For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จักรพรรดิแนโร.

จักรพรรดิแนโร

บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
จักรพรรดิแนโร
รูปปั้นครึ่งตัวของจักรพรรดิแนโรในกรุงโรม
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันพระองค์ที่ 5
ครองราชย์13 ตุลาคม ค.ศ. 54 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 68 (13 ปี)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเกลาดิอุส
ถัดไปจักรพรรดิกัลบา
ประสูติ15 ธันวาคม ค.ศ. 37
อันติอูง, อีตาลิอา
สวรรคต9 มิถุนายน ค.ศ. 68 (อายุ 30)
นอกโรม
คู่อภิเษก
  • คลาอุเดีย ออคตาเวีย
  • ปอปปาเอีย ซาบินา
  • ไพธากอรัส
  • สตาติเลีย เมสซาลินา
  • สโปรุส
พระราชบุตรคลาอุเดีย ออกุสตา
พระนามเต็ม
แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส
ราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส
พระราชบิดาเยียอุส โดมิทิอุส อาเฮโนบาร์บุส
พระราชมารดาอากริปปีนาผู้ลูก

แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (ละติน: NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีพระนามเต็มตอนประสูติว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส

เหตุการณ์ในปีต่าง ๆ

[แก้]
  • ค.ศ. 39 เกิดศึกใหญ่ระหว่างโรมันกับเยอรมนี จักรพรรดิกาลิกุลาจึงนำทัพไปรบ แต่ก็มีข่าวออกมาว่า อากริปปีนา น้องสาวของพระองค์กำลังวางแผนโค่นอำนาจจากพระองค์ไป จึงทรงสั่งเนรเทศอากริปปีนาไปยังเกาะพอนเธียน ทั้ง ๆ ที่แนโรยังเล็กมาก เขาจึงต้องอาศัยอยู่กับบิดา
  • ค.ศ. 40 กไนอุส อาเอนอบาร์บุส บิดาของแนโรเสียชีวิต เนื่องจากป่วยเป็นโรคบวมน้ำ เกลาดิอุส (พี่ชายของพ่อของจักรพรรดิกาลิกุลา) จึงรับเลี้ยงดูแนโรต่อ ซึ่งในช่วงปีนี้ แนโรมีความฝันอยากจะเป็นศิลปิน
  • ค.ศ. 41 จักรพรรดิกาลิกุลาถูกลอบสังหารขณะชมกีฬา สภาสูงสุดแห่งโรม จึงมีมติให้เกลาดิอุสครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 เขาเป็นคนดี ปกครองบ้านเมืองได้สงบร่มเย็นตลอดรัชกาล เขานำอากริพพินา มารดาของแนโรกลับมายังโรมัน ทำให้แม่ลูกได้พบกัน และอยู่ด้วยกันอย่างสงบ อากริปปีนาแต่งงานกับเศรษฐีคนหนึ่งเพื่อยกฐานะตนให้รวยขึ้น ต่อมาเศรษฐีเสียชีวิตลง อากริปปีนาและแนโรจึงได้สืบทอดทรัพย์สินของเศรษฐีต่อมา
  • ค.ศ. 48 ภรรยาของจักรพรรดิเกลาดิอุส (รัชกาลที่ 4) ถูกจับได้ว่าคิดกบฏ จึงถูกสั่งประหารชีวิต อากริปปีนาจึงพยายามจะแต่งงานกับเกลาดิอุส เพื่อยกฐานะแนโรให้เป็นบุตรบุญธรรมของจักรพรรดิ
  • ค.ศ. 49 อากริปปีนาแต่งงานกับจักรพรรดิเกลาดิอุสได้สำเร็จ แนโรได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมของเกลาดิอุส แนโรจึงเปลี่ยนชื่อเต็มใหม่ ว่า แนโร เกลาดิอุส ซีซาร์ ดรุสซุส (Nero Claudius Caesar Drusus) มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะครองราชย์ต่อจากเกลาดิอุส
  • ค.ศ. 50 จักรพรรดิเกลาดิอุสแต่งตั้งเลื่อนยศอากริปปีนาเป็นออกุสตา (จักรพรรดินี) และเลื่อนยศแนโรขึ้นเป็นทายาทโดยชอบธรรม
  • ค.ศ. 51 จักรพรรดิเกลาดิอุสประกาศให้แนโร เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ในขณะที่อายุยังน้อย ต่อมาไม่นาน แต่งตั้งแนโรเป็นข้าหลวงและมอบสิทธิ์ให้สามารถเข้าร่วมอภิปรายในสภาสูงได้
  • ค.ศ. 53 แนโรได้แต่งงานกับคลอเดีย ออคเตเวีย ซึ่งเป็นลูกสาวของจักรพรรดิเกลาดิอุส
  • ค.ศ. 54 วันที่ 13 ตุลาคม จักรพรรดิเกลาดิอุส ถูกฆาตกรรมโดยเสวยเห็ด "พิเศษ" ที่อากริปปีนาหามาถวาย จนเสียชีวิต จากนั้นเธอจึงรีบวิ่งไปยังที่เก็บพระราชลัญจกรและพระราชพินัยกรรม โดยทำลายของเก่าทิ้งเสีย แล้วร่างฉบับใหม่ขึ้นมาพร้อมใส่ชื่อลูกชายเข้าไปแล้วประทับด้วยดวงตราลัญจกรของเกลาดิอุส ทำให้แนโรขึ้นเป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 5 ทั้ง ๆ ที่ยังอายุยังไม่ถึง 20 ปี แนโรปกครองจักรวรรดิโรมันได้อย่างสงบสุขเรื่อยมาจนกระทั่ง
  • ค.ศ. 58 แนโรหลังจากแต่งตั้งให้เป็นซีซาร์ จึงทำการแก้ไขกฎหมายหลายอย่าง ทำให้คะแนนความนิยมขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ออกุสตุสจักรพรรดิโรมันพระองค์แรกเป็นต้นมา ถึงกระนั้นแล้วแนโรก็ต้องการอภิษกสมรสอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้น โดยเจ้าสาวที่คิดไว้คือ แอ็คเต้ เพื่อนสาวสมัยเด็ก แต่หลังจากแต่งงานแล้วแนโรก็เกิดความไม่พอใจมารดา เพราะมายุ่งกับแอ็คเต้ตลอดเวลา เนื่องจากเห็นางเป็นเพียงทาสต่ำต้อยคนหนึ่ง

จากนั้นอากริปปีนาเริ่มเกิดความไม่พอใจอย่างรุนแรง ที่แนโรมัวสนใจอยู่แต่แอ็คเต้ แม้กระนั้นแนโรก็ไม่ได้สนใจมารดาเลยและคิดจะละทิ้งความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกเสีย เหลือไว้เพียงความรักกับแอ็คเต้เท่านั้น ซึ่งทำให้พระราชมารดาทรงขู่จะเปิดเผยพินัยกรรมฉบับจริงที่จักรพรรดิเกลาดิอุสระบุว่า จะมอบราชสมบัติให้แก่บริทานิคัสผู้เป็นรัชทายาทที่แท้จริง คำขู่นี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อบริทานิคัสผู้ซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน่เป็นคนแรก โดยแนโรได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์หนุ่มมาร่วมเสวย และแล้วเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมเมื่อบริทานิคัสเกิดอาการชักเกร็งแล้วสิ้นใจในที่สุดด้วย "เห็ดพิเศษ" หลังจากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า "บริทานิคัส พระบรมวงศานุวงศ์ผู้เป็นที่รักของซีซาร์เสด็จสู่สวรรค์คาลัยแล้วด้วยสาเหตุลมชักอันเป็นโรคประจำตัว"

  • ค.ศ. 59 หลังจากบริทานิคัสสิ้นใจไปแล้ว เหยื่อรายต่อไปคือมารดา แนโรจึงวางแผนให้ทิเจลลินัส ทหารพรีโตเรียนการ์ดคนสนิททูลเชิญพระราชมารดาเสด็จทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งสั่งทำพิเศษ คือ มีรูมากเป็นพิเศษและโครงเรือบางจนต้องล่มก่อนถึงฝั่งอย่างแน่นอน แต่พระนางอากริปปีนาก็ทนทายาด พาตัวเองขึ้นฝั่งได้สำเร็จ แต่ด้วยวิบากกรรมที่ได้ทำเอาไว้จึงชักจูงให้นางมาพบจุดจบ เพราะแนโรมีแผนสอง ทรงให้เสวยพระกระยาหารพิเศษ แถมด้วยการปักกริชที่อกจากทิเจลลินัส ทำให้อากริปปีนาสิ้นพระชนม์ในที่สุด
  • ค.ศ. 62 แนโรหย่าขาดกับนางคลอเดีย ออคเตเวีย และในปีเดียวกันนั้น นางก็เสียชีวิต อย่างลึกลับ จนถึงปัจจุบันยังหาสาเหตุไม่ได้
  • ค.ศ. 64 วันที่ 21 มกราคม ปอปปาเอียได้ให้กำเนิดลูกสาวของตนกับแนโร ชื่อว่า คลาอุเดีย ออกุสตา ซึ่งเป็นลูกคนแรกของแนโร แนโรดีใจมาก จึงสถาปนาปอปปาเอียเป็นจักรพรรดินี และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต แต่ 4 เดือนต่อมา คลาอุเดีย ออกุสตา ก็ป่วยจนเสียชีวิต แนโรและปอปปาเอียเศร้ามาก แนโรจึงประกาศให้คลาอุเดีย ออกุสตา เป็นเทพีองค์ใหม่ของโรมัน สร้างรูปบูชาและจัดนักบวชไว้คอยรับใช้รูปบูชา
  • ค.ศ. 64 วันที่ 18 กรกฎาคม ตอนกลางคืน เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ร้านขายวัตถุไวไฟแห่งหนึ่งในกรุงโรม ประกอบกับการที่ถนนกรุงโรมในช่วงนั้นแคบ ทำให้ไฟจากร้านค้าวัตถุไวไฟนั้น ลุกลามไปยังบ้านเรือนหลังอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว และไม่นานนัก ไฟก็ไหม้ทั่วเมือง แนโรรู้ข่าวก็รีบมาดูเปลวเพลิงที่หอคอยมาเอเซนัส (Maecenas) แล้วก็บอกว่าเปลวเพลิงนั้นช่างสวยงาม นั่งมองไฟผลาญกรุงโรมอย่างสบายอารมณ์ พร้อมทั้งนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงอย่างสุนทรีย์โดยไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ
  • ค.ศ. 64 วันที่ 25 กรกฎาคม เปลวเพลิงที่ผลาญกรุงโรมมาตลอด 6 วัน 6 คืนดับลงในวันที่ 7 เผาบ้านเผาเรือนไป 132 หลัง ใน 4 หมู่บ้าน แนโรสั่งให้เวนคืนที่ดินจำนวนหนึ่งมาสร้างพระราชวังทองคำ (Golden Palace) ประกอบกับการที่แนโรไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ และในอดีตพระองค์เคยคิดจะเปลี่ยนชื่อกรุงโรมเสียใหม่ว่า กรุงแนโรโพลิส (Neropolis) ประชาชนจึงปักใจเชื่อว่าแนโรเป็นผู้เผากรุงโรม (นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเองก็บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่แนโรจะเป็นผู้เผากรุงโรม)
แนโรจึงสุ่มสี่สุ่มห้าบอกไปว่าผู้ที่นับถือลัทธิคริสเตียน (ศาสนาคริสต์เมื่อเกือบสองพันปีก่อนในจักรวรรดิโรมันเป็นเพียงแต่ลัทธิเล็ก ๆ) เป็นกลุ่มคิดกบฏและพยายามเผาโรม จึงเกิดเป็นการประหารหมู่ชาวคริสเตียนในโรมันด้วยข้อหาเผาโรม ประหารโดยวิธีให้อดอาหารสัตว์ป่าในโคลอสเซียมจนหิวโซ และนำชาวคริสเตียนไปปล่อยที่สนามโคลอสเซียม และปล่อยสัตว์ป่าให้มารุมฉีกทึ้งชาวคริสเตียนต่อหน้าผู้ชม นอกจากนี้ยังเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ล่มจมของโรม ทำให้ประชาชนคลางแคลงใจในแนโร จนเกิดเป็นคำติดปากประชาชนชาวโรมว่า "แนโรจอมเผาโรม" ซึ่งในปัจจุบัน วลีอายุกว่า 2,000 ปีนี้ ได้ถูกใช้เป็นชื่อโปรแกรมซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี
แต่แนโรก็เปิดพระราชวังให้คนที่ไร้บ้านมาอาศัย พร้อมทั้งจัดหาข้าวน้ำให้ประชาชนดื่มกินฟรี นอกจากนี้ยังสั่งให้ออกแบบการสร้างเมืองใหม่ให้ถนนกว้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่มีโฉนดต้องเสียที่ดินไปเพราะการขยายถนนไปเบียด จึงจัดสรรที่ดินใหม่ให้เขตบ้านเรือนและถนนแผ่กว้าง ทำให้ความเป็นไปได้ที่แนโรจะเป็นผู้เผาโรมลดลง ชาวบ้านบางส่วนก็เริ่มเชื่อใจ และจนถึงปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุของเพลิง
แต่ที่กล่าวมานั้น ชาวบ้านที่เชื่อใจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ชาวบ้านหลายส่วนไม่เชื่อใจแนโร และประท้วงถอดถอนแนโร เป็นการประท้วงที่รุ่นแรงและยืดเยื้อ
  • ค.ศ. 66 ปอปปาเอียตั้งครรภ์อีกครั้ง แต่แนโร กำลังเครียดกับกลุ่มผู้ประท้วงที่จะปลดตนจากตำแหน่งจักรพรรดิให้ได้ จึงไม่ค่อยได้มาอยู่ที่วังมาดูแลปอปปาเอียและลูกในครรภ์ วันหนึ่งในปีเดียวกันนั้น แนโรกลับมาอยู่ที่วัง และพูดจาบางอย่างที่ทำให้ปอปปาเอียโมโห ปอปปาเอียจึงด่าว่าแนโรอย่างหนัก แนโรที่กำลังเครียดจึงพลั้งมือฆ่าปอปปาเอียตายพร้อมทั้งลูกในครรภ์
  • ค.ศ. 67 แนโรเครียดจัด ประกอบกับช่วงนั้นที่กรีซกำลังจะจัดกีฬาโอลิมปิกขึ้น แนโรตัดสินใจไปร่วมแข่งขัน ทั้ง ๆ ที่บ้านเมืองยังตึงเครียด ทิ้งภาระหน้าที่ไว้กับสภาสูง ระหว่างที่แนโรไม่อยู่นั้น สภาสูงลงมติว่าแนโรไม่ควรเป็นจักรพรรดิอีกต่อไป...
  • ค.ศ. 68 แนโรกลับจากกีฬาโอลิมปิก สภาสูงจึงส่งคนมาจับกุมโค่นอำนาจจักรพรรดิแนโร แนโรจึงฆ่าตัวตายในวันที่ 9 มิถุนายนขณะอายุไม่ถึง 31 ปี และการที่พระองค์ไม่ทีทายาทเลย ทำให้ราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส ต้องสิ้นสุดลง

กรณีเผากรุงโรม

[แก้]
จักรพรรดิแนโร
บทความนี้อาจมีงานค้นคว้าต้นฉบับรวมอยู่ กรุณาปรับปรุงโดยเพิ่มหลักฐานพิสูจน์ยืนยันข้อความที่อ้างและเพิ่มการอ้างอิงในบรรทัด ข้อความที่มีเฉพาะงานค้นคว้าต้นฉบับเพียงอย่างเดียวควรถูกลบเสีย (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

"แทกซิตัส" นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันที่มีชื่อเสียงในยุคของแนโรได้บันทึกข้อกล่าวหาไว้และถูกเชื่อถือกันมาตลอดระยะเวลา 2,000 กว่าปี ดังนี้

  1. ในระหว่างที่แนโรออกไปตากอากาศที่แอนติอุมเมืองชายทะเลได้เกิดเพลิงไหม้ในกรุงโรมและเมื่อแนโรทราบข่าวแต่พระองค์ก็ไม่เร่งรีบกลับพระนครอย่างใด
  2. คฤหาสถ์ของบรรดาวุฒิสมาชิกโรมันที่สร้างจากอิฐที่ไม่น่าติดไฟ แต่กลับถูกเพลิงเผาทำลายไปสิ้นนั้นน่าจะเกิดจากการวางเพลิงจากภายในแล้วสั่งทหารโรมันคอยเฝ้าขู่เพื่อไม่ให้มีการดับไฟ เนื่องจากความโกรธแค้นที่บรรดาวุฒิสมาชิกไม่ยอมอนุมัติให้พระองค์สร้างกรุงโรมใหม่
  3. ทิศทางเพลิงดูวิปริตผิดธรรมดา ไฟลามขึ้นสู่ทิศเหนือ และบ้างก็ลงใต้ ทั้งที่ลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลักษณะของการวางเพลิงอย่างชัดเจน

ปัจจุบัน เอริก วาร์นเนอร์ และ เฮนรี่ เฮิร์สต์ นักประวัติศาสตร์สองท่านที่มีชื่อเสียงไม่เชื่อในบันทึกของแทกซิตัส เนื่องจากในขณะที่กรุงโรมเกิดเพลิงไหม้นั้นแทกซิตัสมีอายุเพียง 8 ขวบ ซึ่งเข้าใจว่าแทกซิตัสอาจจะบันทึกตามคำบอกกล่าวของชาวโรมในสมัยนั้น โดยมีข้อสังเกตว่า

  1. แท้จริงแล้วมีบันทึกจากนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแนโรบันทึกไว้ว่า เมื่อแนโรทราบข่าวการเกิดเพลิงไหม้ก็รีบรุดกลับกรุงโรมทันที และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารดับเพลิงแห่งโรมด้วยพระองค์เอง
  2. ได้มีการทดลองสร้างคฤหาสถ์จำลองแบบโรมันซึ่งก่อด้วยอิฐจริงแล้วจุดไฟเผา ปรากฏว่าเมื่อโครงสร้างที่เป็นไม้ภายในไหม้ไฟทำให้เกิดความร้อนถึง 1,100 ดีกรี แม้อาคารที่ก่ออิฐก็แตกพังทลาย
  3. วิลล่าของแนโรชื่อ โดมุส ทรานซิโตเรีย ที่ทอดยาวตั้งแต่เนินพาลาทีนไปจนถึงเอสควอลีนก็ถูกไฟเผาไปด้วยเช่นกัน
  4. กลไกการเกิดเพลิงไหม้ใหญ่เนื่องจากกรุงโรมถูกล้อมด้วยเนินเขาสำคัญ 7 ลูก เมื่อไฟไหม้หนักขึ้นก็จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น บนเนินเขาเตี้ยๆ ยังพอมีออกซิเจนเหลืออยู่มากกว่าพื้นดิน ไฟจึงโหมกระพือไปหาออกซิเจนทางเนินเขาที่อยู่ทิศเหนือบ้าง ทิศใต้บ้าง เป็นเรื่องปกติ

อย่างใดก็ตามแต่ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าแนโรมีความผิดปกติทางจิตจริง โดยหลักฐานและบันทึกที่ปรากฏอยู่มากมาย แต่มีนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับแนโรอยู่หลายท่านที่บันทึกเรื่องราวที่เป็นธรรมกับแนโรด้วยเช่นกัน เช่น

โยเซฟัส (Josephus) นักประวัติศาสตร์ที่เกิดและโตในรัชกาลของแนโร และมีอายุยืนถึง 70 ปี เขากล่าวว่า แท็กซิตัส และ ซูโตเนียส บันทึกกล่าวว่าร้ายใส่แนโรจนเกินไป เพราะทั้งสองคนนี้อยู่ในสมัยหลังแนโรถึง 50 ปี และสิ่งที่บันทึกล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ได้แต่ฟังมา ไม่ได้เห็นด้วยตาตนเอง

มาร์คัส แอนเนียส ลูคานัส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแนโรอีกคนหนึ่งบันทึกว่า ไพร่ฟ้าต่างหน้าใสเมื่ออยู่ใต้การปกครองของแนโร เศรษฐกิจของกรุงโรมในขณะนั้นดีมากประชากรต่างร่ำรวย และเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นั้นถูกเป็นเครื่องมือหาความชอบธรรมให้กับเหล่าสมาชิกสภาสูงในการโค่นอำนาจจักรพรรดิแนโร

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิแนโร ถัดไป
จักรพรรดิเกลาดิอุส จักรพรรดิโรมัน
(ค.ศ. 54 - ค.ศ. 68)
จักรพรรดิกัลบา
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จักรพรรดิแนโร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?