For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว35.649 กิโลเมตร (22.151 ไมล์)
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 สายงาแม่–ท่าสาป มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.649 กิโลเมตร จากบ้านคลองขุด อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ถึงบ้านท่าสาป ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นผลงานการก่อสร้างของทหารช่างในการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นทางหลวงสายมาตรฐาน 4 ช่องจราจร ช่วยย่นระยะทางได้ 13 กิโลเมตรจากเส้นทางเดิม เพื่อประโยชน์ในการเดินทางและการขนส่งสินค้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ทางหลวงเส้นนี้เปิดทดสอบการใช้งานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และส่งมอบสายทางคืนให้สำนักงานทางหลวงที่ 18 (สงขลา) โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดและส่งมอบอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

การก่อสร้างและอุปสรรค

[แก้]

โครงการทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 มีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 และดำเนินการก่อสร้างโดยใช้งบประมาณ 703.50 ล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ทำให้เป็นอุปสรรคต่อผู้รับเหมา กระทั่งต้องบอกเลิกสัญญาและทิ้งงานก่อสร้างในที่สุด

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มอบหมายให้กรมทหารช่างเข้ามารับผิดชอบดำเนินการให้แล้วเสร็จ กระทั่งได้ดำเนินการเปิดทดสอบไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รวมเวลาก่อสร้าง 720 วันตามสัญญา หากนับรวมกันทางหลวงสายนี้ใช้เวลาก่อสร้างยาวนานกว่า 8 ปีใช้งบประมาณก่อสร้าง ทั้งสิ้น 1,244 ล้านบาท เนื่องจากราคาวัสดุที่ในพื้นที่สูงกว่าปกติ การขาดแคลนแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ระหว่างการก่อสร้าง ทำให้กรมทหารช่างขอเพิ่มงบประมาณอีก 204 ล้านบาท จากงบประมาณก่อสร้างอยู่ที่ 1,040 ล้านบาท

ลักษณะพิเศษ

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 แตกต่างจากทางหลวงสายอื่นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เป็นทางหลวงมาตรฐาน 4 ช่องจราจรแห่งแรกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีจุดตัดตลอดเส้นทาง แต่จะใช้วิธีการทางยกระดับที่มีการก่อสร้างสะพานข้ามถนนประมาณ 20 จุด ทำให้ทางหลวงเส้นนี้ไม่มีสี่แยกไฟแดง ผู้ใช้เส้นทางนี้สามารถทำเวลาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้สามารถย่นระยะทางจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 ได้ถึง 13 กิโลเมตร ซึ่งมีเพียงแค่ 2 ช่องจราจรสวนทาง ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที แต่หากใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 จะใช้เวลาเพียงแค่ 25 นาทีเท่านั้น

ทางแยกสำคัญ

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 ทิศทาง: งาแม่-ท่าสาป
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ปัตตานี 0+000 แยกงาแม่ใน 4296 ถนนหนองจิก ไป ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 4296 ถนนหนองจิก เข้าเมืองปัตตานี
แยกงาแม่นอก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ไปจังหวัดนราธิวาส ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ไปอำเภอหนองจิก
ปน.2013 ปน.2013 ไปบ้านปะกาฮารัง ปน.2013 ปน.2013 ไปอำเภอหนองจิก
วงเวียนมะพร้าวต้นเดียว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ไปอำเภอยะหริ่ง, จังหวัดนราธิวาส ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ไปอำเภอหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา
สะพานบ้านมะพร้าวต้นเดียว ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านลิปะสะโง ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านกาเตาะ, บ้านมะพร้าวต้นเดียว
ทางแยกต่างระดับบ้านยาบี ปน.2007 ปน.2007 ไปบ้านยาบี, อำเภอยะรัง ปน.2007 ปน.2007 ไปบ้านบ่อทอง
สะพานบ้านน้ำดำ ปน.5056 ปน.5056 ไปบ้านคอลอตันหยง ปน.5056 ปน.5056 ไปบ้านน้ำดำ
สะพานข้ามทางหลวงชนบท ปน.2010 ปน.2010 ไปบ้านบาซาเอ ปน.2010 ปน.2010 ไปบ้านนาเกตุ, อำเภอโคกโพธิ์
สะพานบ้านม่วงเตี้ย ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านดาโต๊ะ ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านนาประดู่
สะพานบ้านคูระ ปน.3011 ปน.3011 ไปบ้านคูระ ปน.3011 ปน.3011 ไปบ้านนาประดู่
สะพานบ้านแม่นางโอ ข้ามปน.3014 ปน.3014
สะพานข้ามคลองชลประทาน ทางเข้าศูนย์ราชการอำเภอแม่ลาน ทางหลวงท้องถิ่น
ปน.3058 ปน.3058 ไปเขื่อนปัตตานี ปน.3058 ปน.3058 ไปวัดช้างให้, บ้านนาเกตุ
สะพาน ข้ามทางรถไฟสายใต้
ยะลา วงเวียนบ่อเจ็ดลูก ทางเลี่ยงเมืองยะลา ทางเลี่ยงเมืองยะลา
ทางแยกต่างระดับท่าสาป ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 เข้าเมืองยะลา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 ไปอำเภอโคกโพธิ์, จังหวัดสงขลา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?