For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สารเสพติด.

สารเสพติด

สารเสพติด หรือ ยาเสพติด หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ๆ ที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

ประวัติ

[แก้]

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และทำลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เคียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาบิทเชอริท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ. 1955 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1960-1970 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน

ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ. 1970 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmanเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ. 1953 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการคล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในอเมริกา

การเข้ามาภายในประเทศไทย

[แก้]

เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษ ระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองอเมริกา ค.ศ. 1861-1865 เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน[ต้องการอ้างอิง]

ภาวะการเสพติด

[แก้]

ภาวะการเสพติด (addiction) [1] คือ อาการผิดปกติอันเนื่องมาจากการทำงานบกพร่องของเซลล์ในสมองที่ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ โดยภาวะการเสพติดสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคนในทุกช่วงวัยเกือบร้อยละ 60 ของผู้ประสบภาวะการเสพติดมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติส่วนในรายอื่น ๆ อาจเกิดจากการที่สมองในส่วนที่ทำหน้าที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจได้รับการกระตุ้นอย่างรุนแรงจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด สารเสพติด หรือการเสพติดพฤติกรรมเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยผู้ตกอยู่ในภาวะการเสพติดจะไม่สามารถมีความสุขได้จากการใช้ชีวิตแบบปกติ ซึ่งภาวะนี้คือสาเหตุที่ผู้ติดสารเสพติด หรือผู้ติดสุราไม่สามารถควบคุมการเสพหรือการดื่มได้จนมีอาการเสพติดเรื้อรัง

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ

[แก้]

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดความหมายของคำว่า ยาเสพติดให้โทษ ไว้ดังนี้ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี รับประทาน ดม สูบ หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น

  1. ผู้ที่เสพยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพติดมากขึ้นเป็นลำดับ
  2. ผู้ที่เสพยา จะเกิดอาการถอนยา เมื่อหยุดใช้ยา หรือขาดยา
  3. ผู้ที่เสพยา จะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  4. ผู้ที่เสพยา จะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
  5. หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยาเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 ประการคือ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยาหรือสารนั้นมาไว้ แม้เป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่นลักขโมยก็จะทำ
  6. ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้เนื่องจากมีอาการพิษหรืออาการขาดยาหรือสารนั้น
  7. พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น หยุดงานบ่อย หรือไม่เอาใจใส่ครอบครัว
  8. ผู้ป่วยต้องเสพยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (มี Tolerance)
  9. เมื่อหยุดเสพหรือลดปริมาณการเสพลงมา จะเกิดอาการขาดยาหรือสารนั้น (Withdrawal Symptom)

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สารเสพติด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?