For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ประวัติศาสตร์ออสเตรีย.

ประวัติศาสตร์ออสเตรีย

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง บทความนี้ล้าสมัย
ตราแผ่นดินของออสเตรียปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ออสเตรีย ในช่วงก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ประเทศออสเตรียมีชนชาติอพยพต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ชนเผ่าเยอรมันที่ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางตอนใต้ และชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบและดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการ ป้องกันการรุกราน ของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์บาเบนแบร์ก (Babenberg) ของชาวบาวาเรียนได้เข้าปกครองออสเตรียในปี พ.ศ. 1519 ซึ่งยังมีประชาชนอยู่เพียงเล็กน้อย

ในศตวรรษต่อ ๆ มา ราชวงศ์บาเบนเบิร์กได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่อาณาจักร และขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากทางราชวงศ์ได้หมดอำนาจลง ในกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) ได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนนี้แทน และขยายอาณาเขตออกไป จนถึงแถบประเทศสเปน จนกระทั่ง ในปี 2065 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจึงได้แตกออกเป็นสายออสเตรีย และสายสเปน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กยังคงขยายอาณาเขตต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2069 ได้ผนวกดินแดนโบฮีเมียและฮังการีเข้าไว้ด้วย

ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ออสเตรียต้องเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมัน แต่โดย ที่ออสเตรียสามารถเอาชนะกองทัพของอาณาจักรออตโตมันได้ ออสเตรียจึงได้ครอบครองดินแดนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมหาอำนาจรายหนึ่งในยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 ได้ทำการปฏิรูปและวางรากฐานการปฏิรูปการบริหารจัดการของรัฐให้ทันสมัย แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียนได้ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นเปลี่ยนไป

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2488 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้ช่วยออสเตรียให้ฟื้นตัวขึ้น สู่ความเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้ง แต่ออสเตรียยังคงถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 2498 ซึ่งได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาประเทศออสเตรีย และในปีเดียวกัน รัฐสภาออสเตรียได้ออกกฎหมายให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีสถานะเป็นกลางอย่างถาวร ออสเตรียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538

ก่อนสมัยกลาง

[แก้]
จังหวัดนอริคัม

ดินแดนที่เป็นประเทศออสเตรียปัจจุบันมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าและเป็นเหมืองเกลือที่สำคัญในยุคหินใหม่ การตั้งบ้านเมืองเป็นราชอาณาจักรเริ่มเมื่อราว พ.ศ. 93 โดยชาวเคลต์ที่เข้ามาตั้งราชอาณาจักรนอริคัมทางใต้ของแม่น้ำดานูบ จนกระทั่ง พ.ศ. 528 จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน

เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายใน พ.ศ. 1019 ดินแดนนอริคัมถูกรุกรานโดยชนเผ่าเยอรมันทางตอนเหนือและชนเผ่าอื่น ๆ ทั้งชาวแวนดัล ชาวฮ่น ชาวบาวาเรียน และชาวสลาฟ ในช่วงระหว่างยุคการรุกรานของบาบาเรียน อนารยชนสลาฟแห่งคารานทาเนียนได้อพยพมาในเทือกเขาแอลป์และขยายอาณาเขตกว้างขึ้นเรื่อยๆช่วงระหว่างศตวรรษที่ 7 ได้รวมกับพวกเซลโต-โรมานิกและก่อตั้งดินแดนคาเรนทาเนียครอบคลุมภาคตะวันออกและภาคกลางของออสเตรีย ในช่วงนั้นชนเผ่าเยอรมันแห่งบาวาเรียได้เข้ามาบุกเบิกในช่วงศตวรรษที่ 5 และ 6 ทางภาคตะวันตกของประเทศและในบาวาเรียซึ่งปัจจุบันคือ วอรารล์เบิร์กที่พวกอารามานเข้ามาอยู่ ชนเผ่าเยอรมันได้รวมกับพวกราเอโต-โรมานิกและผลักดันให้พวกอารามานต้องอพยพไปอยู่ในเทือกเขา

คาเรนทาเนียภายใต้การกดขี่ของเผ่าเอวาร์ได้ประกาศอิสรภาพจากบาวาเรียใน พ.ศ. 1288 และได้กลายเป็นมาร์กราเวียท (เคานท์) ระหว่างผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวบาวาเรียนได้อพยพลงมาแถบแม่น้ำดานูบและขึ้นไปในเทือกเขาแอลป์ และปัจจุบันชาวออสเตรียจึงนิยมพูดภาษาเยอรมันกันมากพวกบาวาเรียนได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาโรลินเจียนและได้กลายเป็นดัชชีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับ ต่อมา ดยุกทาซิลโลที่ 3 แห่งบาวาเรียผู้ต้องการอิสรภาพแก่บาวาเรียได้ถูกกำจัดและขับไล่ไปจากบาวาเรียโดยชาร์เลอมาญใน พ.ศ. 1331

พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิของพระองค์ เมื่อพระองค์สวรรคตและเกิดการแย่งชิงราชสมบัติของพระราชนัดดา จนมีการแบ่งราชอาณาจักรแฟรงค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง ออสเตรียเป็นส่วนหนึ่งของแฟรงค์ตะวันออกและถูกรุกรานโดยฮังการีในพ.ศ. 1452

ออสเตรียภายใต้ราชวงศ์บาเบนเบิร์ก

[แก้]
ดยุกลีโอโปลด์ที่ 6 แห่งออสเตรีย (ดยุกลีโอโปลด์ผู้รุ่งโรจน์)

หลังจากจักรพรรดิออทโทมหาราชกำจัดชาวแมกยาร์หรือชาวฮังการีในการต่อสู้ที่เลชฟิลด์ เมื่อ พ.ศ. 1498 พระองค์ได้สร้างเมืองหน้าด่านจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเบนส์ ซึ่งทำให้ออสเตรียมีความสำคัญยิ่งขึ้น ชื่อ "ออสเตรีย" ปรากฏครั้งแรกในปีพ.ศ. 1509 ในเอกสารออสตราริชิซึ่งอ้างถึงดินแดนของบาเบนเบิร์ก คำว่า Austria ในภาษาละตินมาจากภาษาเยอรมัน Österreich ที่แปลว่าดินแดนตะวันออก เหล่าขุนนางใหม่ ๆ ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในออสเตรีย ผู้หนึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "มาร์เชีย ออเรียนทอลลิส" (marchia orientalis) ซึ่งกลายเป็นเสาหลักแห่งแดนออสเตรีย

ออทโทที่ 1 ได้มอบเมืองหน้าด่านทางตะวันออกให้มาร์เกรฟเลโอโปลด์แห่งบาเบนเบิร์กในปี พ.ศ. 1515 ซึ่งได้มีการขยายแนวพรมแดนไปถึงแม่น้ำไลทา และตั้งกรุงเวียนนาเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. 1683 ในศตวรรษต่อ ๆ มา ราชวงศ์บาเบนเบิร์กได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่อาณาจักรและขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 1699 เอกสาร Privilegium Minus ได้ยกระดับออสเตรียขึ้นเป็นดัชชี ในปี พ.ศ. 1735 บาเบนเบิร์กได้รับสิทธิในการครอบครองดัชชีแห่งสไทเรียด้วยข้อตกลงจอร์เกนเบิร์ก ในเวลานั้น ดยุกบาเบนเบิร์กได้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาคออสเตรีย เจริญสูงสุดในสมัยดยุกลีโอโปลด์ที่ 6 แห่งออสเตรีย (พ.ศ. 1741 - พ.ศ. 1773)

ตระกูลบาเบนเบิร์กหรือบาเบนแบร์กสิ้นสายลงใน พ.ศ. 1789 หลังจากเจ้าชายฟรีดริชที่ 2 ดยุกแห่งออสเตรีย ถูกสังหารในการรบกับชาวฮังการี สภาฐานันดรของออสเตรียเลือกพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียเป็นประมุขคนใหม่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่เคานต์รูดอล์ฟที่ 4 แห่งฮับบูร์กที่ต้องการครอบครองออสเตรียเช่นกัน จากข้อมูลในเอกสาร interregnum ในระยะเวลา 10 ปีระหว่างนี้มีการโต้แย้งกันอย่างมาก พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2แห่งโบฮีเมียได้เข้ายึดครองดัชชีแห่งออสเตรีย สไทเรียและคารินเทียทั้งหมด จนกระทั่งเคานต์รูดอล์ฟที่ 4 ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงบีบบังคับให้พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียยกออสเตรียและดินแดนใกล้เคียงให้พระองค์ ผลสุดท้ายเกิดสงครามขึ้น และพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียสิ้นพระชนม์ในสนามรบเมื่อ พ.ศ. 1821 ทำให้ออสเตรียอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์กจนกระทั่งเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ

ออสเตรียสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก

[แก้]

จุดเริ่มต้น (พ.ศ. 1821 - พ.ศ. 2069 )

[แก้]
จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

หลังจากพระเจ้าออทโทคาร์พ่ายแพ้และสวรรคตกลางสมรภูมิให้กับกษัตริย์ชาวเยอรมันในปีพ.ศ. 1821 ออสเตรียได้อยู่ภายใต้อำนาจแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กหรือราชวงศ์ออสเตรียยาวนานถึง 640 ปี ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอำนาจปกครองดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นจนออสเตรียมีความสำคัญมากขึ้นไปด้วย ราชวงศ์ฮับส์บูรก์ได้ทำการรวบรวมแคว้นหรือดัชชีเล็ก ๆ ในอาณาบริเวณของออสเตรียเช่น ดัชชีเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ดานูบและสไทเรียที่ได้มาจากสมัยพระเจ้าออตโตกาใกล้ ๆออสเตรีย คารินเทียและคานิโอลาได้ตกอยู่ภายใต้ฮับส์บูร์กในปีพ.ศ. 1878 แคว้นไทรอลได้ในปีพ.ศ. 1906 แคว้นเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดินแดนการสืบทอดของฮับส์บูร์ก" (the Habsburg Hereditary Lands) และส่วนมากจะเรียกกันอย่างกว้างขวางว่า ออสเตรีย

การครองราชย์ภายในเวลาอันสั้นของดยุกรูดอล์ฟที่ 4 แห่งออสเตรีย พระอนุชาของพระองค์คือ ดยุกอัลเบิร์ตที่ 3 แห่งออสเตรียและดยุกลีโอโปลด์ที่ 3 แห่งออสเตรียได้ขัดแย้งกันและต้องลงสนธิสัญญานอยบูร์ก ในปี พ.ศ. 1922 ซึ่งทำให้แยกอำนาจของราชวงศ์ฮับบูร์กเป็นสองสายคือสายของดยุกอัลเบิร์ตได้ครอบครองออสเตรียในขณะที่สายของดยุกลีโอโปลด์ครอบครองออสเตรียใน (Inner Austria) คือ สไทเรีย คารินเทียและคานิโอลา ในปี พ.ศ. 1945 มีการแตกแยกกันในสายของดยุกลีโอโปลด์ เมื่อดยุกเออร์เนสผู้โหดเหี้ยมยึดออสเตรียในและดยุกเฟรเดริกที่ 4 แห่งออสเตรียได้ครอบครองแคว้นไทรอลและออสเตรียไกล (Further Austria) การแบ่งแยกนี้ดำรงอยู่จน พ.ศ. 2000 เมื่อพระเจ้าลาดิสลัสที่ 5 กษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย สมาชิกองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮับบูร์กสายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์ ราชวงศ์ฮับบูร์กสายเลโอโปลด์ที่มีจักรพรรดิเฟเดอริกที่ 3 จึงรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ

ในพ.ศ. 1981 ดยุกอัลเบิร์ตที่ 5 แห่งออสเตรียได้รับเลือกให้เป็น จักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อจากพ่อตาของพระองค์ แต่ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นพระจักรพรรดิแต่จักรพรรดิพระองค์อื่นเป็นพระราชวงศ์ฮับส์บูร์ก มีเพียงพระองค์เป็นพระองค์เดียวที่ไม่ใช่และได้รับการยกเว้น ราชวงศ์ฮับส์บูร์กได้ทำการรวบรวมดินแดน ในปีพ.ศ. 2020 อาร์ชดยุกมักซีมีเลียนพระโอรสในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ได้อภิเษกสมรสกับดัซเซสแมรีผู้ร่ำรวยทำให้ได้สิทธิในการครอบครองกลุ่มประเทศต่ำ พระโอรสของพระองค์เจ้าชายฟิลิปรูปงามได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งคาสตีลและอารากอนทำให้ได้สิทธิในการครอบครองกลุ่มประเทศสเปน อิตาลี แอฟริกาและทวีปโลกใหม่ แต่ในปีพ.ศ. 2063 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้ให้ดินแดนเหล่านี้แก่พระอนุชาคือสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ออสเตรียและการปฏิรูปศาสนา

[แก้]
ยุทธการแห่งเวียนนา พ.ศ. 2226 ระหว่างสันนิบาตคริสต์กับจักรวรรดิออตโตมัน

สมาชิกราชวงศ์ฮับบูร์กได้แต่งงานกับทายาทของรัฐหรือแคว้นต่าง ๆ ทำให้รุ่นต่อ ๆ มา เชื้อสายของราชวงศ์ฮับบูร์กจึงมีอำนาจปกครองดินแดนกว้างขวางตั้งแต่ออสเตรีย เนเปิล ซิซิลี ซาร์ดิเนีย และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก) ในปี พ.ศ. 2069 จากยุทธการโมเฮ็คส์ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีผู้เป็นพระญาติของพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์สิ้นพระชนม์ในสมรภูมิ จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์จึงทรงขยายอาณาเขตโดยรวมโบฮีเมียและส่วนหนึ่งของฮังการีที่ไม่ได้ถูกจักรวรรดิออตโตมันยึดครอง ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอิทธิพลไปยังฮังการี ทำให้ยากที่จะปกครองได้ทั่วถึง รวมทั้งมีภัยรุกรานจากชาวเติร์ก จนนำไปสู่สงครามสิบสามปีหรือสงครามยาว ตั้งแต่พ.ศ. 2136 - พ.ศ. 2149

จักรพรรดิชาลส์ที่ 5กับอาร์ซดุกส์เฟอร์ดินานได้ทำกติกาสัญยาแห่งวอร์มและกติกาสัญญาแห่งบรัสเซลล์แยกดินแดนของราชวงศ์ฮับบูร์กเป็นสองส่วนแบ่งกันปกครอง ทำให้ราชวงศ์ฮับบูร์กแยกเป็นสองสาขาใหญ่ คือสายสเปนและสายออสเตรีย การแบ่งแยกเป็นอย่างสมบูรณ์เมื่อจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2095 และเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาอำนาจใจยุโรปของออสเตรีย

ออสเตรียและเหล่าแคว้นสายราชวงศ์ฮับบูร์ก (ฮังการีและโบฮีเมีย) ได้รับผลกระทบอย่างมากในการปฏิรูปศาสนา แม้ว่าเหล่าผู้นำฮับบูร์กจะยังคงนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่แคว้นต่าง ๆ ได้เปลี่ยนมานับถือลูเธอรัน ที่ซึ่งพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 และเหล่ารัชทายาทคือ จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 และ จักรพรรดิมัททีอัสทรงอดทนอดกลั้นต่อเรื่องนี้มาก

ในช่วงหลังศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามการปฏิรูปย้อนกลับและคณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต) ไดมีอิทธิพลมากและการศึกษาของเยซูอิต อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ผู้ครองรัฐสติเรีย ดัชชีแห่งคารินเทียและคาร์นิโอลาได้เป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีกำลังในการปราบปรามพวกนอกรีตในอาณาจักรที่ทรงปกครอง

ออสเตรียและสงครามสามสิบปี

[แก้]

ในพ.ศ. 2162 อาร์ชดยุกเฟอร์ดินานด์ได้รับเลือกให้สืบราชบัลลังก์พระจักรพรรดิต่อจากพระญาติคือ พระจักรพรรดิแม็ทไธยัส ด้วยความที่จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 ทรงเป็นผู้เคร่งในศาสนาอย่างแรงกล้าและดื้อรั้นทำให้ทรงเป็นที่รู้จักกันมาก พระองค์ทรงดำเนินการฟื้นฟูคาทอลิกไม่เพียงเฉพาะแคว้นรัชทายาทแต่โบฮีเมียและฮับบูร์กออสเตรียมีผู้นับถือโปรแตสแตนต์มากที่สุดในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทางนอกอาณาจักรทรงเป็นผู้แข็งกร้าวและไม่ประนีประนอมทรงนำพาอาณาจักรเข้าสู่สงครามสามสิบปีในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2161 ได้เกิดการแบ่งฝ่าย เป็นที่รู้ในการกบฏในโบฮีเมียหลังจากมีความเห็นขัดแย้งกัน พระองค์ได้ให้ความสะดวกแก่ชาวคาทอลิกไปที่ใดก็ได้ พระองค์ทรงกำหนดกฤษฎีกาแห่งการฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2172 ซึ่งยุ่งยากแก่การปกครอง ความสัมพันธ์และการยืดเวลาออกไป พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในช่วงกลาง พระองค์ทรงมีพลังในการปลุกใจทหารดังเช่นในการปิดล้อมที่เม็กเดบูร์ก

หลังสงคราม

[แก้]
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา เมื่อ พ.ศ. 2270

หลังจากสงครามสามสิบปีระหว่างรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทดลิกและโปรแตสแตนท์สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2191 อำนาจของประมุขออสเตรียในฐานะจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ด้อยลง แต่เมื่อออสเตรียเป็นผู้นำในการทำสงครามกับชาวเติร์กจนยับยั้งความพยายามในการยึดกรุงเวียนนาสำเร็จใน พ.ศ. 2226 และขับไล่ชาวเติร์กที่ยึดครองกรุงบูดา เมืองหลวงของฮังการีสำเร็จใน พ.ศ. 2229 ขุนนางฮังการีจึงมอบอำนาจการปกครองฮังการีให้แก่ราชวงศ์ฮับบูร์ก

พ.ศ. 2243 ราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปนสิ้นสายลง ทำให้เกิดสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปนระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรีย สงครามสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2257 โดยออสเตรียยอมรับสิทธิของราชวงศ์บูร์บงในการปกครองสเปน โดยออสเตรียได้ปกครองเนธอร์แลนด์ของสเปน (เบลเยียมในปัจจุบัน) และดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีที่เคยเป็นของราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปน

ปัญหาสำคัญของราชวงศ์ฮับบูร์กคือการขาดรัชทายาทที่เป็นชาย จนกระทั่งสมัยจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ซึ่งไม่มีราชโอรสได้ทำข้อตกลงในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2256 กับประเทศต่าง ๆ เพื่อค้ำประกันสิทธิของพระราชธิดา จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2283 พระธิดาคืออาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ขึ้นครองราชสมบัติแทน พระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 แห่งปรัสเซียเห็นเป็นโอกาสจึงเข้ายึดครองแคว้นไซลีเชียของออสเตรีย ทำให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียขึ้น สงครามสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2288 โดยออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เสียแคว้นไซลีเชียให้กับออสเตรียตามสนธิสัญญาเดรสเดิน โดยพระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 ยินยอมสนับสนุนดุ๊กฟรานซิส สตีเวนแห่งลอร์แรน สวามีของอาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออสเตรียภายใต้การปกครองของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และพระโอรสคือจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 มีความก้าวหน้าและเริ่มขยายอำนาจของออสเตรียไปทางยุโรปตะวันออก และได้ดินแดนเพิ่มขึ้นจากการเข้าไปร่วมแบ่งโปแลนด์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2315 กับรัสเซียและปรัสเซีย และครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2338 นอกจากนั้นยังได้ดินแดนบูโดวินซ์จากจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ พ.ศ. 2318

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2332 ออสเตรียพยายามช่วยเหลือพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ซึ่งเป็นสมาชิกราชวงศ์ฮับบูร์ก ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียเมื่อ พ.ศ. 2335 ซึ่งเรียกว่าสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ผลของสงครามออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เสียดินแดนไปมากมาย การขยายตังของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ทำให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งออสเตรียตัดสินใจแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยกดินแดนออสเตรียขึ้นเป็นจักรวรรดิออสเตรีย สถาปนาพระองค์เองเป็นจักรวรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรียเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2347 และสละตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 ทำให้การดำรงอิสริยยศจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ฮับบูร์กสิ้นสุดลง

เว็บไซต์อ้างอิง

[แก้]


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ประวัติศาสตร์ออสเตรีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?