For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ภาษามัลดีฟส์.

ภาษามัลดีฟส์

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (สิงหาคม 2565) (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ภาษามัลดีฟส์
ދިވެހި
ออกเสียง[diˈʋehi]
ภูมิภาคมัลดีฟส์; ลักษทวีป (อินเดีย)
ชาติพันธุ์ชาวมัลดีฟส์
จำนวนผู้พูด3.4 แสนคน  (2012)
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาเอลู
  • ภาษามัลดีฟส์
ระบบการเขียนอักษรทานะ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ มัลดีฟส์
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน อินเดีย
ผู้วางระเบียบสถาบันมัลดีฟส์
รหัสภาษา
ISO 639-1dv
ISO 639-2div
ISO 639-3div

ภาษามัลดีฟส์ (อังกฤษ: Maldivian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันและเป็นภาษาราชการของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ รวมทั้งภาษามาห์ล (Mahl dialect) ที่ใช้ในลักษทวีป ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เรียกชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง ภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาษามัลดีฟส์มีหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับ ที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม รวมทั้ง ภาษาสิงหล ภาษามลยาฬัม ภาษาฮินดี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ คาดว่าภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหลสืบมาจากภาษาเดียวกัน ซึ่งได้สูญพันธุ์ไป เมื่อเกิดภาษาใหม่ 2 ภาษาในช่วงประมาณ พ.ศ. 43

ผู้ศึกษาภาษานี้เป็นคนแรกคือ H. C. P. Bell เขาตั้งชื่อภาษานี้ว่า Divehi มาจาก –dives ของชื่อประเทศคือ Maldives คำว่ามัลดีฟส์นี้มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกับทวีป (dvīp) ซึ่งหมายถึงเกาะในภาษาสันสกฤต นักภาษาศาสตร์ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับภาษามัลดีฟส์เป็นคนแรกคือ Wilhelm Geiger ชาวเยอรมัน

จุดกำเนิด

[แก้]

ภาษามัลดีฟส์เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาสิงหลในประเทศศรีลังกา จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่อยู่ใต้สุด ภาษามัลดีฟส์มีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับภาษาสิงหล ซึ่งเรียกรวมกันว่าภาษาอินโด-อารยันหมู่เกาะ

ในช่วงแรกเชื่อว่าภาษามัลดีฟส์เป็นลูกหลานของภาษาสิงหล ใน พ.ศ. 2512 M. W. S. de Silva เสนอว่าภาษาสิงหลและภาษามัลดีฟส์แตกแขนงออกมาจากภาษาแม่ที่เป็นภาษาปรากฤต ตระกูลภาษาดราวิเดียนมีอิทธิพลต่อภาษามัลดีฟส์โดยเฉพาะชื่อโบราณ ทฤษฎีของ De Silva ได้รับการสนับสนุนจากตำนานของเจ้าชายวิชัยที่อพยพจากอินเดียยังศรีลังกาและแผ่อิทธิพลไปถึงมัลดีฟส์

ความหลากหลายของภาษา

[แก้]

เมื่อภาษาได้แพร่ไปตลอดหมู่เกาะได้เกิดความแตกต่างทางด้านคำศัพท์ และการออกเสียงขึ้น เนื่องจากเกาะอยู่ไกลกันมาก โดยเฉพาะระหว่างเกาะตอนเหนือและตอนใต้ คนในมาเล (Malé) ไม่สามารถเข้าใจภาษาย่อยที่ใช้ในหมู่เกาะอัดดุ (Addu) ได้สำเนียงมาตรฐานคือสำเนียงมาเลที่ใช้พูดในเมืองหลวง สำเนียงที่สำคัญของภาษานี้มักพบทางตอนใต้ได้แก่ ฮูวาดุ ฟูอะ มูลากุ และอัดดุ มีเฉพาะสำเนียงมาเลและสำเนียงมาลิกุเท่านั้นที่ใช้ในการเขียน สำเนียงอื่นใช้เฉพาะการพูดและการร้องเพลง

สำเนียงโมโลกิที่ใช้พูดในเกาะฟุวะห์มุละห์ต่างจากสำเนียงมาเลที่มีเสียง 'l' เป็นตัวสะกด (ލް) มีเสียง 'o' ท้ายคำ แทนที่เสียง 'u' เช่น 'fannu' กลายเป็น 'fanno' อักษรนะวิยะนิ (ޱ) ซึ่งใช้แทนเสียงม้วนลิ้นของ "n" พบมากในภาษาในอินเดีย เช่นภาษาสิงหล ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ถูกตัดออกจากการเขียนมาตรฐานของภาษามัลดีฟส์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันจะพบได้เฉพาะในเอกสารโบราณหรือการเขียนของสำเนียงอัดดุ

ระดับชั้นของภาษา

[แก้]

ภาษามัลดีฟส์มีการแบ่งระดับชั้นของภาษาชัดเจนโดยมีระดับของภาษา 3 ระดับ คือ ระดับแรก รีทิ บัส (reethi bas) หรือ อาเธ-วดัยเนฟวุน (aadhe-vadainevvun) ในอดีตใช้ติดต่อกับชนชั้นสูงและราชวงศ์ แต่ปัจจุบันใช้ในวิทยุโทรทัศน์ ในการแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ และคนแปลกหน้า จะใช้ระดับที่ 2 คือ ลับบา-ธุรุวุน (labba-dhuruvun) คนส่วนใหญ่ใช้ระดับที่ 3 ที่เป็นระดับกันเองในชีวิตประจำวัน

ระบบการเขียน

[แก้]

อักษรที่ใช้เขียนภาษามัลดีฟส์มี 2 ชนิด ชนิดที่ใช้ในปัจจุบันเรียกว่าอักษรทานะ (Thaana) เขียนจากขวาไปซ้าย ส่วนอักษรดั้งเดิมเรียกอักษรดิเวส อกุรุ (Dhives Akuru) ซึ่งเขียนจากซ้ายไปขวา อักษรดิเวส อกุรุ ใช้ในทุกเกาะจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และการมาถึงของศาสนาอิสลาม แต่ยังคงใช้ในการติดต่อกับหมู่เกาะอัดดุ จนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตอนต้น และยังคงใช้ในเกาะที่ห่างไกลและหมู่บ้านในชนบทจนถึงทศวรรษ 1960 คนที่ใช้เป็นอักษรแม่คนสุดท้ายตายในช่วงทศวรรษ 1990 และปัจจุบัน ส่วนใหญ่ชาวมัลดีฟส์ไม่ได้เรียนอักษรดิเวส อกุรุ กันทุกคน แต่คนที่เรียนจะเรียนเป็นอักษรที่ 2

อัตราการเรียนรู้หนังสือสูงมาก (98%) เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียใต้ประเทศอื่น ๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ในการสอนหนังสือในโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังคงมีการสอนหนังสือภาษามัลดีฟส์ และใช้ในการปกครอง

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ภาษามัลดีฟส์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?