For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
ถนนพิบูลสงคราม
ถนนประชาราษฎร์
ถนนติวานนท์
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว26.424 กิโลเมตร (16.419 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2474–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศเหนือ ถนนรังสิต-ปทุมธานี ใน อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 4-6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง (4 ช่องจราจรในช่วงถนนประชาราษฎร์ และ 6 ช่องจราจรในช่วงที่เหลือ)

อนึ่ง ในอดีตถนนจรัญสนิทวงศ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 405 สายป้อมพระจุลจอมเกล้า - วงเวียนท่าพระ - พระราม 6 - รังสิต[1] และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายสามแยกท่าพระ - รังสิต[2] แต่ในภายหลังกรมทางหลวงได้มอบให้อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร


ถนนพิบูลสงคราม

[แก้]
ถนนพิบูลสงคราม บริเวณก่อนถึงแยกพิบูลสงคราม

ถนนพิบูลสงคราม (อังกฤษ: Thanon Phibun Songkhram; Thanon Pibulsonggram) เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กับเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางรวมประมาณ 3.8 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกพิบูลสงคราม (ถนนวงศ์สว่างตัดกับถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ใกล้ทางขึ้น-ลงสะพานพระราม 7) ในแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ข้ามคลองบางเขนเข้าเขตตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี ข้ามแนวคลองวัดเขมา จากนั้นโค้งและมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบุนนาค คลองบางขุนเทียน ตัดกับถนนนครอินทร์ (แยกพระราม 5) ข้ามคลองบางตะนาวศรี ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี (แยกพิบูลสงคราม-เลี่ยงเมือง) และข้ามแนวคลองบางขวาง ก่อนบรรจบกับถนนประชาราษฎร์ที่แยกศรีพรสวรรค์

ถนนพิบูลสงครามเป็นถนนที่สร้างขึ้นเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา และสร้างขึ้นเป็นสายแรก ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนตั้งตามนามสกุลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งเกิดที่เรือนแพปากคลองบางเขน และเคยศึกษาที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โดยทั้งสองแห่งเป็นสถานที่ที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน

ถนนพิบูลสงคราม ช่วงที่อยู่ในเขตบางซื่อและช่วงเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี

ถนนประชาราษฎร์

[แก้]

ถนนติวานนท์

[แก้]

ถนนติวานนท์ (อังกฤษ: Thanon Tiwanon) เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่จังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี เดิมถนนนี้เรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายนนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี" ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตั้งชื่อว่า "ถนนติวานนท์" ตามประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนชิตชาญตรวจ (เชี่ยวชาญ ช. ติวานนท์) อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง ช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงปทุมธานี แขวงทางหลวงปทุมธานี

เขตอำเภอเมืองนนทบุรี

[แก้]

มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกติวานนท์ (จุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี และถนนนครอินทร์) ในท้องที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับซอยติวานนท์ 4 (แยกโรงพยาบาลศรีธัญญา) ตัดผ่านถนนเรวดี ข้ามคลองบางซื่อเข้าเขตตำบลบางกระสอ ตัดกับถนนงามวงศ์วานและถนนรัตนาธิเบศร์ที่แยกแคราย ก่อนโค้งและตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงปากซอยติวานนท์ 27 (แผ่นดินทอง) เป็นเส้นแบ่งเขตตำบลบางกระสอกับตำบลท่าทราย จนถึงปากซอยติวานนท์ 38 (ทานสัมฤทธิ์พัฒนา) จึงเข้าเขตตำบลท่าทราย จากนั้นตัดกับถนนสนามบินน้ำ (แยกสนามบินน้ำ) และถนนสามัคคี (แยกสามัคคี) ข้ามคลองบางตลาดเข้าเขตอำเภอปากเกร็ด

เขตอำเภอปากเกร็ด

[แก้]

บางครั้งเรียกว่า "ถนนติวานนท์-ปากเกร็ด" เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางตลาด ยังมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในท้องที่ตำบลบางตลาด ตัดกับถนนเข้ากรมชลประทาน ผ่านวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เข้าเขตตำบลปากเกร็ด จากนั้นเริ่มโค้งขึ้นเหนือก่อนตัดกับถนนแจ้งวัฒนะที่แยกปากเกร็ด และโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งหนึ่ง ข้ามคลองบางพูดเข้าเขตตำบลบางพูด ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดและตัดผ่านถนนสุขาประชาสรรค์ 3 ข้ามคลองบางพังเข้าเขตตำบลบ้านใหม่ ตัดผ่านซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 36 (ถนนบอนด์สตรีทหมู่บ้านเมืองทองธานี) ก่อนตัดกับถนนศรีสมานและถนนนนทบุรี-ปทุมธานี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307) ที่แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ตัดผ่านซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 56 (พระแม่มหาการุณย์) และซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 39 (วัดโพธิ์ทองบน) ก่อนข้ามคลองบ้านใหม่เข้าเขตจังหวัดปทุมธานี

เขตอำเภอเมืองปทุมธานี

[แก้]

บางครั้งเรียกว่า "ถนนติวานนท์-ปทุมธานี" เริ่มจากสะพานข้ามคลองบ้านใหม่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและวกขึ้นไปทางทิศเหนือในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี ข้ามคลองรังสิตประยูรศักดิ์และตัดกับถนนเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345) ตรงไปทางทิศเดิม เมื่อถึงบริเวณใกล้ทางเข้าสนามกีฬาจังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบ้านใหม่กับตำบลบางกะดี จนกระทั่งถึงคันดินแนวเขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดีจึงเข้าเขตตำบลบางกะดี ตัดผ่านซอยวัดบางกุฎีทอง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี และสำนักงานเทศบาลเมืองบางกะดี เมื่อผ่านซอยวัดบางกะดีและถนนประตูน้ำเชียงรากจึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางหลวงเชียงรากเข้าเขตตำบลบ้านกลาง โค้งไปทางทิศเหนืออีกครั้ง ก่อนไปบรรจบกับถนนรังสิต-ปทุมธานี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346) ที่แยกบ้านกลาง เป็นการสิ้นสุดทางหลวงหมายเลข 306 แต่ "ถนนติวานนท์" ยังคงมีระยะทางตรงต่อไปอีก (กลายเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346) ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี สามแยกเทคโน (ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347) แล้วโค้งซ้าย ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือหัวถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3186 เดิม) โดยที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 จะตรงเบี่ยงขวาขึ้นสะพานปทุมธานีไป

สถานที่สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย. พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1963-06-04.
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1966-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°49′47″N 100°30′18″E / 13.829641°N 100.505087°E / 13.829641; 100.505087

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?