For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน.

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
เครื่องหมายราชการ
ประจำการพ.ศ. 2491
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
ขึ้นกับกองทัพบกไทย
กองบัญชาการเลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์https://www.tdc.mi.th/index.html
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลโท ทวีพูล ริมสาคร[1]

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน หรือเดิมใช้ชื่อว่า หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง และ กรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) ตามลำดับ เป็นหน่วยงานขึ้นในสังกัดกองทัพบก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2491[2] มีภารกิจหลัก คือ เตรียมกำลังสำรองให้แก่กองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมเยาวชนของชาติ อันได้แก่ นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)[3]

ปัจจุบัน มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตัวอาคารสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ[4] มีความสวยงาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2466 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ที่เคยเป็นสวนเจ้าเชตุ และวังท้ายหับเผย ถือเป็นอาคารอนุรักษ์แห่งหนึ่ง[3] โดยเมื่อแรกสร้างนั้นใช้เป็นที่ตั้งของ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์[5] (ปัจจุบันหน่วยทหารดังกล่าวคือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์)

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พลโท[6] ทวีพูล ริมสาคร​[7] ​ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ​หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ส่วนรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนได้แก่ พลตรี ศาสตรา ศรีเพ็ญ และ พลตรี ปัญญา ตั้งความเพียร[8]

ประวัติ

กิจการรักษาดินแดนมีที่มาจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2491 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2490 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการปกป้องท้องที่ของตนเองโดยที่กองทัพเสียงบประมาณน้อยลง และพลเมืองไม่เสียเวลาประกอบอาชีพ ทั้งนี้เกิดขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490[9]: 12  ต่อมามีการแก้ไขสิทธิประโยชน์ตอบแทนของนักศึกษาวิชาทหารให้ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494[9]: 13 

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สัญลักษณ์

หน่วยงานในสังกัด

อาคารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนในปี พ.ศ. 2565
ลานกว้างภายในอาคารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
  • โรงเรียนการกำลังสำรอง ศูนย์การกำลังสำรอง
  • โรงเรียนรักษาดินแดน ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
  • กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน[10]
  • ค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่
  • ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
  • ศูนย์การกำลังสำรอง[11]

รายนามผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

เจ้ากรมการรักษาดินแดน

  1. พลเอก สุทธิ สุทธิสารณกร (พ.ศ. 2491 - 2491)
  2. พลโท ขุนศิลป์ศรชัย (พ.ศ. 2491 - 2492), (พ.ศ. 2494 - 2495)
  3. พลตรี จำรัส จำรัสโรมรัน (พ.ศ. 2492 - 2494)
  4. พลโท สุรใจ พูลทรัพย์ (พ.ศ. 2495 - 2506)
  5. พลโท พิศิษฐ์ ฉายเหมือนวงศ์ (พ.ศ. 2506 - 2507)
  6. พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์ (พ.ศ. 2507 - 2508)
  7. พลโท ยุทธ สมบูรณ์ (พ.ศ. 2508 - 2513)
  8. พลโท อุทัย ฉายแสงจันทร์ (พ.ศ. 2513 - 2515)
  9. พลโท พนม โชติพิมาย (พ.ศ. 2515 - 2517)
  10. พลโท แสวง ขมะสุนทร (พ.ศ. 2517 - 2519)
  11. พลโท เอื้อม จิระพงศ์ (พ.ศ. 2519 - 2522)
  12. พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (พ.ศ. 2522 - 2523)
  13. พลโท เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (พ.ศ. 2523 - 2525)
  14. พลโท จารุ จาติกานนท์ (พ.ศ. 2525 - 2528)
  15. พลโท วิจิตร สุขมาก (พ.ศ. 2528 - 2530)
  16. พลโท วิโรจน์ แสงสนิท (พ.ศ. 2530 - 2531)
  17. พลโท วชิรพล พลเวียง (พ.ศ. 2531 - 2533)
  18. พลโท อารียะ อุโฆษกิจ (พ.ศ. 2533 - 2534)
  19. พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร (พ.ศ. 2534 - 2535)
  20. พลโท ยุทธพันธุ์ มกรมณี (พ.ศ. 2535 - 2536)
  21. พลโท ประยูร มีเดช (พ.ศ. 2536 - 2538)
  22. พลโท การุญ ฉายเหมือนวงศ์ (พ.ศ. 2538 - 2540)
  23. พลโท พนม จีนะวิจารณะ (พ.ศ. 2540 - 2542)
  24. พลโท หาญ เพไทย (พ.ศ. 2542 - 2543)
  25. พลโท เกรียงไกร เจริญศิริ (พ.ศ. 2543 - 2544)
  26. พลโท จำลอง บุญกระพือ (พ.ศ. 2544)

เจ้ากรมการกำลังสำรองทหารบก

  1. พลตรี เหรียญ ดิษฐบรรจง (พ.ศ. 2513 - 2519)
  2. พลตรี จิตต์กวี เกษะโกมล (พ.ศ. 2519 - 2521)
  3. พลตรี มานะ รัตนโกเศศ (พ.ศ. 2521 - 2524)
  4. พลตรี ศิริชัย ลักษณียนาวิน (พ.ศ. 2524 - 2526)
  5. พลตรี ปัญญา ขวัญอยู่ (พ.ศ. 2526 - 2528)
  6. พลตรี ปราโมทย์ ระงับภัย (พ.ศ. 2528 - 2531)
  7. พลตรี อุทัย ชุณหเพสย์ (พ.ศ. 2531 - 2534)
  8. พลตรี สุพจน์ เกิดชูชื่น (พ.ศ. 2534 - 2537)
  9. พลตรี บรรจบ จูภาวิง (พ.ศ. 2537 - 2541)
  10. พลตรี ศักดิ์สิน ทิพย์เกษร (พ.ศ. 2541 - 2544)

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง

  1. พลโท จำลอง บุญกระพือ (พ.ศ. 2544 - 2545)
  2. พลโท ชาญวิช ศรีธรรมวุฒิ (พ.ศ. 2545 - 2546)
  3. พลโท ศักดิ์สิน ทิพย์เกษร (พ.ศ. 2546 - 2547)
  4. พลโท วิชญ ไขรัศมี (พ.ศ. 2547 - 2548)
  5. พลโท อาทร โลหิตกุล (พ.ศ. 2548 - 2549)
  6. พลโท มนตรี สังขทรัพย์ (พ.ศ. 2549 - 2549)
  7. พลโท สมเกียรติ สุทธิไวยกิจ (พ.ศ. 2549 - 2551)
  8. พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร (พ.ศ. 2551 - 2552)

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

  1. พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร (พ.ศ. 2552 - 2552)
  2. พลโท ธนดล เผ่าจินดา (พ.ศ. 2552 - 2554)
  3. พลโท ชูเกียรติ เธียรสุนทร (พ.ศ. 2554 - 2555)
  4. พลโท วิชิต ศรีประเสริฐ (พ.ศ. 2555 - 2556)
  5. พลโท ยศนันท์ หร่ายเจริญ (พ.ศ. 2556 - 2557)
  6. พลโท ทลวงรณ วรชาติ (พ.ศ. 2557 - 2558)
  7. พลโท วีรชัย อินทุโศภณ (พ.ศ. 2558 - 2560)
  8. พลโท วิโรจน์ วิจิตรโท (พ.ศ. 2560 - 2561)
  9. พลโท ปราการ ปทะวานิช (พ.ศ. 2561 - 2564)
  10. พลโท วสุ เจียมสุข (พ.ศ. 2564 - 2566)
  11. พลโท ทวีพูล ริมสาคร (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  2. "นรด.จัดงานวันสถาปนา ครบรอบ 71 ปี". ข่าวสด. 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  3. 3.0 3.1 "หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง : ความสำคัญ". หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
  4. "เจริญกรุง แรกมีความศิวิไลซ์ในสยาม". พินิจนคร. 2009-02-02.
  5. "กรมการรักษาดินแดน". ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 6 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 25 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  9. 9.0 9.1 เกตวงกต, ธนัย (2560). ประวัติศาสตร์การเกณฑ์ทหารในสังคมไทย (PDF). มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท. สืบค้นเมื่อ 9 December 2022.
  10. "กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน". www.facebook.com.
  11. "หน้าแรก". ศูนย์การกำลังสำรอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′49″N 100°29′42″E / 13.74694°N 100.49500°E / 13.74694; 100.49500

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?