For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จักรพรรดิหย่งเล่อ.

จักรพรรดิหย่งเล่อ

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
จักรพรรดิหย่งเล่อ
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์หมิง พระองค์ที่ 3
ครองราชย์17 กรกฎาคม ค.ศ. 1402 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1424
ก่อนหน้าจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
ถัดไปจักรพรรดิหงซี
จักรพรรดิเวียดนาม
ครองราชย์12 พฤษภาคม ค.ศ. 1407 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1424
ก่อนหน้าHồ Hán Thương
ถัดไปจักรพรรดิหงซี
ประสูติ2 พฤษภาคม ค.ศ. 1360(1360-05-02)
สวรรคต12 สิงหาคม ค.ศ. 1424(1424-08-12) (64 ปี)
ฝังพระศพMing Dynasty Tombs, Beijing
จักรพรรดินีจักรพรรดินีรันเซี่ยวเหวิน
พระราชบุตรZhu Gaochi
Zhu Gaoxu, Prince of Han
Zhu Gaosui, Prince Jian of Zhao
Zhu Gaoxi
พระนามเต็ม
Family name: Zhu (朱)
Given name: Di (棣)
รัชศก
หย่งเล่อ (永樂) 23 January 1403 – 19 January 1425
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ Qitian Hongdao Gaoming Zhaoyun Shengwu Shengong Chunren Zhixiao Wen
啓天弘道高明肇運聖武神功純仁至孝文皇帝
พระอารามนาม
หมิง Chéngzǔ
明成祖
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาจักรพรรดิหงอู่
พระราชมารดาจักรพรรดินีเสี่ยวฉีเกา
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญ
สมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ
ภาพวาดขณะหย่งเล่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเหล่าขันทีขณะกำลังเล่นคูจู่หรือตะกร้อ โบราณของจีน

สมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (จีนตัวย่อ: 永乐; จีนตัวเต็ม: 永樂; พินอิน: Yǒnglè; เวด-ไจลส์: Yung-lo, 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1360 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1424) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1402 ถึง ค.ศ. 1424

เจ้าชายจูตี้เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ของจักรพรรดิหงอู่ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง เดิมทีพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นเหยียนหวังในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1370[1] โดยมีเมืองหลวงของดินแดนอยู่ที่เป่ยผิง (ปักกิ่งในปัจจุบัน) เจ้าชายจูตี้เป็นผู้บัญชาการที่มีพระปรีชาสามารถในการต่อสู้กับพวกมองโกล

ประวัติ

[แก้]

เจ้าชายจูตี้เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจูหยวนจาง ก่อนจูตี้ประสูติ 8 ปี (ใน ค.ศ. 1352) เกิดน้ำท่วมหลายแห่งในจีน ทำให้ทั่วอาณาจักรได้รับความเดือดร้อน เกิดกลุ่มกบฏขึ้นมากมาย จูหยวนจางเข้าร่วมกับกบฏเพราะได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน จูหยวนจางได้ขึ้นเป็นผู้นำอย่างรวดเร็ว ปี ค.ศ. 1356 กองทัพของจูหยวนจางเข้ายึด นานกิง อันเป็นการตัดเสบียงเมืองต้าตู (ปักกิ่ง) เมื่อจูตี้มีพระชนมายุได้ 8 ชันษากองทัพของพระบิดาก็เข้าสู่เมืองต้าตู โตกัน เตมูร์ จักรพรรดิมองโกลองค์สุดท้ายเสด็จหนีออกจากจีน ไปยังทุ่งหญ้าทางเหนือ จูหยวนจางสถาปนาราชวงศ์หมิง ต่อมาจูตี้ได้เข้าร่วมกองทัพปราบยูนนาน ในปี ค.ศ. 1382 พระองค์ได้รับคำสั่งให้ทำลายเมืองคุนหมิงที่มั่นที่ยังเหลือของมองโกล เด็กชายมองโกลนับพันถูกตอนเป็นขันทีในราชสำนัก

หลังจากที่เจ้าชายจูตี้ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงแล้ว พระองค์ก็ได้เฉลิมพระนามว่าหมิงเฉิงจู่ (成 祖) ใช้ศักราชว่า หย่งเล่อ (永 乐) พระองค์ทรงมีราชโองการให้ประหารขุนนาง เนื่องจากทรงระแวงว่าขุนนางเหล่านั้นจงรักภักดีต่อพระนัดดาของพระองค์ซึ่งมีจำนวนกว่า 870 คน นอกจากนี้ยังดำเนินนโยบายลดทอนอำนาจเจ้าองค์อื่น ๆ อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามมีกองทหารประจำเมืองให้มีได้แต่ทหารรักษาพระองค์จำนวนหนึ่ง ห้ามเจ้าแต่ละเมืองติดต่อกันเองโดยไม่ได้รับพระราชานุญาต ภารกิจแรกที่พระองค์ทำคือดำริย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เป่ยผิงอันเป็นฐานที่มั่นของพระองค์ด้วยเหตุผลว่าป้องการรุกรานของชนกลุ่มน้อยทางเหนือ พ.ศ. 1947 (ค.ศ. 1404) มีราชโองการให้อพยพคนมากมายหลายแสนคนจาก เมืองนานกิง มณฑลซานซี และมณฑลเจ้อเจียง แบ่งเป็น 5 สายเข้ามายังปักกิ่ง พร้อมกับเป็นการหาแรงงานเพื่อสร้างพระราชวังที่ประทับของจักรพรรดิในเมืองหลวง ซึ่งก็คือ "พระราชวังต้องห้าม"

ในการนี้ต้องเกณฑ์คนหนึ่งแสนพร้อมกับช่างฝีมืออีกหลายพันคน การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามนี้กินระยะเวลานานถึง 15 ปี พระองค์ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามแห่งนี้เป็นอย่างมากโดยในปี พ.ศ. 1949 (ค.ศ. 1406) ได้เสด็จมาตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 1956 (ค.ศ. 1413) พระองค์จึงทรงย้ายจากกรุงนานกิงมาประทับที่กรุงปักกิ่ง เป็นการถาวร แต่ดูเหมือนสวรรค์จะไม่ยินดีกับพระราชวังแห่งนี้เท่าใดนัก เพราะเพียงไม่กี่เดือนหลังเฉลิมพระมณเฑียรก็มีฟ้าผ่าลงพระที่นั่งและเกิดเพลิงไหม้อาคารต่างๆ หลายหลัง ซ้ำยังเกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 1959 (ค.ศ. 1416) จนต้องซ่อมแซมกว่าจะสำเร็จก็นานถึง 4 ปี แต่พระองค์กลับมีโอกาสได้ประทับอยู่ในพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ไม่เกิน 4 ปี เพราะต้องนำทัพออกไปรบกับพวกมองโกลถึง 4 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 1953 1965 1966 และ 1967

ในปี พ.ศ. 1946 (ค.ศ. 1403) พระองค์มีราชโองการโปรดให้ราชบัณฑิตกว่าสองพันคน พร้อมด้วยผู้อำนวยการใหญ่ 5 คน รองผู้อำนวยการอีก 20 คน จัดทำ “หย่งเล่อต้าเตี่ยน” สารานุกรมรวบรวมความรู้ทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ทั้งหมด ใช้เวลาจัดทำ 4 ปี เป็นหนังสือกว่า 22,937 บรรพ มหาสารานุกรมชุดนี้มีต้นฉบับ 1 ชุดและสำเนาอีก 2 ชุดเก็บรักษาไว้แต่หายสาบสูญไปจนปัจจุบันเหลือเพียง 370 บรรพ

พระราชภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือโปรดให้จัดสร้างกองเรือ “เป่าฉวน” ที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนั้นมีทั้งสิ้น 62 ลำ ลำที่ยาวที่สุดวัดได้ 140 เมตร กว้าง 60 เมตร แต่ละลำประกอบด้วย ทหาร นายแพทย์ ล่าม นายกองเรือคือ เจิ้งเหอ (郑 和) ขันทีคนสนิทของพระองค์ที่เดินทางออกทะเลล่องไปทั่วโลก 7 ครั้งในรอบ 28 ปี ไปไกลถึง อินเดีย แอฟริกา นำสินค้าไปแลกเปลี่ยนกับชาติต่าง ๆ รวมทั้งเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาตรงกับรัชกาลของสมเด็จเจ้านครอินทร์ และนำของหายากกลับมาถวายองค์จักรพรรดิ เจิ้งเหอนำกองทัพเรือจีนออกทะเลครั้งแรกเมื่อศักราชหหย่งเล่อปีที่ 3 เดือน 7 ตรงกับ พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) โดยออกเดินทางจากท่าเรือหลิวเจียก่าง มณฑลซูโจว หมิงเฉิงจู่สวรรคตขณะยกทัพกลับจากไปรบพวกมงโกลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 1967 (ค.ศ. 1424) พระศพถูกเชิญไปบรรจุที่สุสาน ฉานหลิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chan Hok-lam. "Legitimating Usurpation: Historical Revisions under the Ming Yongle Emperor (r. 1402–1424)". The Legitimation of New Orders: Case Studies in World History. Chinese University Press, 2007. ISBN 9789629962395. Accessed 12 October 2012.
ก่อนหน้า จักรพรรดิหย่งเล่อ ถัดไป
จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1948 - พ.ศ. 1967)
จักรพรรดิหงซี|}
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จักรพรรดิหย่งเล่อ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?