For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กลุ่มอาการเรย์โนด์.

กลุ่มอาการเรย์โนด์

กลุ่มอาการเรย์โนด์
ชื่ออื่นRaynaud's, Raynaud's disease, Raynaud's phenomenon, Raynaud's syndrome[1]
มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์โน
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยารูมาตอยด์
อาการตรงที่เกิดอาการกลายเป็นสีขาว, จากนั้นน้ำเงิน, จากนั้นแดง, อาการแสบไหม้[2]
ภาวะแทรกซ้อนปวดผิวหนัง, เนื้อตายเน่า[2]
การตั้งต้น15–30 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง[3][4]
ระยะดำเนินโรคเป็นได้ครั้งละหลายชั่วโมง[2]
ปัจจัยเสี่ยงความหนาวเย็น, ความเครียดทางจิตใจ[2]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันคอซัลเกีย, เอริโธรเมลัลเกีย[5]
การรักษาหลีกเลี่ยงความเย็น, ยายับยั้งแคลเซียมชานเนิล, อิโลปรอสต์[3]
ความชุก4% ของประชากร[3]

กลุ่มอาการเรย์โนด์[6] (หรือ "เรย์โน" ตามการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส; อังกฤษ: Raynaud syndrome) หรือปรากฏการณ์เรย์โนด์ (อังกฤษ: Raynaud's phenomenon) เป็นอาการทางการแพทย์ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส ออกุสต์ กาเบรียล มอริซ เรย์โน ผู้อธิบายอาการนี้ครั้งแรกในวิทยานิพนธ์ของเขาในปี 1862 อาการเรย์โนเกิดจากการหดเกร็งของหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้เกิดชุด (episodes) ของการไหลเวียนเลือดที่ลดลงในหลอดเลือดฝอยตอนปลาย[1] โดยทั่วไปมักปรากฏอาการนี้นิ้วมือ และบ้างที่นิ้วเท้า[1] และพบได้น้อยในจมูก, หู และริมฝีปาก[1] ช่วงเหล่านี้ส่งผลให้ผิวหนังเกิดกลายเป็นสีขาว จากนั้นจึงเป็นสีน้ำเงิน[2] บ่อยครั้งอาจมีอาการชา หรือเจ็บปวด[2] และทันใดที่การไหลเวียนเลือดกลับคืนมา บริเวณผิวหนังตรงนั้นจะกลายเป็นสีแดงและมีอาการแสบไหม้[2] โดยทั่วไปเกิดขึ้นครั้งละหลายนาที แต่บางกรณีอาจเกิดเป็นชั่วโมง[2]

ตัวกระตุ้นโดยทั่วไปคือความหนาวเย็นและภาวะเครียดทางอารมณ์[2] อาการเรย์โนยังแบ่งออกเป็นเรย์โนปฐมภูมิ (Primary Raynaud's) หรือไอดิโอพาติก ซึ่งเกิดจากอาการหรือสาเหตุที่ไม่ทราบ ส่วนเรย์โนทุติยภูมิ (Secondary Raynaud's) เกิดจากอาการอื่น มีวัยเกิดโรคที่แก่กว่า และมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงกว่ามาก รวมถึงอาจปรากฏแบบอสมมาตรและเกี่ยวกับบาดแผลบนผิวหนัง[3] เรย์โนทุติยภูมิอาจเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อคอนเนคทีฟ เช่น สเคลอโรเดอร์มา และ ลูปัส, อาการบาดเจ็บที่มือ, การสั่นไหวเป็นเวลาต่อเนื่อวยาวนาน, การสูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ และยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด[7] โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะดำเนินไปตามอาการ[3]

การรักษาขั้นต้นคือการป้องกันไม่ให้ตรงที่เกิดอาการถูกความหนาวเย็น[3] ส่วนการควบคุมอื่น ๆ อาจมีการสั่งห้ามใช้นิโคตินหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ[3] บางกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียมชานเนิล และ อิโลปรอสต์[3] ในกรณีที่ร้ายแรงมากบางกรณีอาจพบการเจ็บปวดของผิวหนัง หรือ การตายเน่าของเนื้อเยื่อ ซึ่งพบได้ยากมาก[2]

มีผู้ป่วยด้วยอาการนี้ราว 4% ของประชากร[3] เวลาเกิดโรคอยู่ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ปี และพบมากกว่าในผู้หญิง[3][4] ส่วนเรย์โนแบบทุติยภูมิมีกพบในผู้สูงอายุมากกว่า[4] ทั้งสองแบบของเรย์โนพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "What Is Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "What Are the Signs and Symptoms of Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Wigley, FM; Flavahan, NA (11 August 2016). "Raynaud's Phenomenon". The New England Journal of Medicine. 375 (6): 556–65. doi:10.1056/nejmra1507638. PMID 27509103.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Who Is at Risk for Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  5. Barker, Roger A. (2005). The A-Z of Neurological Practice: A Guide to Clinical Neurology (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 728. ISBN 9780521629607. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2017.
  6. ICD10 ฉบับภาษาไทย
  7. "What Causes Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กลุ่มอาการเรย์โนด์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?