 4,892
สายดิสทริกต์ เขียว พ.ศ. 2411 พ.ศ. 2401 พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2448 กึ่งใต้ดิน-บนดิน 64 40 60 172,879 4,322
สายแฮมเมอร์สมิธและซิตี ชมพู พ.ศ. 2406 พ.ศ. 2401 พ.ศ. 2531 กึ่งใต้ดิน-บนดิน 26.5 16.5 28 45,845 2,778
สายจูบิลี เทา พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2422 พ.ศ. 2522 ระดับลึก 36.2 22.5 27 127,584 5,670
สายเมโทรโพลิตัน ม่วง พ.ศ. 2406 พ.ศ. 2406 พ.ศ. 2406 กึ่งใต้ดิน-บนดิน 66.7 41.5 34 53,697 1,294
สายนอร์ธเธิร์น ดำ พ.ศ. 2433 พ.ศ. 2410 พ.ศ. 2480 ระดับลึก 58 36 50 206,734 5,743
สายพิคคาดิลลี่ น้ำเงิน พ.ศ. 2449 พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2449 ระดับลึก 71 44.3 52 176,177 3,977
สายวิกตอเรีย ฟ้า พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2511 ระดับลึก 21 13.25 16 161,319 12,175
สายวอเตอร์ลูและซิตี ฟ้าอ่อน พ.ศ. 2441 พ.ศ. 2441 พ.ศ. 2441 ระดับลึก 2.5 1.5 2 9,616 6,410
* เมื่อปีที่แสดงเป็นปีก่อนหน้าปี ให้บริการครั้งแรก ก็หมายความว่าสายที่กล่าวเปิดบริการเป็นส่วนหนึ่งของสายอื่นมาก่อนหรือโดยบริษัทอื่นมาก่อน.


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "About TfL – What we do – London Underground – Facts & figures". Transport for London. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  2. 2.0 2.1 Transport for London (2021-08-23). "Public Transport Journeys by Type of Transport". London Datastore. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  3. "Annual Report and Statement of Accounts" (PDF). Transport for London. 2021-07-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  4. Transport for London (29 July 2019). "Facts & figures".
  5. "TfL annual report 201617" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 August 2017.
  6. Attwooll, Jolyon (5 August 2015). "London Underground: 150 fascinating Tube facts". The Daily Telegraph. London.
  7. Peacock (1970), pp. 37–38.
  8. Wolmar 2004, p. 22.
  9. Green 1987, p. 3.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Artmonsky, Ruth (2012). Designing Women: Women Working in Advertising and Publicity from the 1920s to the 1960s (1st ed.). Artmonsky Arts. ISBN 978-0-9551994-9-3.
  • Bonavia, Michael R. (1981). British Rail: The First 25 Years. Newton Abbot: David & Charles. ISBN 978-0-7153-8002-4.
  • Brown, Joe (1 October 2012). London Railway Atlas (3rd ed.). Ian Allan Publishing. ISBN 978-0-7110-3728-1.
  • Cooke, B.W.C., บ.ก. (September 1964). "The Why and the Wherefore: London Transport Board". Railway Magazine. Vol. 110 no. 761. Westminster: Tothill Press.
  • Croome, D.; Jackson, A (1993). Rails Through The Clay — A History Of London's Tube Railways (2nd ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-151-4.
  • Day, John R; Reed, John (2010) [1963]. The Story of London's Underground (11th ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-341-9.
  • Day, John R.; Reed, John (2008) [1963]. The Story of London's Underground (10th ed.). Harrow: Capital Transport. ISBN 978-1-85414-316-7.
  • Fennell, Desmond (1988). Investigation into the King's Cross Underground Fire. Department of Transport. ISBN 978-0-10-104992-4. Scan available online at railwaysarchive.co.uk. Retrieved 27 October 2012.
  • Green, Oliver (1987). The London Underground — An illustrated history. Ian Allan. ISBN 978-0-7110-1720-7.
  • Hardy, Brian (2002) [1976]. London Underground Rolling Stock (15th ed.). Harrow Weald: Capital Transport. ISBN 978-1-85414-263-4.
  • Horne, Mike (2003). The Metropolitan Line. Capital Transport. ISBN 978-1-85414-275-7.
  • Horne, Mike (2006). The District Line. Capital Transport. ISBN 978-1-85414-292-4.
  • Jackson, Alan (1986). London's Metropolitan Railway. David & Charles. ISBN 978-0-7153-8839-6. Snippet view at google.com, retrieved 20 August 2012
  • Lentin, Antony (2013). Banker, Traitor, Scapegoat, Spy? The Troublesome Case of Sir Edgar Speyer. Haus. ISBN 978-1-908323-11-8.
  • Ovenden, Mark (2013). London Underground by Design. Penguin Books. ISBN 978-1-84614-417-2.
  • Peacock, Thomas B. (1970). Great Western London Suburban Services. Oakwood Press. ASIN B0006C7PD2.
  • Rose, Douglas (December 2007) [1980]. The London Underground: A Diagrammatic History (8th ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-315-0.
  • Simpson, Bill (2003). A History of the Metropolitan Railway. Vol 1. Lamplight Publications. ISBN 978-1-899246-07-6.
  • Wolmar, Christian (2004). The Subterranean Railway: how the London Underground was built and how it changed the city forever. Atlantic. ISBN 978-1-84354-023-6.
  • Transport Committee (December 2009). "Too Close For Comfort: Passengers' experiences of the London Underground" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 1 April 2013.
  • Transport Committee (November 2010). "Accessibility of the transport network" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 August 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
  • Transport Committee (September 2011). "The State of the Underground" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 May 2015. สืบค้นเมื่อ 1 April 2012.
  • "Your accessible transport network" (PDF). Transport for London. December 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รถไฟใต้ดินลอนดอน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?