For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล.

การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล

มหิดลสิทธาคาร

บทความนี้กล่าวถึงการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดิมเคยมีฐานะเป็น โรงเรียนราชแพทยาลัย และ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ใน พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในหลายสาขาวิชาโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)[1][2] นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน

ภาพรวม

[แก้]
อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
CWTS (2017) 2(458)
CWUR (2017) 2(518)
Nature Index (2016) 2 (-)
QS (Asia) (2018) 2(58)
QS (World) (2018) 2(334)
QS GER (2018) 2(301-500)
RUR (2017) 2(408)
RUR reputation (2017) 2(246)
RUR research (2016) 3(457)
RUR Academic (2017) 1(328)
SIR (2020) 1(554)
THE (Asia-Pacific) (2017) 1(101-110)
THE (Asia) (2017) 1(97)
THE (World) (2021) 1(601-800)
THE (BRICS) (2017) 1(76)
UI Green (Overall) (2017) 1(86)
URAP (2017-2018) 1(443)
U.S. News (2018) 1(509)
Webometrics (2018) 1(548)
4 International Colleges & Universities (2018) 1(568)

การจัดอันดับโดยหน่วยงานต่าง ๆ

[แก้]

Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 440 ของโลก[3]

Center for World University Rankings

[แก้]

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย บัณฑิตที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 522 ของโลก[4]

Nature Index

[แก้]

Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group สำหรับปี 2016 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย[5][6]

Quacquarelli Symonds

[แก้]

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 334 ของโลก[7]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[8]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[9]

โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 58 ของเอเชีย[10]

Rankings by Subject

[แก้]
การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject[11]
อันดับที่ 101 – 150 ของโลก
  • Medicine
  • Pharmacy & Pharmacology
อันดับที่ 201 – 250 ของโลก
  • Biological Sciences
  • Linguistics
อันดับที่ 251 – 300 ของโลก
  • Sociology
อันดับที่ 351 – 400 ของโลก
  • Chemistry

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำปี พ.ศ. 2560 ได้มีสาขาวิชาต่างๆ ที่ติดอันดับของโลก ดังนี้ อันดับที่ 101 – 150 ของโลก ได้แก่ สาขา Medicine, Pharmacy & Pharmacology, อันดับที่ 201 – 250 ของโลก ได้แก่ สาขา Biological Sciences, Linguistics อันดับที่ 251 – 300 ของโลก ได้แก่ สาขา Sociology อันดับที่ 351 – 400 ของโลก ได้แก่ สาขา Chemistry , Social Sciences and Management (399)

และยังมีสาขาวิชา Anatomy & Physiology, Biological Sciences, Medicine, Nursing, Pharmacy & Pharmacology, Sociology และ Theology, Divinity & Religious Studies ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

Graduate Employability Rankings 2018

[แก้]

เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 301 - 500 ของโลก [12]

Round University Rankings

[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 484 ของโลก[13]

SCImago Institutions Ranking

[แก้]

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 554 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [14]

The Times Higher Education

[แก้]

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) , จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย (Times Higher Education Asia University Rankings) และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

THE World

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 601-800 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย[15] หากนับเฉพาะด้านงานวิจัยแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 577 และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน[16]

THE Asia

  1. Teaching: The learning environment (25%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, students and research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (7.5%) ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม วัดจาก รายได้ทางอุตสาหกรรมจากงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 97 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [17]

THE Asia-Pacific

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 101–110 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [18]

BRICS & Emerging Economies การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings)

  1. Teaching: The learning environment (30%) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลสำรวจด้านชื่อเสียง คุณภาพการสอน สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา
  2. Research: Volume, Income, Reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์ นักศึกษา งานวิจัยนานาชาติ และความร่วมมือกับต่างประเทศ
  5. Industry income: knowledge transfer (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี 2017 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 76 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [19]

University Ranking by Academic Performance

[แก้]

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 432 ของโลก[20] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

U.S. News & World Report

[แก้]

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2018” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดลถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 509 ของโลก[21]

UI Green Metric World University Ranking

[แก้]

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 86 ของโลก[22]

Webometrics

[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2561 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 548 ของโลก[23]

International Colleges & Universities

[แก้]

การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2018 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยและอันดับ 568 ของโลก [24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  2. "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  3. [1]
  4. [2]
  5. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  6. http://www.natureindex.com/institution-outputs/thailand/chulalongkorn-university-cu/513906bb34d6b65e6a000175
  7. https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2018
  8. QS. QS World University Rankings: Methodology. September 11, 2015. http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology (accessed june 29, 2016).
  9. QS. QS University Rankings: Asia methodology. 13 June 2016. http://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology (accessed 29 June 2016).
  10. https://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2018
  11. https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news60/QsRanking2017.html[ลิงก์เสีย]
  12. https://www.topuniversities.com/university-rankings/employability-rankings/2018
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  14. [3]
  15. [4]
  16. [5]
  17. [6]
  18. [7]
  19. BRICS & Emerging Economies
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  21. การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  23. http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
  24. http://www.4icu.org/th/
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?