For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระราชวังสราญรมย์.

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
ประเภทพระราชวัง
ที่ตั้งแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การใช้งานดั้งเดิมสถานที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์
บูรณะพ.ศ. 2535
สถานะยังมีอยู่
สถาปัตยกรรมโคโลเนียล
ผู้ดูแลสำนักพระราชวัง
เหตุการณ์สำคัญการลงนามก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนพระราชวังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเดิม)
ขึ้นเมื่อ28 ธันวาคม พ.ศ. 2545
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000072

พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ

ประวัติ

[แก้]
ภาพถ่ายวังสราญรมย์เมื่อปี 1954 ขณะที่เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวังสราญรมย์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยมีพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จ

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราว ของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิเช่น เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงประทับเมื่อ พ.ศ. 2419 - 2424 ระหว่างก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ เช่น เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น ซาเรวิชหรือมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย (ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย) เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เข้ามาประทับคือ เจ้าชายออสการ์ เมื่อ พ.ศ. 2427

เมื่อ พ.ศ. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายไปที่ตึกราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง ใน พ.ศ. 2430 วังสราญรมย์ จึงใช้เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์โปรดให้เรียก "วังสราญรมย์" เป็น "พระราชวังสราญรมย์" ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2459[1]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังชำรุดทรุดโทรมลงมาก เมื่ออาคารดังกล่าวกลายเป็นที่ทำการสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า "วังสราญรมย์" อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการต่างประเทศสืบมาจนถึงประมาณช่วงปี 2535 จึงมีการย้ายสำนักงานส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังปี พ.ศ. 2535 มีการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบันฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในชั้นนี้การบูรณะยังไม่แล้วเสร็จ อนึ่ง ในบริเวณกระทรวงการต่างประเทศวังสราญรมย์เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะภ่ายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร) ได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรีและอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็นที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้

ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. ถนัด คอมันตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต , เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๑๑๓

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′01″N 100°29′41″E / 13.75033°N 100.49469°E / 13.75033; 100.49469

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระราชวังสราญรมย์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?