For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ภาษากงกัณ.

ภาษากงกัณ

ภาษากงกัณ
कोंकणी / ಕೊಂಕಣಿ/ Konknni/ കോങ്കണീ/ کونکڼی
"กงกัณ" ที่เขียนในอักษรเทวนาครี
ออกเสียง[kõkɳi] (ตัวภาษา), [kõkɵɳi] (แผลงเป็นอังกฤษ)
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาคกงกัณ (รวมกัวและพื้นที่ชายฝั่งของรัฐกรณาฏกะ, มังคาลอร์, รัฐมหาราษฏระและบางส่วนของรัฐเกรละ, รัฐคุชราต (Dang district) และ Dadra and Nagar Haveli and Daman and Diu)[1][2]
ชาติพันธุ์ชาวกงกัณ
จำนวนผู้พูด2.3 ล้าน  (2011 census)[3]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
กลุ่มสำเนียง: Canara Konkani, Goan Konkani, Maharashtrian Konkani
สำเนียงเฉพาะ: Malvani, Mangalorean, Chitpavani, Antruz, Bardeskari, Saxtti, Daldi, Pednekari, Koli และ Aagri[4]
ระบบการเขียนอดีต:
พราหมี
Nāgarī
Goykanadi
โมฑี
ปัจจุบัน: เทวนาครี (ทางการ)[note 1]
โรมัน[note 2]
กันนาดา[note 3]
มลยาฬัม[5]
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบKarnataka Konkani Sahitya Academy และรัฐบาลกัว[7]
รหัสภาษา
ISO 639-2kok
ISO 639-3kok – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
gom – Goan Konkani
knn – Maharashtrian Konkani
พื้นที่ที่มีผ้พูดภาษากงกัณเป็นภาษาแม่ในประเทศอินเดีย

ภาษากงกัณ (Kōṅkaṇī) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวกงกัณส่วนใหญ่ในแคว้นชายฝั่งตะวันตก (กงกัณ) ของอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 22 รายการภาษาที่ถูกระบุในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[8] และเป็นภาษาทางการของกัว จารึกภาษากงกัณอักแรกเขียนใน ค.ศ. 1187[9] ภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐกรณาฏกะ, รัฐมหาราษฏระ, รัฐเกรละ,[10] รัฐคุชราตและดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู

ลักษณะ

[แก้]

ภาษากงกัณ (กงกณีภาษา) เป็นภาษาที่มีความหลากหลายในด้านการเรียงประโยคและรูปลักษณ์ของภาษา ไม่อาจจำแนกได้ว่าเป็นภาษาที่ใช้การเน้นเสียงหรือเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ [11] เป็นภาษาที่แยกเสียงสั้นยาวของสระเช่นเดียวกับภาษาในกลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ พยางค์ที่มีสระเสียงยาวมักเป็นพยางค์ที่เน้น

ภาษากงกัณมีสระพื้นฐาน 16 เสียง พยัญชนะ 36 เสียง เสียงกึ่งสระ 5 เสียง เสียงออกตามไรฟัน 3 เสียง เสียงระบายลม 1 เสียง และมีเสียงประสมจำนวนมาก ความแตกต่างของสระนาสิกเป็นลักษณะพิเศษของภาษากงกัณ

สระ

[แก้]
สระ
หน้า กลาง หลัง
ปิด i ĩ u ũ
กลางปิด e ɵ ɵ̃ o õ
กลางเปิด ɛ ɛ̃ ʌ ɔ ɔ̃
เปิด (æ) a ã

พยัญชนะ

[แก้]
พยัญชนะ
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
ปลายลิ้นม้วน หลัง
ปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด p (pʰ)
b
t
d
ʈ ʈʰ
ɖ ɖʱ
k
ɡ ɡʱ
 
กักเสียดแทรก ts tsʰ
dz dzʱ
tɕʰ
dʑʱ
 
เสียดแทรก f  s   ɕ   h
นาสิก m n ɳ ɳʱ ɲ ŋ
เหลว ʋ ʋʱ ɾ ɾʱ
l
ɽ
แม่แบบ:PUA[12]
j    

ประวัติ

[แก้]

จุดเริ่มต้น

[แก้]

ภาษากงกัณพัฒนาขึ้นในบริเวณกงกัณซึ่งเป็นฉนวนแผ่นดินแคบ ๆ ระหว่างเขตภูเขาสหยทริและทะเลอาหรับทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย โดยเฉพาะในโคมันตัก (ปัจจุบันคือกัว) ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษากงกัณมีสองแบบคือ

  • ต้นกำเนิดของภาษากงกัณคือกลุ่มพราหมณ์สรสวัต ผู้อยู่ตามฝั่งแม่น้ำสรวสวตีในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำเมื่อราว 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ทำให้มีการอพยพ กลุ่มผู้อพยพกลุ่มหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณโคมันตัก คนกลุ่มนี้พูดภาษาปรากฤต (ภาษาเศารเสนี) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นภาษากงกัณ[13]
  • ภาษากงกัณเป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในหมู่ชาวโกกนาซึ่งถูกทำให้เป็นสันสกฤต ชนกลุ่มนี้ปัจจุบันอยู่ในทางเหนือของรัฐมหาราษฏระและทางใต้ของรัฐคุชราตแต่อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากเขตกงกัณ ผู้อพยพชาวอารยันที่เข้าสู่กงกัณนำภาษาของคนในท้องถิ่นมาใช้และเพิ่มศัพท์จากภาษาปรากฤตและภาษาสันสกฤตเข้าไป [14]

ช่วงแรก

[แก้]

ภาษากงกัณเป็นภาษาหลักในกัว เริ่มแรกเขียนด้วยอักษรพราหมี ต่อมาจึงเขียนด้วยอักษรเทวนาครี ใช้ในทางศาสนาและการค้ารวมทั้งในชีวิตประจำวัน

กลุ่มชนอื่น ๆ ที่ใช้ภาษากงกัณสำเนียงต่าง ๆ ได้แก่ชาวกงกัณมุสลิมในเขตรัตนกาลีและภัตกัล ซึ่งมีลักษณะของภาษาอาหรับเข้ามาปนมาก ชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษากงกัณคือชาวสิททิสซึ่งมาจากเอธิโอเปีย[15]

การอพยพและการแยกเป็นส่วน

[แก้]

การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากในหมู่ของชาวกงกัณ ชาวกงกัณบางส่วนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และอิทธิพลทางศาสนาของโปรตุเกสทำให้ชาวกงกัณบางส่วนอพยพออกไป การแบ่งแยกระหว่างชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูและคริสต์ทำให้ภาษากงกัณแตกเป็นหลายสำเนียงยิ่งขึ้น

ภาษานี้แพร่ไปสู่เขตจนระหรือกรวลี (ชายฝั่งของการณตกะ) โกกัน-ปัตตะ (ชายฝั่งกงกัณ ส่วนของรัฐมหาราษฏระ) และรัฐเกราลาในช่วง 500 ปีหลัง การอพยพของชาวกงกัณมีสาเหตุมาจากการปกครองกัวของโปรตุเกส

การอพยพของชาวคริสต์และฮินดูเกิดเป็น 3 ระลอก การอพยพครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2103 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่โปรตุเกสเข้ามาปกครองกัว ครั้งที่ 2 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2114 ในสงครามกับสุลต่านพิชปูร์ การอพยพครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างสงครามในช่วง พ.ศ. 2226 - 2283 การอพยพในช่วงแรกเป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู ส่วนสองครั้งหลัง ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์

ภาษากงกัณในกัวของโปรตุเกส

[แก้]

ในช่วงแรกของการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส มิชชันนารีให้ความสำคัญกับการแปลคัมภีร์ศาสนาคริสต์เป็นภาษาท้องถิ่นทั้งภาษากงกัณและภาษามราฐีจนกระทั่ง พ.ศ. 2227 โปรตุเกสห้ามใช้ภาษาถิ่นในเขตปกครองของตน ซึ่งถือว่าเป็นภาษาสำหรับศาสนาฮินดู ให้ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการแทน ทำให้การใช้ภาษากงกัณลดลงและทำให้ภาษาโปรตุเกสมีอิทธิพลต่อภาษากงกัณสำเนียงของชาวคริสต์มาก ส่วนชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาทางศาสนา และจากความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างภาษากงกัณและภาษามราฐี ทำให้ชาวกงกัณส่วนใหญ่พูดภาษามราฐีเป็นภาษาที่สองและปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวฮินดูในกัวรวมทั้งชาวกงกัณด้วย ชาวคริสต์ชั้นสูงใช้ภาษากงกัณกับชนชั้นที่ต่ำกว่าและยากจน ส่วนในสังคมของตนใช้ภาษาโปรตุเกส

ผู้อพยพชาวกงกัณนอกกัวยังคงใช้ภาษากงกัณและภาษามีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น มีการเขียนภาษากงกัณด้วยอักษรเทวนาครีในรัฐมหาราษฏระ ในขณะที่ผู้พูดในรัฐกรนาฏกะเขียนด้วยอักษรกันนาดา

การฟื้นฟูภาษากงกัณ

[แก้]

สถานะของภาษากงกัณจัดว่าน่าเป็นห่วง มีการใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการและภาษาทางสังคมในหมู่ชาวคริสต์ ในหมู่ชาวฮินดูนิยมใช้ภาษามราฐีมากกว่าและมีการแบ่งแยกระหว่างชาวคริสต์และชาวฮินดูมากขึ้น

ยุคหลังได้รับเอกราช

[แก้]

หลังจากอินเดียได้รับเอกราช กัวได้รวมเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 ได้เกิดข้อโต้แย้งในกัวเกี่ยวกับสถานะของภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศและอนาคตของกัวว่าจะรวมเข้ากับรัฐมหาราษฏระหรือเป็นรัฐต่างหากต่อไป บทสรุปปรากฏว่ากัวเลือกเป็นรัฐต่างหากใน พ.ศ. 2510 ส่วนในด้านภาษา ภาษาที่มีการใช้มากภายในรัฐได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ส่วนภาษากงกัณยังไม่ได้รับการใส่ใจ

การกำหนดให้เป็นภาษาเอกเทศ

[แก้]

ในขณะที่มีความเชื่อว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐีไม่ใช่ภาษาเอกเทศ สุนิต กุมาร จัตเตร์ชี ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์แห่งชาติได้จัดการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับข้อโต้แย้งนี้และได้บทสรุปเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ว่าภาษากงกัณเป็นภาษาเอกเทศ [16]

สถานะการเป็นภาษาราชการ

[แก้]

กลุ่มผู้รักภาษากงกัณได้เรียกร้องให้ภาษากงกัณเป็นภาษาประจำรัฐกัวใน พ.ศ. 2529 ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 รัฐกัวยอมรับให้ภาษากงกัณเป็นภาษาราชการของรัฐ และได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดียเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2535

ปัญหา

[แก้]

ภาษากงกัณเป็นภาษาที่ใกล้ตายเพราะ

  • การแตกแยกเป็นส่วน ๆ ของภาษากงกัณ ทำให้ไม่มีสำเนียงกลางที่เข้าใจระหว่างกันได้
  • การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตกในอินเดีย
  • ชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูในกัวและบริเวณชายฝั่งของรัฐมหาราษฏระ ส่วนใหญ่ใช้ภาษามราฐีได้ด้วย
  • ผู้นับถือศาสนาอิสลามหันไปใช้ภาษาอูรดู
  • ปัญหาการติดต่อของชาวกงกัณที่มีศาสนาต่างกัน และภาษากงกัณไม่ได้เป็นภาษาสำคัญทางศาสนา ชาวกงกัณมักติดต่อในกลุ่มที่นับถือศาสนาเดียวกันและหลีกเลี่ยงการติดต่อระหว่างกลุ่มที่มีศาสนาต่างกัน
  • การอพยพของชาวกงกัณไปยังบริเวณอื่น ๆ ของอินเดียและทั่วโลก
  • การขาดโอกาสที่จะเรียนภาษากงกัณในโรงเรียน มีโรงเรียนที่สอนภาษากงกัณไม่กี่แห่งในกัว ประชาชนที่อยู่นอกเขตที่ใช้ภาษากงกัณไม่มีโอกาสได้เรียนภาษากงกัณแม้ตะในแบบไม่เป็นทางการ
  • ความนิยมของประชาชนที่นิยมพูดกับเด็ก ๆ ด้วยภาษาที่ใช้ทำมาหากิน ไม่ใช่ภาษาแม่ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ภาษาอังกฤษของเด็กดีขึ้น

มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภาษากงกัณโดยเฉพาะความพยายามของเศนอย โคเอมพับ ที่พยายามสร้างความสนใจวรรณกรรมภาษากงกัณขึ้นอีกครั้ง มีองค์ที่สนับสนุนการใช้ภาษากงกัณ เช่น กงกัณ ไทซ ยตระ ที่บริหารโดยมันเดล และองค์กรที่ใหม่กว่าอย่างเช่น วิศวะ กงกัณ ปาริศัด

การใช้หลายภาษา

[แก้]

จากการสำรวจในอินเดีย ผู้พูดภาษากงกัณพูดได้หลายภาษา ใน พ.ศ. 2544 ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศมีผู้ใช้สองภาษาร้อยละ 19.44 และใช้สามภาษาร้อยละ 7.26 ในขณะที่เฉพาะผู้พูดภาษากงกัณ มีผู้ใช้สองภาษาร้อยละ 74.2 และใช้สามภาษาร้อยละ 44.68 ทำให้ชุมชนของชาวกงกัณเป็นชุมชนของผู้ใช้หลายภาษาในอินเดีย เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการที่ขาดโรงเรียนที่สอนด้วยภาษากงกัณเป็นภาษาแรกหรือภาษาที่สอง

การใช้หลายภาษาไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่เป็นการชี้ให้เห็นว่าภาษากงกัณเป็นภาษาที่ไม่เกิดการพัฒนา ผู้พูดภาษากงกัณที่ใช้ภาษามราฐีในกัวและมหราราษฏระเชื่อว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐี

ข้อโต้แย้งระหว่างภาษากงกัณและภาษามราฐี

[แก้]

มีการกล่าวอ้างมานานแล้วว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐีและไม่ใช่ภาษาเอกเทศ ซึ่งมีเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ความใกล้เคียงระหว่างภาษามราฐีและภาษากงกัณ ความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์ระหว่างกัวและมหาราษฏระ อิทธิพลอย่างชัดเจนของภาษามราฐีต่อภาษากงกัณสำเนียงที่ใช้พูดในรัฐมหาราษฏระ การที่ภาษากงกัณมีวรรณกรรมน้อยและชาวกงกัณที่นับถือศาสนาฮินดูจะใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สอง ทำให้งานเขียนของ Jose Pereira ใน พ.ศ. 2514 กล่าวว่าภาษากงกัณเป็นสำเนียงของภาษามราฐี งานเขียนของ S. M. Katre ใน พ.ศ. 2509 ได้ใช้การศึกษาทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่และเปรียบเทียบสำเนียงของภาษากงกัณหกสำเนียงได้สรุปว่าจุดกำเนิดของภาษากงกัณต่างจากภาษามราฐี เศนอย โคเอมพับ ผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูภาษากงกัณ ได้ต่อต้านการใช้ภาษามราฐีในหมู่ชาวฮินดูและการใช้ภาษาโปรตุเกสในหมู่ของชาวคริสต์

การรวมของกัวเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นเวลาที่รัฐในอินเดียมีการจัดตัวใหม่ตามเส้นแบ่งทางภาษา มีความต้องการที่จะรวมกัวเข้ากับรัฐมหาราษฏระเพราะในกัวมีผู้พูดภาษามราฐีจำนวนมาก และภาษากงกัณถูกจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามราฐี ดังนั้นสถานะของภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศหรือเป็นสำเนียงของภาษามราฐีจึงเป็นหัวข้อทางการเมืองในการรวมรัฐกัวด้วย

องค์กรวิชาการสาหิตยะในอินเดียยอมรับภาษากงกัณในฐานะภาษาเอกเทศเมื่อ พ.ศ. 2518 และภาษากงกัณที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้เป็นภาษาราชการของกัวใน พ.ศ. 2530

การแพร่กระจาย

[แก้]

ภาษกงกัณใช้พูดทั่วไปในเขตกงกัณ ซึ่งรวมถึง กัว ชายฝั่งตอนใต้ของรัฐมหาราษฏระ ชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ และรัฐเกราลา แต่ละท้องถิ่นมีสำเนียงของตนเอง การแพร่กระจายของผู้พูดภาษานี้มีสาเหตุหลักจากการออพยพของชาวกัวเพื่อหลบหนีการปกครองของโปรตุเกส

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษากงกัณเขียนด้วยอักษณหลายชนิด ทั้ง อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน (เริ่มสมัยอาณานิคมของโปรตุเกส) อักษรกันนาดา ใช้ในเขตมันกาลอร์ และชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ อักษรอาหรับในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า ภัทกาลี ชนกลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาอิสลามในสมัยสุลต่านทิบบู อยู่ในเขตรัฐการณาฏกะ มีผู้เขียนด้วยอักษรมลยาฬัมกลุ่มเล็ก ๆ ในเกราลา แต่ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้อักษรเทวนาครีแทน

อักษรที่ใช้เขียนภาษากงกัณ
IPA อักษรเทวนาครีปรับปรุง อักษรเทวนาครีมาตรฐาน อักษรละติน อักษรกันนาดา อักษรมลยาฬัม อักษรอาหรับ
/ɵ/ o ಅ/ಒ ?
/aː/ a ?
/i/ i ?
/iː/ i ?
/u/ u ?
/uː/ u ?
/e/ e ?
/ɛ/ e ?
æ no symbol /e/ ಎ or ಐ ?
/ɵi/ ai/oi ?
/o/ o ?
/ɔ/ o ?
/ɵu/ au/ou ?
/ⁿ/ अं अं om/on ಅಂ അം ?
/k/ k ಕ್ ക് ک
/kʰ/ kh ಖ್ ഖ് که
/g/ g ಗ್ ഗ് ک
/gʱ/ gh ಘ್ ഘ് گه
/ŋ/ ंग ng ങ് ڭ
/ts/ च़ च़ ch ಚ್ ത്സ് څ
/c/ ch ಚ್ ച് چ
/cʰ/ chh ಛ್ ഛ് چه
/z/ ज़ ज़ z ? ز
/ɟ/ j ಜ್ ജ് ج
/zʰ/ झ़ झ़ zh ಝ್ ? زه
/ɟʱ/ jh ಝ್ ഝ് جه
/ɲ/ nh ഞ് ڃ
/ʈ/ tt ಟ್ ട് ټ
/ʈʰ/ tth ಠ್ ഠ് ټه
/ɖ/ dd ಡ್ ഡ് ډ
/ɖʱ/ ddh ಢ್ ഢ് ډه
/ɳ/ nn ಣ್ ണ് ڼ
/t̪/ t ತ್ ത് ت
/t̪ʰ/ th ಥ್ ഥ് ته
/d̪/ d ದ್ ദ് د
/d̪ʰ/ dh ಧ್ ധ് ده
/n/ n ನ್ ന് ن
/p/ p ಪ್ പ് پ
/f/ फ़ f ಫ್ ? ف
/b/ b ಬ್ ബ് ب
/bʱ/ bh ಭ್ ഭ് به
/m/ m ಮ್ മ് م
/j/ i/e/ie ಯ್ യ് ې
/ɾ/ r ರ್ ര് ر
/l/ l ಲ್ ല് ل
/ʃ/ x ಶ್ ഷ് ش
/ʂ/ x ಷ್ ശ് ?
/s/ s ಸ್ സ് س
/ɦ/ h ಹ್ ഹ് ?
/ɭ/ ll ಳ್ ള് ?
/ʋ/ v ವ್ വ് ڤ

การเขียนและหัวข้อเรื่องสำเนียง

[แก้]

ปัญหาทางด้านการใช้ระบบการเขียนหลายชนิดและสำเนียงที่ต่างกันกลายเป็นปัญหาสำคัญในการทำให้ภาษากงกัณเป็นเอกภาพ การตัดสินใจให้ใช้อักษรเทวนาครีเป็นอักษรทางการและให้สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงมาตรฐานทำให้มีข้อโต้แย้งตามมา สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงที่ชาวกัวส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและต่างจากภาษากงกัณสำเนียงอื่น และอักษรเทวนาครีมีการใช้น้อยเมื่อเทียบกับอักษรโรมันในกัวและอักษรกันนาดาในบริเวณชายฝั่งของรัฐกรนาฏกะ ชาวคริสต์คาทอลิกในกัวได้ใช้อักษรโรมันในการเขียนงานวรรณกรรมและต้องการให้อักษรโรมันเป็นอักษรทางการเทียบเท่าอักษรเทวนาครี

ในกรนาฏกะที่มีผู้พูดภาษากงกัณจำนวนมาก ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ใช้อักษรกันนาดาเขียนภาษากงกัณในโรงเรียนท้องถิ่นแทนอักษรเทวนาครี ในปัจจุบันไม่มีอักษรชนิดใดหรือสำเนียงใดเป็นที่เข้าใจหรือได้รับการยอมรับจากทุกส่วน การที่ขาดสำเนียงที่เป็นกลางและเข้าใจกันได้ทั่วไป ทำให้ผู้พูดภาษากงกัณต่างสำเนียงกันต้องสื่อสารกันด้วยภาษาอื่น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. มีการประกาศให้อักษรเทวนาครีเป็นอักษรทางการ
  2. รัฐบาลกัวผ่านร่างอนุญาตใช้อักษรโรมันในการสื่อสารได้ ซึ่งมีผลแตกต่างกัน เช่น Goa Panchayat Rules, 1996 เก็บถาวร 2017-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ใช้ทั้งรูปเทวนาครีและโรมัน
  3. ในรัฐกรณาฏกะใช้อักษรกันนาดาแทนเทวนาครี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Whiteley, Wilfred Howell (1974). Language in Kenya. Oxford University Press. p. 589.
  2. Kurzon, Denis (2004). Where East looks West: success in English in Goa and on the Konkan Coast Volume 125 of Multilingual matters. Multilingual Matters. p. 158. ISBN 978-1-85359-673-5.
  3. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues - 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  4. Kapoor, Subodh (10 April 2002). The Indian Encyclopaedia: La Behmen-Maheya. Cosmo Publications. ISBN 9788177552713 – โดยทาง Google Books.
  5. Mother Tongue blues – Madhavi Sardesai
  6. "PUZZLE WRAPPED IN AN ENIGMA: UNDERSTANDING KONKANI IN GOA". 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
  7. "The Goa Daman and Diu Official Language Act" (PDF). Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 March 2010.
  8. "Distribution of the 22 Scheduled Languages- India/ States/ Union Territories – 2001 Census".
  9. Administrator. "Department of Tourism, Government of Goa, India - Language". goatourism.gov.in.
  10. Cardona, Jain, George, Dhanesh (2007). The Indo-Aryan Languages. Routledge. pp. 1088 pages (see page:803–804). ISBN 9780415772945.
  11. Caroline Menezes (The National Institute for Japanese language, Tokyo, Japan). "The question of Konkani?" (PDF). Project D2, Typology of Information Structure". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.((cite web)): CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. *Masica, Colin (1991), The Indo-Aryan Languages, Cambridge: Cambridge University Press, p. 97, ISBN 978-0-521-29944-2.
  13. Origins of the Konkani Language - Krishnanand Kamat
  14. "Tracing the Roots of the Konkani Language - Dr. Nandkumar Kamat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.
  15. People of India - Siddis
  16. "Sahitya Academy & Konkani Literature". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ภาษากงกัณ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?