For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน.

พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน

พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน
แผนที่
ที่ตั้ง1164 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พิกัดภูมิศาสตร์13°43′15″N 100°33′13″E / 13.72083°N 100.55361°E / 13.72083; 100.55361
ประเภทประวัติศาสตร์, ชีวประวัติ
สถาปนิกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เจ้าของราชสกุลจิตรพงศ์
สัญลักษณ์พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนินที่รถไฟฟ้ามหานคร สถานีคลองเตย

พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน หรือ วังคลองเตย ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ แต่เดิมเป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวในเบื้องแรกและทรงเป็นที่ประทับถาวรในเวลาต่อมา ปัจจุบันตำหนักปลายเนินนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานวันนริศฯ โดยมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งจัดเป็นประจำในวันที่ 28 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ในวันที่ 29 เมษายน ของทุกปี ในเวลาราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้ซื้อเรือนไทยอย่างโบราณเพื่อสร้างเป็นพระตำหนักที่ประทับ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2457 โดยมีพระประสงค์จะให้เสร็จโดยเร็วและไม่สิ้นเปลือง เนื่องจากมักทรงพระประชวรเมื่อประทับที่วังท่าพระ ข้างพระบรมมหาราชวัง และมีพระดำริจะมาประทับนอกเมืองเป็นครั้งคราว จนกระทั่งเข้าช่วงปลายของพระองค์ พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับโดยถาวรไป ส่วนวังท่าพระนั้น จะเสด็จไปประทับเฉพาะช่วงหน้าหนาวหรือช่วงที่มีงานพระราชพิธีเท่านั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จประทับ อยู่ ณ วังที่ตำบลคลองเตยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 2490 วังนี้จึงตกแก่ทายาทในราชสกุลจิตรพงศ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อนึ่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อทรงดนตรีไทยร่วมกับหม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ และศิลปินอาวุโสจากกรมศิลปากรอยู่เป็นประจำ

เมื่อแรกตัวพระตำหนักสร้างมุงหลังคาจากทุกหลัง บางหลังฝาทำด้วยแผงไม้ไผ่สานมีไม้ประกับเป็นกรอบค้ำเปิดขึ้นได้ทั้งฝา ต่อมาได้เปลี่ยนใช้กระเบื้องไม้สักมุงหลังคาแทน เพราะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 - 3 ปี ส่วนฝาเปลี่ยนเป็นฝาไม้มีหน้าต่างกว้าง เนื่องจากไม่สะดวกในฤดูฝน ซึ่งยุคนั้นไม่มีใครเคยทำ

ปัจจุบันวังปลายเนินยังเป็นที่ประทับ และที่อยู่อาศัยของทายาทในราชสกุลจิตรพงศ์อยู่ โดยมีอาคารอื่นอีก เช่น

  • ตำหนักตึก ซึ่งเป็นที่ประทับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมือช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
  • ตำหนักประเสบัน เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงทรงยุโรปที่ประทับของ หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ต่อมารื้อลงเป็นเรือน 2 ชั้น 2 หลัง
  • เรือนไม้ริมบ่อ - ศาลาริมน้ำ สมัยที่ยังมีคลองหน้าวัง ปัจจุบันรื้อย้ายมาปลูกกลางสวนเป็นศาลาทรงไทย
  • ตำหนัก หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์

และ เรือนอื่น ๆ ซึ่งทยอยสร้างขึ้นทีหลัง เช่น บ้านหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น

ลักษณะอาคาร

[แก้]

เป็นเรือนไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นใต้ถุนสูงยกพื้นโล่ง มีโครงสรางเสาชั้นล่างเป็นเสาปูน ส่วนตัวเรือนเป็นเรือนไม้ทั้งหมด หลังคาจั่วปีกนก มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นลักษณะของเรือนไทยประเพณีทั้งหลัง มีการวางผังต่างไปจากเรือนไทยโบราณทั่วไป คือยืนตามตะวันทุกหลัง และวางเหลื่อมเยื้องกันเพื่อรับลมและเลี่ยงการรับแดดแทนการวางเรือนล้อมรอบนอกชาน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′16″N 100°33′13″E / 13.721194°N 100.553711°E / 13.721194; 100.553711

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?