For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สิบล้อ (วงดนตรี).

สิบล้อ (วงดนตรี)

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
สิบล้อ
ที่เกิดกรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, คันทรี
ช่วงปีพ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
มอร์ มิวสิก
วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
สมาชิกจุลจักร จักรพงษ์ (ฮิวโก้) : ร้องนำ, กีตาร์
พลกฤษณ์ วิริยานุภาพ (เอ) : กีตาร์
อาวุธ นุชนิล (เอ็ด) : ร้องนำ, เบส
สุทธิพงษ์ แจ่มจำรัส (ใหม่) : กีตาร์
พรนิรันดร์ ปานศิลา (โด้) : กลอง
อดีตสมาชิกทองปอนด์ ระเบียบโอษฐ์ (ปอนด์) : เบส

สิบล้อ เป็นวงดนตรีแนวร็อก และคันทรี สัญชาติไทย ที่ได้เริ่มมีผลงานเมื่อปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน คือ เล็ก - จุลจักร จักรพงษ์, เอ - พลกฤษณ์ วิริยานุภาพ, เอ็ด - อาวุธ นุชนิล, ใหม่ - สุทธิพงศ์ แจ่มจำรัส และ โด้ - พรนิรันดร์ ปานศิลา

ผลงาน

[แก้]

ชุดแรก: สิบล้อ

[แก้]

หลังรวมวงกันไม่นาน สิบล้อก็เข้าห้องอัดเสียงทำงานเพลงอัลบั้มแรกของตัวเองด้วยอัลบั้มชื่อเดียวกับวง เป็นงานเปิดตัวของวงในปี พ.ศ. 2544 เป็นงานที่เล่นดนตรีกันแบบ 3 ชิ้น กีตาร์-เบส-กลอง มีเอ - พลกฤษณ์ วิริยานุภาพ มือกีตาร์วงพอสเป็นโปรดิวเซอร์ให้ (ซึ่งต่อมาในภายหลัง เอก็กลายมาเป็นมือกีตาร์ของวงสิบล้อเต็มตัว) งานชุดนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จุลจักรให้สัมภาษณ์ว่า อัลบั้มชุดแรกถูกต่อต้านมาก[1]

ชุดที่สอง: มนต์รักสิบล้อ

[แก้]

จากการออกทัวร์คอนเสิร์ต และซ้อมดนตรีอย่างหนักหน่วงมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี "มนต์รักสิบล้อ" อัลบั้มชุดที่ 2 ของวงสิบล้อก็ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2546 กับสังกัด มอร์ มิวสิก ที่มีป้อม - อัสนี โชติกุล เป็นผู้ดูแล และได้ เทียรี่ เมฆวัฒนา เป็นโปรดิวเซอร์ โดยเล็กได้มีโอกาสแสดงให้เห็นประสบการณ์ในการทำงานที่มากขึ้น ด้วยการร่วมแต่งทำนอง และเนื้อร้อง ตลอดจนเรียบเรียงเพลงในหลาย ๆ เพลงด้วย ขณะที่สมาชิกทั้งหมดของวงก็ได้ร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ของอัลบั้ม

มนต์รักสิบล้อ เน้นการเล่นสดโดยไม่ใช้เสียงสังเคราะห์ เพื่อให้เสียงดนตรีที่ได้ยินสามารถสัมผัสถึงอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ เนื้อหาเน้นภาษาที่ตรงไปตรงมา เรื่องราวมีที่มาจากเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคม และรอบ ๆ ตัวของพวกเขา นอกจากจะแสดงให้เห็นพัฒนาการที่ผ่านการบ่มเพาะด้วยประสบการณ์ของสิบล้อ อัลบั้ม มนต์รักสิบล้อ ยังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดชุดหนึ่งของพวกเขา

ชุดที่สาม: เสียงเพลงสิบล้อ

[แก้]

ด้วยความสำเร็จของอัลบั้มมนต์รักสิบล้อ งานชุดที่ 3 ของวงจึงใช้เวลาในการทำงานที่สั้นกว่าอัลบั้มที่ผ่าน ๆ มา "เสียงเพลงสิบล้อ" และออกวางตลาดในปีถัดมา โดยเทียรี่เป็นโปรดิวเซอร์เช่นเคย และมีเพลงที่ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) แต่งให้กับพวกเขาด้วยอีกหนึ่งเพลง

ในงานชุดนี้สิบล้อ ได้เปิดโอกาสให้แฟนเพลงได้เห็นอีกมุมหนึ่งของพวกเขา นั่นก็คือด้านที่โรแมนติก ด้านที่เกี่ยวกับความรัก ขณะที่ในเรื่องของการบันทึกเสียง สิบล้อได้แสดงให้เห็นถึงความหลงใหลในเสน่ห์ของดนตรียุค 70 อย่างชัดเจน เมื่อเลือกที่จะไม่อัดเสียงด้วยระบบดิจิทัล แต่กลับใช้การบันทึกเสียงเป็นเทปแอนะล็อกแทน เพื่อที่เส้นเสียงของเพลงจะฟังดูสด และมีความเป็นธรรมชาติมากกว่างานที่อัดในระบบดิจิตอล

ชุดที่สี่: เงิน ๆ ทอง ๆ

[แก้]

“เงิน ๆ ทอง ๆ” อัลบั้มที่สิบล้อ เริ่มต้นการทำงานมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2548 เป็นอัลบั้มชุดแรกที่ออกกับวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ โดยในอัลบั้มชุดนี้นอกจากจะเปลี่ยนสังกัด ยังมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของวงด้วย เมื่อปอนด์ มือเบสรุ่นก่อตั้งตัดสินใจลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ทางวงจึงชวน อาวุธ นุชนิล หรือ เอ๊ด เข้ามารับหน้าที่แทน ซึ่งเอ๊ดเคยร้องประสานให้กับสิบล้อมาแล้วใน 2 อัลบั้มก่อนหน้านี้ และยังเคยเป็นนักร้องนำของวงฟลายมาก่อน ทำให้สิบล้อมีความหลากหลายในเรื่องของเสียงร้องมากขึ้น โดยในอัลบั้ม เงิน ๆ ทอง ๆ เอ๊ดก็ได้ร้องเพลงเปิดตัวด้วย 1 เพลง คือ "ขอรักอีกครั้ง"

สำหรับโปรดิวเซอร์ของอัลบั้ม เงิน ๆ ทอง ๆ ได้แก่ เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว คาราบาว) ที่ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการบันทึกเสียงให้กับวง เนื่องด้วยเทียรี่ เมฆวัฒนา ติดการทำงานส่วนตัว แต่ก็ปลีกเวลามาให้คำปรึกษาในการทำงานกับทางวงอยู่เรื่อย ๆ และยังร่วมเล่นกีตาร์โปร่งในเพลงขอรักอีกครั้ง

แยกวง

[แก้]

หลังจากที่จุลจักรแต่งเพลงในอัลบั้ม "ซับน้ำตาอันดามัน" แอ๊ด คาราบาว ซึ่งเป็นเพลงภาษาอังกฤษ ภายหลังอะแมนดา โกสต์ ซึ่งเป็นนักแต่งเพลง ได้ฟังเพลงนี้ จึงติดต่อขอให้ทำเดโม พอได้ทำเดโมก็ได้สัญญากับไอแลนด์เรเคิดส์ ได้ทำอัลบั้ม แล้วในที่สุดก็โดนปลดจากสัญญาจากค่ายเดิม[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ย้อนรำลึกช่วงเวลาผจญภัยกับวง "สิบล้อ" ก้าวแรกบนเส้นทางสายดนตรีของ "ฮิวโก้"". มติชนสุดสัปดาห์.
  2. "เส้นทาง"หลังยุคสิบล้อ"ของ "ฮิวโก้" – "โกอินเตอร์" ก่อนหวนคืนวงการเพลงไทย ไขที่มา ทำไม "ดำสนิท" น่ากลัวน้อยกว่า "ขาวสว่าง"". มติชนสุดสัปดาห์.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สิบล้อ (วงดนตรี)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?