For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for องค์การตลาด.

องค์การตลาด

องค์การตลาด
Marketing Organization
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496; 70 ปีก่อน (2496-11-19)
สำนักงานใหญ่51/47 ซอยสวนผัก 4 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สมคิด จันทมฤก, ประธานกรรมการ
  • ภาณุพล รัตนกาญจนภัทร, รองประธานกรรมการ
  • บูรณิศ ยุกตะนันทน์, ผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์www.market-organization.or.th

องค์การตลาด (อังกฤษ: Marketing Organization) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย[1] ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 เพื่อดำเนินการจัดระเบียบการค้าของพ่อค้าแม่ค้าบริเวณข้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นตลาดปากคลองตลาด ปัจจุบันมีตลาดสาขาอยู่ในจังหวัดลำพูน ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 5 แห่ง

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดตั้งตลาดกลาง เพื่อเป็นสถานที่รองรับพ่อค้าแม่ค้าจากบริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง ไม่ให้เกิดทัศนียภาพที่เสื่อมโทรมไปมากกว่านี้ รัฐบาลจึงจัดตั้งตลาดกลาง โดยตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496[2] ขึ้น จึงทำให้มีการจัดตั้งองค์การตลาด เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการกำหนดให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ควบคุมดูแลแต่เพียงผู้เดียว[3]

หน้าที่

[แก้]
  1. มุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า
  2. พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการบริหาร
  3. สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  4. ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทางการเกษตรถูกหลักอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  5. ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศโดยสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
  6. พัฒนาสินทรัพย์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ตลาดสาขา

[แก้]

ปัจจุบันองค์การตลาด มีสาขาจำนวน 5 สาขา

สาขาปากคลองตลาด

[แก้]
ปากคลองตลาด

องค์การตลาด สาขาปากคลองตลาด หรือ ตลาดปากคลองตลาดของรัฐ เป็นสาขาแรกขององค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่เลขที่ 26-28 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเน้นการขายส่ง เช่น ผักสด ผลไม้ ตลอดจนเป็นแหล่งคัดแยกสินค้า และบรรจุสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกอีกด้วย

สาขาหนองม่วง

[แก้]

ตั้งอยู่ ถนนพหลโยธิน อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี เริ่มจัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นมา[4]

สาขาลำพูน

[แก้]

องค์การตลาด สาขาลำพูน[5] เป็นตลาดเกษตรกรท้องถิ่น มุ่งเน้นการค้าขายการเกษตรของชุมชน และเป็นศูนย์กลางของการกระจายผลผลิตสู่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง โดยองค์การตลาดมีนโยบายให้ตลาดสาขาลำพูน เป็นตลาดที่มุ่งส่งเสริมการขายและการกำหนดราคาของผลผลิตของจังหวัดลำพูน เช่น ลำไย ผัก ฯลฯ

อาคารตลาด ตั้งอยู่บริเวณถนนเชียงใหม่-ลำพูน หมู่ 7 บ้านป่าเห็ว ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน บนที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2535 โดยใช้งบประมาณ 12.31 ล้านบาท เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีอาคารตลาด จำนวน 3 หลัง คือ อาคารตลาด 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง และอาคารตลาดชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง

สาขาตลิ่งชัน

[แก้]

ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 21-3-0 ไร่ ในซอยสวนผัก 4 ถนนสวนผัก ริมคลองมหาสวัสดิ์ ด้านหลังกรมการขนส่งกรุงเทพฯ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยอาคาร 6 ชั้น จำนวน 1 หลัง อาคารชั้นเดียว จำนวน 1 หลัง อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จำนวน 166 ห้อง เป็นที่ตั้งของตลาดกลางเกษตรกรตลิ่งชัน และ ตลาดน้ำสวนผักคลองสองนครา

สาขาบางคล้า

[แก้]

องค์การตลาด สาขาบางคล้า เป็นตลาดกลางค้าสัตว์น้ำภาคตะวันออก เพื่อให้เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำสัตว์น้ำมาจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อได้โดยตรง ซึ่งทำให้ลดต้นทุนในการขนส่งจากการนำสัตว์น้ำมาจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ทำให้ทั้งเกษตรกรและผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไกล ประหยัดรายจ่าย เวลา และลดปริมาณการจราจรในกรุงเทพมหานคร โดยมีผลผลิตเข้ามาจำหน่ายในองค์การตลาดสาขาบางคล้าเฉลี่ยวันละ 50 ตัน มีการจ้างแรงงาน และมีเยาวชนเข้ามารับจ้างคัดแยกปลาในตลาดจำนวนมาก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงปลามากขึ้น

อาคารตลาด ตั้งอยู่บนที่ดินขององค์การตลาด พื้นที่ 15 ไร่ บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย

  • อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 30 ยูนิต
  • อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 44 ยูนิต
  • อาคารชั้นเดียว 79 ห้อง
  • อาคารทรงไทย 14 หลัง
  • อาคารตลาดใหญ่ 173 แผง

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
องค์การตลาด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?