For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ISO 639-2.

ISO 639-2

ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม ( bibliographic applications ) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ ( terminology applications ) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้น ๆ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

การจัดทำรหัส

[แก้]

รหัสที่แสดงแทนภาษาต่าง ๆ นี้ ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก 3 ตัว โดยที่ตัวอักษรเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรย่อของ ภาษานั้น ๆ แต่สามารถใช้รหัสนั้นในการจำแนกภาษาได้

มาตรฐานกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานบรรณานุกรม (ISO 639-2/B) หรือ รหัสกลุ่ม B และ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (ISO 639-2/T) หรือ รหัสกลุ่ม T

โดยมีเงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานบรรณานุกรม หรือ รหัสกลุ่ม B คือ

  • รหัสที่ประเทศเหล่านั้นเลือกใช้
  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

เงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานที่ต้องเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติเฉพาะทาง หรือ รหัสกลุ่ม T คือ

  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อแทนของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

โดยการจัดรหัสทั้งสองแบบนี้มีเพียง 23 ภาษาเท่านั้นที่มีรหัสแตกต่างกัน โดยที่ในอนาคตการกำหนดรหัสจะขึ้นอยู่กับชื่อแทนของภาษานั้น ยกเว้นแต่กรณีที่ประเทศนั้น ๆ หรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษานั้น ๆ ร้องขอ แต่เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพและความต่อเนื่อง การเปลี่ยนรหัสเหล่านี้จะทำได้เมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และรหัสเดิมจะยังคงต้องใช้อยู่ อย่างน้อย 5 ปีก่อนที่จะมีการใช้รหัสใหม่แทนที่หลังจากที่ได้มีการร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามรหัสในกลุ่มบรรณานุกรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าชื่อของภาษาหรือสัญลักษณ์ย่อของภาษาเปลี่ยนด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐาน อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้น ๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้น ๆ ได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)

ข้อแตกต่างของมาตรฐาน ISO 639-1 และ ISO 639-2

[แก้]

ISO 639 เป็นมาตรฐานที่พยายามจัดรหัสแทนชื่อของภาษาต่าง ๆ แต่

  • ISO 639-1 ประกอบด้วยตัวอักษรแทนเพียง 2 ตัว ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1988 จากบุคคลในกลุ่มงานทางภาษาศาสตร์ งานทางด้านพจนานุกรม และงานทางบัญญัติศัพท์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมภาษาหลักๆที่ใช้ในโลก
  • ISO 639-2 ประกอบด้วยตัวอักษร 3 ตัว ถูกริเริ่มในปี ค.ศ. 1989 เนื่องจากเริ่มตระหนักว่ามาตรฐานส่วนแรก คือ ISO 639-1 ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมภาษาจำนวนมหาศาลได้ แต่มาตรฐานชุดนี้ได้กำหนดเป็นมาตรฐานครั้งแรกก็เมื่อในปี ค.ศ. 1998 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาก็เพื่อใช้ในงานบรรณานุกรมและงานที่ต้องนิยามคำศัพท์ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ครอบคลุมถึงมาตรฐาน ISO 639-1 และภาษาอื่น ๆ ที่มีปรากฏเป็นงานเขียนเชิงวรรณกรรมหรืออย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบที่แสดงงานเขียนเชิงวรรณกรรม ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องถึงภาษาต่าง ๆ ทั้งหมดเกือบทั้งหมดเท่าที่มีปรากฏอยู่ทั่วโลก โดยในมาตรฐานชุดนี้มีการแยกกลุ่มรากของภาษานั้น ๆ ไว้ด้วย

ตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างของรหัสในกลุ่ม ISO 639-2 เทียบกับ ISO 639-1 โดยที่ ถ้ารหัสในกลุ่ม ISO 639-2 ใช้รหัสแทนไม่เหมือนกัน รหัสชุดแรกแสดงถึงรหัสในกลุ่มบรรณาณุกรม และชุดที่สองแสดงถึงรหัสในกลุ่มบัญญัติศัพท์

639-2 639-1 ชื่อของภาษา
ara ar ภาษาอาหรับ
aus กลุ่มภาษาในออสเตรเลีย
ban ภาษาบาหลี
baq/eus eu ภาษาบาสก์
bel be ภาษาเบลารุส
tib/bod bo ภาษาทิเบต
bur/mya my ภาษาพม่า
cze/ces cs ภาษาเช็ก
chi/zho zh ภาษาจีน
ger/deu de ภาษาเยอรมัน
dsb Lower Sorbian
dut/nld nl ภาษาดัตช์; Flemish
eng en ภาษาอังกฤษ
enm ภาษาอังกฤษกลาง (1100-1500)
epo eo ภาษาเอสเปอรันโต
fre/fra fr ภาษาฝรั่งเศส
fro ภาษาฝรั่งเศสเก่า (842-ca.1400)
lao lo ภาษาลาว
may/msa ms ภาษามลายู
mul หลายภาษา
pli pi ภาษาบาลี
san sa ภาษาสันสกฤต
sgn ภาษามือ
tha th ภาษาไทย

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ISO 639-2
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?