For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร.

พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร
ซากอาคารพระราชวัง เมืองกบิลพัสดุ์
ซากอาคารพระราชวัง เมืองกบิลพัสดุ์
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิมภัททิยกุมาร, พระเจ้าภัททิยะ
สถานที่ประสูติพระราชวัง กรุงกบิลพัสดุ์
สถานที่บวชอนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
เอตทัคคะผู้เกิดในสกุลสูง (เพราะทรงสละราชสมบัติออกผนวช)
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
พระราชมารดาพระนางกาฬิโคธาราชเทวี
วรรณะเดิมกษัตริยะ
ราชวงศ์ศากยะ
สถานที่รำลึก
สถานที่โบราณสถานพระราชวังเมืองกบิลพัสดุ์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร หรือ พระภัททิยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระภัททิยเถรศากยราชา เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสักกะก่อนทรงสละราชสมบัติออกผนวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์

พระภัททิยะ ออกผนวชโดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธกุมารผู้เป็นพระสหาย พระองค์ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักอุทานเสมอว่า "สุขหนอ ๆ" พระพุทธเจ้ายกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางผู้เกิดในสกุลสูง

พระราชประวัติ

[แก้]

พระภัททิยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นเจ้าชายนับเนื่องในพระศากยราชวงศ์ ไม่ปรากฏว่าพระราชบิดาของพระองค์ทรงพระนามใด แต่พระราชมารดาของพระองค์ทรงพระนามว่าพระนางกาฬิโคธาราชเทวี พระองค์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาจวบจนเสด็จออกผนวช

สาเหตุที่ทรงออกผนวช

[แก้]

พระภัททิยะ มีพระราชศรัทธาเสด็จออกผนวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 5 คือ เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ และนายช่างกัลบกนามว่านายอุบาลีภูษามาลาอีก 1 ท่าน รวมเป็น 7 ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม โดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธะ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลีผู้เป็นช่างภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะแห่งความเป็นเชื้อสายกาษัตริย์ของตนลง โดยทั้งหมดได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

เมื่อผนวชแล้ว ได้ทรงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ จนเมื่อบรรลุแล้วพระองค์มักเปล่งอุทานว่า "สุขหนอ ๆ" อยู่เสมอ ๆ จนพระสงฆ์เข้าใจผิดว่าท่านคำนึงเสียดายราชสมบัติที่ทรงสละมา พระสงฆ์เหล่านั้นจึงไปกราบบังคมทูลความนั้นแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงเรียกท่านมาสอบถาม ท่านกราบบังคมทูลพระพุทธเจ้าว่าที่ท่านชอบอุทานเช่นนั้นเป็นเพราะความสุขคือความสบายและปลอดภัยอันเกิดจากการสละราชสมบัติ เพราะเมื่อยังทรงครองราชสมบัตินั้น มีแต่ความหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา ต้องมีข้าราชบริพารและทหารรักษาพระองค์ล้อมรอบเพื่อถวายการอารักขา ทำให้เมื่อออกบวชแล้วจะอยู่ที่ไหนก็ไม่ต้องมานั่งมัวระแวงภัย อาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพ มีใจดุจมฤคา คือคนผู้ไม่มีภาระท่องเที่ยวไป เมื่อกราบทูลเสร็จ พระพุทธองค์จึงตรัสชมเชยพระภัททิยเถรศากยะ

และด้วยความที่ท่านเกิดในตระกูลแห่งกษัตริย์ ดำรงพระราชสถานะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ผู้เป็นประธานแห่งแคว้นสักกะ แต่มีใจพระราชศรัทธาออกผนวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา บำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศด้าน ผู้เกิดในตระกูลสูง

บุพกรรมในอดีตชาติ

[แก้]
พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

ภัททิยะ โคตมะ
พระเจ้าภัททิยะ
พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นสักกะ
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้ามหานามะ
รัชกาลถัดไปไม่ทราบ
พระเจ้าภัททิยะ
ราชวงศ์ราชวงศ์ศากยะ
พระราชมารดาพระนางกาฬิโคธาราชเทวี

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?