For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ดี๋ ดอกมะดัน.

ดี๋ ดอกมะดัน

ดี๋ ดอกมะดัน
ชื่อเกิดศุภกรณ์ ศรีสวัสดิ์
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2494[1]
อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
เสียชีวิต2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (58 ปี)
กรุงเทพมหานครประเทศไทย
คู่สมรสรัตตินันท์ จิราโรจน์เจริญ (เลิกรา) (2520 - 2525)
เสาวลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ (2530 - 2552)
อาชีพนักแสดง ตลก
ปีที่แสดงพ.ศ. 2518 - 2550
พระสุรัสวดีดาราประกอบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2526 จากเรื่อง มหาเฮง
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ดี๋ ดอกมะดัน มีชื่อจริงว่า สภา ศรีสวัสดิ์ (เดิมชื่อ ศุภกรณ์) (เกิดที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2494 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) จบการศึกษาประกาศนียบัตรขั้นสูง วิทยาลัยครูยะลา

ประวัติ

[แก้]

เริ่มอาชีพจากการเป็นครูที่จังหวัดยะลา และต่อมาเป็นโฆษกวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดังต่าง ๆ จากนั้นก็ได้เป็นตลกด้วยการชักชวนของเตี้ย เมืองใต้ แสดงบนเวทีคอนเสิร์ตลูกทุ่ง ใช้ชื่อหลายชื่อ แต่ไม่ประสบความสำเร็จถึงขั้นขีดสุดนานถึง 30 ปีเต็ม ต่อมาเริ่มมามีชื่อเสียง[2]กับคณะเด๋อ ดู๋ ดี๋ ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นพิธีกรในรายการพลิกล็อกคู่กับปัญญา นิรันดร์กุล ต่อมาได้รับเป็นนายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย [3]

ในกลางปี พ.ศ. 2545 ปรากฏเป็นข่าวอื้อฉาวว่า ดี๋ ดอกมะดันถูกตรวจพบว่ามีปัสสาวะสีม่วงขณะอยู่ในผับ จึงต้องสงสัยว่าเสพยาเสพติด แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยบอกว่าเป็นยาแก้หอบหืด ซึ่งต่อมาเรื่องเสพยาเสพติดนี้ก็ได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงและศาลก็ได้ยกฟ้อง[4]จากนั้นก็มีข่าวว่าได้ตบปาก ต้อย แอ๊คเนอร์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มายา ชาแนลถึงเลือดกลบปาก จนถูกกล่าวหาว่าเป็นตลกมาเฟีย เนื่องจากไม่พอใจที่ได้พาดหัวว่า ตลกดังอักษรย่อ ”ด “ หิ้วนักข่าวสาวเข้าม่านรูด ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องล้อเล่นกันมานานถึง 17 ปี

ในทางการเมือง ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ดี๋ ดอกมะดันได้เข้าร่วมกับทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย และได้ขึ้นเวทีปราศรัยและนำคณะตลกแสดงบนเวทีด้วย[5]

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภา ศรีสวัสดิ์ และลงเล่นการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์โดยลงสมัครเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตห้วยขวาง ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด

ชีวิตส่วนตัวเคยใช้ชีวิตคู่กับนางรัตตินันท์ จิราโรจน์เจริญ และก็เลิกรากันไป ต่อมาสมรสกับนางเสาวลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ มีบุตรสาว 2 คน คือ พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์ (บีม) บุตรสาวคนโตที่เป็นนักแสดงชื่อดัง กับ มนชญา ศรีสวัสดิ์ (เบล) ปัจจุบันบุตรสาวทั้งสองเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ และ ชยานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ [6] ซึ่งบุตรสาวทั้ง 2 คนนี้เกิดกับนางรัตตินันท์ หรือภรรยาคนแรกของ ดี๋ ดอกมะดัน

ต่อมา ดี๋ ดอกมะดัน ได้ป่วยเป็นโรคหอบอย่างหนักเนื่องจากสูบบุหรี่หนักและอยู่กับสุนัขของตนมาอยู่ในห้องของตนเอง เริ่มเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งเวลาประมาณ 5 นาฬิกาของเช้าวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ดี๋ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลสินแพทย์ แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร หลังจากทนทุกข์ทรมานด้วยโรคหอบอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน[7] โดยมีผลงานชิ้นสุดท้ายคือ การรับบทเป็น ขุนเดช ในภาพยนตร์ไตรภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • 2522: สาวใช้แม่เอ๊ย
  • 2522: 2 ผู้ยุ่งเหยิง รับบท ลูกเสือ
  • 2523: ทายาทลูกทุ่ง รับบท ดี๋
  • 2524: ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม
  • 2524: เจ้าพ่อเซียงกง
  • 2524: จู้ฮุกกรู รับบท ดี๋
  • 2524: แม่กาวาง
  • 2524: ครูวิบาก
  • 2525: คนึงหา
  • 2525: อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง
  • 2525: กระท่อมนกบินหลา
  • 2525: ลำตัดรำเตะ รับบท ดี๋
  • 2525: นักเลงคอมพิวเตอร์ รับบท แหย
  • 2525: คุณย่าเซ็กซี่
  • 2525: แววมยุรา รับบท นายจ้าง
  • 2525: คุณนายซาอุ
  • 2525: กุนซืออ้วน
  • 2526: ร.รักส์ ปักใจ รับบท เจ๋ง
  • 2526: พ่อตาจิ๊กโก๋
  • 2526: ผู้แทนนอกสภา รับบท มหาจำรูญ เรืองศาสตร์
  • 2526: ความรักของบัวทอง
  • 2526: ไผ่ลำพอง
  • 2526: ไอ้ทุยลุยกรุง
  • 2526: รักกันวันละนิด
  • 2526: พยัคฆ์ยี่เก รับบท พี่น้องกัน
  • 2526: น.ส. เย็นฤดี รับบท ครูพร
  • 2526: มหาเฮง
  • 2526: ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว
  • 2526: วีรบุรุษสงคราม รับบท นักรบ
  • 2526: ยูงรำแพน
  • 2526: แม่ดอกกระถิน รับบท ไอ้นึก
  • 2526: เงิน เงิน เงิน รับบท แดง
  • 2526: แม่ยอดกะล่อน
  • 2526: ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น) รับบท อิทธิพล
  • 2526: เลขาคนใหม่ รับบท บุญมี
  • 2526: นิสิตใหม่
  • 2526: สวรรค์บ้านนา รับบท ดี๋
  • 2526: เขยสี่ทิศ
  • 2526: กำนันสาว รับบท หยอย
  • 2526: เล่นไม่ยาก
  • 2527: เสือตกถัง รับบท จ่าเต็มยศ
  • 2527: สารวัตรต๊อก รับบท ร.ต.ท. ชัย
  • 2527: สาวใจแตก รับบท ทิดจ้อย สรณา
  • 2527: หอสาว รับบท สำราญ
  • 2527: แหกค่ายโลกีย์
  • 2527: เฮฮาเมียนาวี รับบท พ.ท. เหี้ยว นักรัก
  • 2527: 7 ทะโมน
  • 2527: ท.ทหารอดทน รับบท ทหาร
  • 2527: สวัสดีคุณนาย รับบท มะเหง็ก เข็กกระบาล
  • 2527: ขอโทษที ที่รัก รับบท ดี๋
  • 2527: บ้านสาวโสด รับบท เมธี
  • 2527: รักที่ต้องรอ
  • 2527: รักต้องโกย
  • 2527: ไอ้ถึกเกณฑ์ทหาร รับบท ทหาร
  • 2527: แตนป่าแตก
  • 2527: เด็กปั๊ม
  • 2527: รักที่ถูกลืม
  • 2527: ขาวผ่องจ้าวสังเวียน
  • 2527: อิทธิฤทธิ์น้ำมันพราย รับบท นายปลอมคนใหม่
  • 2527: เขี้ยวฉลาม
  • 2527: ยันต์สู้ปืน รับบท เสือเผ่น แพแดง
  • 2527: น.ส. ลูกหว้า
  • 2527: คาดเชือก รับบท ไอ้แพม
  • 2527: วัยระเริง
  • 2527: สาลิกาลิ้นทอง
  • 2528: ลูกสาวป้าแช่ม รับบท หมอปรีชา
  • 2528: หอใหม่ รับบท สำราญ
  • 2528: พยาบาลที่รัก รับบท นายแพทย์
  • 2528: นักรบ 3 สลึง รับบท นักรบ
  • 2528: ตะวันยิ้มแฉ่ง รับบท นายเลิมเป็นคนสูบยา
  • 2528: ปลัดเพชรบ่อพลอย
  • 2528: รักตะลุมบอน รับบท นักสีบ
  • 2528: ทับทิมโทน
  • 2528: คุณแหท่านหอย
  • 2528: แม่หมอน้ำมันพราย
  • 2528: นักเลงสิบล้อ รับบท นายกำแพง
  • 2529: ไอ้งอดยอดทหาร รับบท ทหาร
  • 2529: หักเหลี่ยมแดร็กคูล่า รับบท หัวหน้าของเขา
  • 2529: ตำรวจเหล็ก
  • 2529: น.ส.กาเหว่า
  • 2529: ลุยรำมะนา
  • 2530: ขอทานขาดทุน
  • 2530: สาว X รอรัก
  • 2530: เรารักกันนะ
  • 2530: พี่น้อง 2 แสง
  • 2531: พ่อมหาจำเริญ
  • 2532: ดิฉันไร้เสน่หา
  • 2533: ฉลุยโครงการ 2 รับบท หมอต๊อง (รับเชิญ)
  • 2533: คนเลี้ยงช้าง รับบท จำรัส คนขายไอศครีม
  • 2533: เพชรพระอุมา รับบท มือปืนโจรป่า
  • 2533: คุกมหาสนุก
  • 2533: โหดเนื้อหิน รับบท กำนันเชือด
  • 2533: ชะตาคน
  • 2533: หนุก รับบท พ่อของแว่น
  • 2534: นัดกับผีตอน 4 ทุ่ม
  • 2534: คุณมืดกับคุณระมัด
  • 2535: ป้อ สำหรับบางวัน
  • 2536: ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ รับบท ดี๋
  • 2537: มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก
  • 2538: คู่กรรม รับบท ตาผล
  • 2539: เด็กระเบิดยืดแล้วยึด รับบท ผสม
  • 2544: โรงแรมผี รับบท มหาแม่น
  • 2545: 7 ประจัญบาน รับบท จ่าแสง​
  • 2545: ผีหัวขาด รับบท เจ้าของบ่อน​
  • 2546: คนปีมะ รับบท สารวัตร​
  • 2546: ดึก ดำ ดึ๋ย รับบท นายอำเภอ​
  • 2546: ปล้นก็ปล้นวะ​
  • 2547: ฟอร์มาลินแมน รักเธอเท่าฟ้า รับบท นายหัวกวง
  • 2547: คนเล่นผี รับบท อาจารย์โกง
  • 2549: บุปผาราตรี เฟส 2 รับบท ดี๋​
  • 2550: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา รับบท เศรษฐี​
  • 2550: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ รับบท เศรษฐี​

ละครโทรทัศน์

[แก้]
  • 2524: จิตแพทย์หมายเลข 7 ช่อง 7
  • 2530: ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง 3
  • 2530: ดาวเรือง ช่อง 3
  • 2530: หนุ่มทิพย์ ช่อง 7
  • 2533: แม่นาคพระโขนง ช่อง 3
  • 2533: มัจจุราชฮอลิเดย์ ช่อง 3
  • 2533: กตัญญูประกาศิต ช่อง 3
  • 2533-2534: ล่องเรือหารัก ช่อง 3
  • 2534: เขาวานให้หนูเป็นสายลับ ช่อง 3
  • 2534: บ้านสาวโสด ช่อง 3
  • 2534: จ่ากองร้อย ช่อง 3
  • 2534: วนิดา ช่อง 3 (รับเชิญ)
  • 2534-2535: เขยล้นเข่ง ช่อง 3
  • 2535: โทน ช่อง 3
  • 2535: สี่แยกนี้อายุน้อย ช่อง 3
  • 2535: ทางโค้ง ช่อง 3
  • 2535: บ้านเล็ก ช่อง 3
  • 2536: นายทองย้อย ช่อง 3
  • 2536: อีเปรี้ยวตลาดแตก ช่อง 9
  • 2536: ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก ช่อง 3
  • 2537: แม่นาคพระโขนง ช่อง 5
  • 2537: วิมานมะพร้าว ช่อง 7 (รับเชิญ)
  • 2537: ระเริงชล ช่อง 3
  • 2537: ซุปเปอร์ปั๊ม ช่อง 3
  • 2537: สนทนาประสาจน ช่อง 5
  • 2538: ขบวนการญาติเยอะ ช่อง 3
  • 2538: วิมานลวง ช่อง 5
  • 2538: ขอโทษที ไม่มีเวลาโง่ ช่อง 7
  • 2539: ดาวเรือง ช่อง 3
  • 2539: ระเบิดเถิดเทิง ยุควาไรตี้โชว์ ช่อง 5
  • 2540: กระท่อมไม้ไผ่ ช่อง 7
  • 2540: นางเอก ช่อง 5
  • 2541: ม่วยจ๋า ช่อง 7
  • 2541: กัลปังหา ช่อง 3
  • 2541: สะพานรักสารสิน ช่อง 3
  • 2542: เงาอโศก ช่อง 7
  • 2542: 4 ผู้ยุ่งเหยิง ช่อง 7
  • 2542: มะปรางข้างรั้ว ช่อง 7
  • 2542: กิจกรรมชายโสด ช่อง 7
  • 2542: พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง ช่อง 5
  • 2543: เทพบุตรสลัม ช่อง 7
  • 2545: รวมพลคนใช้ ช่อง 3
  • 2545: จารชนยอดรัก ช่อง 7 (รับเชิญ)
  • 2545: ระเบิดเถิดเทิง ตอน หงส์ท้อง ช่อง 7 (รับเชิญ)
  • 2545: สุสานคนเป็น ช่อง 7
  • 2546: นางโชว์ ช่อง 3
  • 2546: น.ส.สัปเหร่อ ช่อง 3
  • 2546: บ้านนี้ผีไม่ปอบ ช่อง 3
  • 2546: เจ้านายวัยกระเตาะ ช่อง 3 (รับเชิญ)
  • 2549: ผู้พิทักษ์รักเธอ ช่อง 5
  • 2549: ระเบิดเถิดเทิง ตอน มาตามสัญญา ช่อง 9 (รับเชิญ)

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต ร่วมน้ำใจอาลัยจุ๋มจิ๋ม (30 ตุลาคม 2536)

เพลง

[แก้]
  • 2522: ตลาดหัวเราะ หัวเราะลูกเดียว คณะเด๋อ ดู๋ ดี๋ 1-4

โฆษณา

[แก้]
  • 2527: ครีมขัดรถ ดิงโก้

มิวสิควีดีโอ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตลกชื่อดัง"ดี๋ ดอกมะดัน"เสียชีวิตแล้ว, จากเว็บไซต์ คมชัดลึก, สืบค้นวันที่ 2 ก.ค. 2552
  2. ชีวประวัติ ดี๋ ดอกมะดัน
  3. ตลก'ดี๋'สิ้นลมสงบเมียร่ำไห้ดูใจไม่ทัน
  4. เรื่องจริงหลังเวทีกู้ชาติ กับ "ดี๋ ดอกมะดัน"[ลิงก์เสีย]
  5. เรื่องจริงหลังเวทีกู้ชาติ กับ "ดี๋ ดอกมะดัน"[ลิงก์เสีย] จากผู้จัดการออนไลน์
  6. นิตยสาร Her World 72 (วางแผง 4 ก.พ.) เดือนกุมภาพันธ์[ลิงก์เสีย]
  7. "ด่วน!! "ดี๋ ดอกมะดัน" สิ้นลมอย่างสงบแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ดี๋ ดอกมะดัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?