For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู.

100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู

โครงการ 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู เป็นโครงการจัดตั้งโดย หอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ดูแล้วเกิดปัญญาดังบาลีภาษิต ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คือ การเห็นเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ดูดี ๆ มีปัญญา ดูด้วยปัญญาพาให้เห็นแจ้ง[1]

โครงการจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ จัดฉายภาพยนตร์ทุกค่ำวันศุกร์ ที่ห้องประชุม สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี และบ่าย 3 โมงวันเสาร์ที่ โรงหนังอลังการ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา ถนนพุทธมณฑลสาย 5 เรียกชื่อว่า "ภาพยนตร์ปุจฉา-วิสัชนา" ซึ่งเป็นรายการฉายหนังให้ดูแล้วฟังคิดถามตอบ โดยมีพิธีกรและวิทยากรผู้สันทัดกรณีมาร่วมถามร่วมตอบอย่างที่เรียกว่า ปุจฉา - วิสัชนา โดยเริ่มจัดฉายตั้งแต่วันศุกร์แรกของ ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป[2]

กรอบคิด

[แก้]

ในบรรดาภาพยนตร์ที่เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติหรือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งของชาติ ซึ่งยังเหลืออยู่ให้เราได้ชื่นชมในปัจจุบัน คัดเลือกเป็นตัวอย่าง 100 เรื่อง จัดเป็นบัญชีภาพยนตร์ที่คนไทยควรดู เพื่อให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจสังคมไทย เข้าใจหนังไทย และชื่นชมหนังไทย ในรอบหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา[3]

โดยเป็น ผลงานที่สร้างโดยคนไทย, เป็นตัวอย่างหรือตัวแทนให้คนไทยได้เรียนรู้จักตัวเองรู้จักสังคมไทยทั้งในอดีตปัจจุบัน ทั้งดี และเลว ทั้งจริง และเท็จ, เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย และเพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมภาพยนตร์ไทย ทั้งที่เป็นมหรสพสินค้าขายความบันเทิง เป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็นงานศิลปะ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติ

ภาพยนตร์ข่าว ข่าวสาร และบันทึกเหตุการณ์

[แก้]
  • พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468 / ภาพยนตร์ของ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง)
  • การเล่นซนของเด็กสมัย ร.๗ (พ.ศ. 2473)
  • ชมสยาม (พ.ศ. 2473 / สร้างโดย กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง / ช่างถ่ายโดย หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต))
  • กิจการของกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พ.ศ. 2473 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
  • พระราชพิธีเฉลิมพระราชวงศ์จักรีและกรุงเทพพระมหานคร อันสถาปนามาครบ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. 2475 / ถ่ายทำโดย คณะพี่น้องสกุลวสุวัต)
  • งานแห่รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2476 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
  • ใจไทย (พ.ศ. 2483 / โดย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรมรถไฟหลวง)
  • วันคล้ายวันเกิด พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2484 / สันนิษฐานว่าเป็นภาพยนตร์ของกรมโฆษณาการ)
  • น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ (พ.ศ. 2485 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
  • รัฐประหาร (พ.ศ. 2490 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
  • เสด็จเยี่ยมราษฎรภาคใต้ (พ.ศ. 2502 / ภาพยนตร์พระราชกรณียกิจ สนับสนุนการถ่ายทำโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน)
  • การผลิตเฮโรอิน (ประมาณ พ.ศ. 2510 / ภาพยนตร์นิรนาม)
  • บันทึกเหตุการณ์เสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา (พ.ศ. 2513 / ภาพยนตร์เชิงข่าวฉวยโอกาส)
  • บันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (พ.ศ. 2519)
  • บันทึกเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)

ภาพยนตร์สารคดี

[แก้]
  • กรุงเทพเมืองหลวงของเรา (คาดว่าคือปี พ.ศ.2490-2499 / ภาพยนตร์ในยุคสงครามเย็น สนับสนุนการผลิตโดยสหรัฐอเมริกา)
  • ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้มป่วย และอสัญกรรม (พ.ศ. 2505 / ภาพยนตร์ข่าวยกย่อง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์)
  • เพลงเหย่อย (พ.ศ. 2507 / ผลิตโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย))
  • ไม้สัก (พ.ศ. 2505 / ผลิตโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย)
  • อนุทินวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (พ.ศ. 2517 / ภาพยนตร์โดย อาจารย์ชิน คล้ายปาน)
  • การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (พ.ศ. 2518 / สร้างโดย จอน อึ๊งภากรณ์)
  • ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (พ.ศ. 2519 / ผลิตโดย หน่วยงานของราชการ)
  • ภัยเขียว (GREEN MENACE : THE UNTOLD STORY OF GOLF) (พ.ศ. 2536 / สร้างโดย อิ๋ง กาญจนวณิชย์)

ภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์ทดลอง

[แก้]
  • แหวนวิเศษ (พ.ศ. 2472 / สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  • กระเทยเป็นเหตุ (พ.ศ. 2498 / สร้างโดย คณะพนักงานธนาคารมณฑล)
  • นิ้วเพชร (พ.ศ. 2501 / สร้างโดย กรมศิลปากร / ถ่ายทำโดย รัตน์ เปสตันยี)
  • แอก (คาดว่าคือปี พ.ศ. 2510-2519 / สร้างโดย นักศึกษาวิชาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
  • ! (อัศเจรีย์) (พ.ศ. 2520 / สร้างโดย สุรพงษ์ พินิจค้า)
  • ภาณายักษา (พ.ศ. 2535 / สร้างโดย เกษมสันต์ พรหมสุภา, ชวลิต สัทธรรมสกุล, หยงฮ้ง แซ่เตียว, ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)
  • ศีล ๔ (พ.ศ. 2540)
  • คงกระพันชาติไทย (พ.ศ. 2541 / สร้างโดย นักศึกษาภาพยนตร์ สุรชัย พัฒนากิจไพบูลย์)
  • น้ำใต้ท้องเรือ (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ภาณุ อารี)
  • BUNZAI CHAIYO, EPISODE II : THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ไมเคิล เชาวนาสัย)
  • บ้านสีชมพู (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ สุวรรณ ห่วงศิริสกุล)
  • กาล (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ อุรุพงษ์ รักษาสัตย์)
  • แหวน (พ.ศ. 2544 / ผลงานของ ชุมพล ทองทาบ)
  • THE TREE (พ.ศ. 2545 / ผลงานของ วสัน เรียวกลา)
  • A SHORT JOURNEY (พ.ศ. 2546 / ผลงานของ ธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์)

ภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ฉายตลอดปี". มูลนิธิหนังไทย. 7 กุมภาพันธ์ 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2012.
  2. "โครงการ ๑๐๐ หนังไทยที่คนไทยควรดู ในมิติ ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา". โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013.
  3. "โครงการ ๑๐๐ หนังไทยที่คนไทยควรดู ในมิติ ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา". มูลนิธิหนังไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (doc)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2022.
  4. เจนอักษราพิจารณ์ (6 ธันวาคม 2007). "ครูบ้านนอกหนังดีที่ยังน่าดู (๑)". OK Nation.
  5. "ชุมทางหนังไทยในอดีต". มูลนิธิหนังไทย. 5 กรกฎาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2012.


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?