For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระอารามนาม (ประเทศจีน).

พระอารามนาม (ประเทศจีน)

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด

พระอารามนาม หรือ เมี่ยวเฮ่า (จีน: 庙号; พินอิน: Miàohào)

"พระอารามนาม" หมายถึง พระปรมาภิไธยที่จารึกไว้บนป้ายดวงพระวิญญาณบนแท่นบูชาใน ศาลบรรพชน หรือ พระวิหารประจำตระกูล เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งพระอารามนามเป็นพระนามแต่งตั้ง ที่จะมอบให้ภายหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นั้นสวรรคตแล้ว เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู ต้นกำเนิดของธรรมเนียมนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ซาง ถูกยกเลิกในสมัยราชวงศ์โจวเพราะมีการใช้พระสมัญญานามแทน แล้วกลับมาใช้ใหม่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น หรือบางแห่งว่าเกิดขึ้นหลังมีการใช้พระสมัญญานามราว 800 ปี คือเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น แต่เป็นการใช้แบบประปรายสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิบางพระองค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมนี้ได้รับการปฏิบัติต่อมาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา จึงเป็นเหตุให้นักประวัติศาสตร์นิยมใช้ พระอารามนาม เมื่อกล่าวอ้างถึงจักรพรรดิในราชวงศ์นี้จวบจนถึงจักรพรรดิในราชวงศ์หมิง[1]

แม้ว่า พระอารามนาม จะมีส่วนคล้าย พระสมัญญานาม ตรงที่เป็นพระนามที่ตั้งให้สมเด็จพระจักรพรรดิที่เสด็จสรรคตไปแล้ว แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่ พระอารามนาม มีความหมายไปในทางยกย่องเชิดชูเป็นหลัก มีกฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อรัดกุม และประกอบด้วยคำเพียง 2 คำเท่านั้น คำแรกเป็นคำคุณศัพท์ที่สะท้อนพระปรีชาสามารถของจักรพรรดิ ซึ่งโดยมากคำคุณศัพท์นี้จะไม่ซ้ำกับคำที่ใช้ใน พระสมัญญานาม และหากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นั้นเป็นต้นวงศ์มักจะใช้คำว่า “เกา” (高) แปลว่า สูง หรือ “ไท่” (太) แปลว่า ยิ่งใหญ่ ส่วนคำที่ 2 นั้นจะใช้คำว่า “จู่” (祖) หรือ “จง” (宗) คำใดคำหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทั้งคู่มีความหมายว่า บรรพชน และหากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นั้นเป็นต้นวงศ์-ไม่ว่าจะเป็นต้นสกุล ผู้สถาปนาราชวงศ์ใหม่ หรือต้นสายใหม่ในราชวงศ์เดิม-จะใช้คำว่า “จู่” และหากเป็นจักรพรรดิในลำดับถัดมาจะใช้คำว่า “จง”[2]

พระอารามนามตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีน

[แก้]
  • ไท่จู่ (จีน: 太祖; พินอิน: Tài zǔ) ความหมาย ปฐมบรมบรรพชนผู้ยิ่งใหญ่สมควรทูลไว้เหนือเกล้า

สำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ เช่น ฮั่นไท่จู่ ถังไท่จู่ ซ่งไท่จู่ หมิงไท่จู่ ชิงไท่จู่

  • เล่ยจู่ (จีน: 烈祖; พินอิน: Liè zǔ) ความหมาย บรรพชนผู้หาญกล้าเกรียงไกร

สำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ เช่น หลิว เป้ย์ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์จี้ฮั่น

  • เกาจู่ (จีน: 高祖; พินอิน: Gāozǔ) มีความหมายว่า มหาบรรพชน หรือ บรรพชนผู้ยิ่งใหญ่

สำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร ช่วงนี้เป็นช่วงที่ พระอารามนามเกาจู่ มีความเฟื่องฟูใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น หลิว เก่า จักรพรรดิเกาจู่แห่งฮั่นยุคหลัง

  • เชิ่งจู่ (จีน: 圣祖; พินอิน: Shèng zǔ) มีความหมายว่า บรรพชนผู้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ บรรพชนผู้เป็นที่เคารพสักการะ
  • ไท่จง (จีน: 太宗; พินอิน: Tàizōng) มีความหมายว่า อัครบรรพชนผู้สูงส่งยิ่ง

โดยปกติส่วนมากสมเด็จพระจักรพรรดิที่ครองราชย์ต่อเป็นพระองค์ที่สองจะทรงใช้พระอารามนามว่า ไท่จง เช่น ถังไท่จง ซ่งไท่จง ชิงไท่จง และสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อเองก็เคยได้รับพระอารามนามนี้ ก่อนที่จะทรงถูกเปลี่ยนพระอารามนามใหม่ในรัชสมัยต่อมา[3]。唐朝亦称开国皇帝为“艺祖”,比如唐玄宗幸北京太原,作《起义堂颂》,曰“实惟艺祖储福之所致”,这里的“艺祖”是指唐高祖。金世宗《封混同江神册》亦曰“仰艺祖之开基”,这里的“艺祖”是指金太祖。[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 宗廟制度可散見於歷代史書或禮書,如《漢書·韋玄成傳》、《新唐書·儒學傳下》、《禮記·祭法第二十三》、《西漢會要·卷十三廟議》、唐杜佑《通典·禮典四十七》等
  2. "衛莊公禱". 中國哲學書電子化計劃. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  3. 《日知录》卷二○帝王名号:《颂》曰武汤、曰成汤、曰汤孙也。曰文祖,曰艺祖,曰神宗,曰皇祖,曰烈祖,曰高祖,曰高后,曰中宗,曰高宗,而庙号起矣。
  4. 《日知录》卷二十四○艺祖:《书》:“归格于艺祖。”长。注以艺祖为文祖,不详其义。人知宋人称太祖为艺祖,不知前代亦皆称其太祖为艺祖。唐玄宗开元十一年,幸并州,作《起义堂颂》曰:东西南北,无思不服;山川鬼神,亦莫不宁,实惟艺祖储福之所致。十三年,封泰山。其序曰:惟我艺祖文考精爽在天。此谓唐高祖。张说作《享太庙乐章》曰:肃肃艺祖,滔滔浚源。有雄武剑,作镇金门。玄王贻绪,後稷谋孙。此谓高祖之高祖讳熙,追尊宣皇帝者也。後汉高祖乾祐元年,改元制祠:昔我艺祖神宗开基抚运,以武功平祸乱,以文德致升平。此谓前汉高祖。金世宗大定二十五年,《封混同江神册文》曰:仰艺祖之开基,佳江神之效灵。此谓金太祖。然则是历代大祖之通称也。

ระบบวัดบรรพบุรุษพบกระจัดกระจายอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์หรือหนังสือพิธีกรรมของราชวงศ์ในอดีต เช่น "หนังสือของราชวงศ์ฮั่น : ชีวประวัติของ เว่ยซวนเฉิง ", "หนังสือเล่มใหม่ของถัง : ชีวประวัติของลัทธิขงจื๊อ", " หนังสือพิธีกรรม : การเสียสละ กฎหมายหมายเลข 23", " Huiyao แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เล่ม 10" "สามวัด", " Tongdian ·พิธีกรรมสี่สิบเจ็ด"ของ Tang Duyou

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระอารามนาม (ประเทศจีน)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?