For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 6.

ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 6

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทป (อังกฤษ: Merankhre Mentuhotep) หรือ เมนทูโฮเทปที่ 6 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์สิบหก โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ในอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสี่ของราชวงศ์[3]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

พระองค์ทรงได้รับการยืนยันตัวตนจากรูปสลักขนาดเล็กจำนวนสองชิ้นเท่านั้นคือ JE 37418/CG 42021 และ BM EA 65429 ซึ่งชิ้นแรกค้นพบที่มุมที่ซ่อนอยู่ในคาร์นัก โดยฌอร์ฌ เลอแยง[4] ส่วนศีรษะและเท้าของรูปสลักได้สูญหาย แต่ปรากฏพระนามส่วนพระองค์และพระนามครองพระราชบบัลลังก์และรูปสลักดังกล่าวอุทิศแด่เทพโซเบค เจ้าแห่งสเมนู ส่วนรูปสลักชิ้นที่สองนั้นไม่ทราบที่มา ซึ่งปรากฏพระนามของฟาโรห์เช่นกัน แต่ไม่มีการอุทิศ

หลักฐานยืนยันที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งของพระองค์คือชิ้นส่วนของโลงศพไม้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช แค็ตตาล็อกหมายเลข BM EA 29997 โดยปรากฏข้อความต่อไปนี้:

ขุนนางผู้สูงศักดิ์ ตัวแทนแห่งพระราชวงศ์ พระราชเชษฐโอรสแห่งกษัตริย์ ผู้บัญชาการอาวุโส เฮรูเนเฟอร์ ผู้มีสุรเสียงอันแท้จริง ผู้ถือกำเนิดโดยกษัตริย์ เมนทูโฮเทป ผู้มีสุรเสียงอันแท้จริง และประสูติจากพระนางซิตมุท ผู้อาวุโส

ไม่ปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์และยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการระบุตัวตนพระองค์ อย่างไรก็ตาม คิม รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่าโลงศพดังกล่าวยังบันทึกด้วยข้อความในคัมภีร์มรณะรูปแบบแรกๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองบันทึกคัมภีร์มรณะก่อนสมัยราชอาณาจักรใหม่ รีฮอล์ตจึงเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทป พระองค์นี้จะทรงต้องขึ้นครองราชย์ในช่วงปลายของสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 จึงทำให้มีฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์ที่ปรากฏใรข้อความดังกล่าว คือ ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปอิ, ฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทปที่ 5 และฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทปที่ 6 ถึงแม้ว่าพระนาม เมนทูโฮเทปอิ อาจจะฟังดูคล้ายกับพระนาม เมนทูโฮเทป แต่รีฮอล์ตได้แสดงความเห็นว่า เมนทูโฮเทปอิ เป็นพระนามที่แตกต่างจากพระนาม เมนทูโฮเทป ดังนั้น ทำให้ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปอิ จึงไม่ได้เป็นบุคคลคนเดียวกัยหับฟาโรห์เมนทูโฮเทปพระองค์ดังกล่าว ในการพิจารณาระหว่างฟาโรห์ที่เหลืออีกสองพระองค์ รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งของคัมภีร์มรณะนั้นพบอยู่บนโลงพระศพของพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์ดเจฮูติ ผู้เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งครองราชย์ในช่วงประมาณ 1645 ปีก่อนคริสตกาล ในกรณีนี้ ข้อความทั้งหมดเกือบจะเหมือนกันกับข้อความที่ปรากฏบนโลงพระศพของเฮรูเนเฟอร์ ซึ่งเห็นว่าทั้งสองพระองค์อยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่ฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทป ทรงขึ้นครองราชย์ราวประมาณ 10 ปีก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ดเจฮูติ จึงเชื่อว่าฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทป ทรงขึ้นครองราชย์ราวประมาณ 60 ปีหลังจากพระองค์ ดังนั้น รีฮอล์ตจึงสรุปว่าฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทป คือ ฟาโรห์ที่ปรากฏในข้อความโลงพระศพ แต่ยังไม่มีการระบุอย่างแน่นอนเกี่ยวพระมเหสีพระนามว่า ซิตมุต และพระราชโอรสพระนามว่า เฮรูเนเฟอร์ อย่างไรก็ตาม ไอแดน ด็อดสัน และไดแอน ฮิลตัน ได้ระบุซึ่งย้อนไปถึงช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบหกแทน ด้วยเหตุนี้จึงให้ เฮรูเนเฟอร์ จึงเป็นพระราชโอรสและพระนางซิตมุต จึงเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทปที่ 6[5]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

[แก้]

พระองค์ทรงไม่ปรากฏอยู่ในชิ้นส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามแห่งตูริน รัชสมัยของพระองค์และของฟาโรห์อีกสี่พระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหกได้สูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามดังกล่าว[2] ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนตามลำดับเวลาตลอดจนระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ได้ รีฮอล์ตจึงเสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์ในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบหก โดยอาศัยหลักฐานสองข้อ คือ ประการแรก พระนาม เมอร์อังค์เร ของพระองค์ มีรูปแบบพระนามคือ X-ankh-re ซึ่งคล้ายกับพระนาม ดเจดอังค์เร ของฟาโรห์มอนต์เอมซาฟ และฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงใช้พระนาม Montu-X ซึ่งบ่งบอกว่าฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาใกล้ชิดกัน ประการที่สอง รูปสลักชิ้นแรกของพระองค์ที่ถูกสร้างเพื่ออุทิศให้แด่เทพโซเบคแห่งสเมนูหรือซูเมนู ดังนั้นสถานที่ดังกล่าวอาจจะตั้งอยู่ที่อัล-มาฮามิด กิบลิ ซึ่งอยู่กับใกล้เกเบลีน สถานที่ดังกล่าวได้ค้นพบหลักฐานยืนยันของทั้งฟาโรห์เดดูโมสที่ 2 และฟาโรห์ดเจดอังค์เร มอนต์เอมซาฟ ก่อนที่ถูกย้ายไปยังมุมที่ซ่อนอยู่ในคาร์นักในภายหลัง ในช่วงเวลานั้น บางทีอาจจะเป็นช่วงล่มสลายของราชวงศ์ก็ได้

ในการศึกษาที่เก่ากว่าที่ศึกษาขึ้นในปี ค.ศ. 1964 โดยเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์ทรงถูกจัดให้เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์แทน[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 New arrangement on Digital Egypt for Universities
  2. 2.0 2.1 Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997)
  3. Darell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300 - 1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 232
  4. IFAO, The Karnak cachette: complete list of objects
  5. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames and Hudson, 2004.
  6. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, S. 63, 255–256 (XIII G.)


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 6
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?