For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล.

ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล

มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย ((ละเมิดลิขสิทธิ์)) หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติมาอย่างยาวนาน โดยสามารถแบ่งออกเป็นช่วงต่าง ๆ ได้ดังนี้

การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช

[แก้]

โรงศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2431)

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งคณะคอมมิตี้ เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาล โดยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งของวังหลัง มาเป็นที่สร้างโรงพยาบาลแห่งแรก ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า "โรงพยาบาลวังหลัง" ในระหว่างการสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล และเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาล พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า โรงศิริราชพยาบาล

โรงเรียนแพทยากร (พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2440)

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น ณ โรงศิริราชพยาบาล โดยมีชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้สร้างโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลขึ้น ในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ในปัจจุบัน คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรงเรียนราชแพทยาลัย (พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2475)

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในโอกาสนั้นโปรดเกล้าฯ พระราชทานประกาศนียบัตรให้แพทย์รุ่นที่ 8 จำนวน 9 คน และพยาบาลรุ่นแรก จำนวน 10 คน

ในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย มีชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

ในช่วงนี้ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ขอให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ โดยมี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงรับภาระเป็นผู้แทนฝ่ายไทย และได้ขยายหลักสูตรเป็นแพทยศาสตร์บัณฑิต ต่อมา มูลนิธิฯ ได้ขยายความช่วยเหลือไปถึงโรงเรียนพยาบาล และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2512)

[แก้]
ตราประจำมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้จัดตั้งและโอนคณะต่างๆ มากมาย ได้แก่

  • พ.ศ. 2491 จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490
  • พ.ศ. 2491 จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2491
  • พ.ศ. 2498 โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2500 จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2501 จัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อมาเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พ.ศ. 2502 จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่จัดการศึกษาฝ่ายแพทยศาสตร์ และฝ่ายวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2503 จัดตั้ง คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน (ปัจจุบันเป็นคณะเวชศาสตร์เขตร้อน) และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันเป็นคณะวิทยาศาสตร์) ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยที่สมควรอบรมความรู้เรื่องอายุรศาสตร์เขตร้อนโดยละเอียดแก่บรรดาแพทย์ทั้งหลาย ตลอดจนทำการศึกษาวิจัยเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคเขตร้อนแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2507 จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแพทย์ ช่วยเหลือ ปรับปรุงคุณวุฒิ และสมรรถภาพของแพทย์ รวมทั้งเภสัชกร ทันตแพทย์ ให้มีความรู้เหมาะสมกับสมัยและช่วยวิจัยปัญหาการแพทย์การสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2507 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนำโดยอธิการบดี ชัชวาล โอสถานนท์ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายรายงาน และโอกาสนั้น ได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ไม่ขัดข้อง แต่ขอให้ปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์เสียก่อน เพื่อให้สมพระเกียรติ แต่ขอให้เป็นไปในทางประหยัด”
  • พ.ศ. 2508 จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เพื่อผลิตแพทย์ อาจารย์ พยาบาล ผดุงครรภ์อนามัย และพนักงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนบริการประชาชน ผู้ป่วยไข้ และโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2510 โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510
  • พ.ศ. 2511 จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีก 2 คณะ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท มีหน้าที่จัดการศึกษาด้าน ทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มีหน้าที่จัดการศึกษาด้านเภสัชศาสตร
  • พ.ศ. 2511 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเลขาธิการสภาการศึกษา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อถวายรายงานเรื่องการขอพระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่มีพระราชกระแสว่า “เมื่อพร้อมแล้ว และทางรัฐบาลเห็นสมควรก็ไม่ขัดข้อง”

มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2512 – ปัจจุบัน)

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เรียกว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิ่งขึ้น ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ในช่วงนี้มีการจัดตั้งคณะต่าง ๆ อีกมากมายเพื่อให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?