For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โลมาอิรวดี.

โลมาอิรวดี

โลมาอิรวดี
โลมาอิรวดีในประเทศกัมพูชา
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
วงศ์: Delphinidae
สกุล: Orcaella
สปีชีส์: brevirostris
  แผนที่การกระจายพันธุ์ของโลมาอิรวดีใน ค.ศ. 2017
ชื่อพ้อง[3]
รายการ
  • Orca (Orcaella) brevirostris Owen in Gray, 1866 (basionym)
  • Orcaella brevirostris brevirostris Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella brevirostris fluminalis Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella fluminalis Gray, 1871
  • Orcella brevirostris Anderson, 1871
  • Orcella fluminalis Anderson, 1871
  • Phocaena (Orca) brevirostris Owen, 1866

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (อังกฤษ: Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) พบประชากรที่กระจายอย่างกว้างขวางในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล และในบริเวณปากน้ำและแม่น้ำบางส่วนของอ่าวเบงกอลและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปร่างคล้ายโลมาครีบทู่ออสเตรเลีย (จาก Orcaella สกุลเดียวกัน) และไม่เคยถูกจัดเป็นสัตว์คนละชนิดก่อน พ.ศ. 2548 แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180–275 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.21 กิโลกรัม

โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง ทะเลสาบเขมร ใน พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร[4]

โลมาอิรวดีได้รับการค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันถึงแม้ว่าสามารถพบโลมาในเขตแม่น้ำและทะเลในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริเวณที่มีประชากรมากที่สุดอยู่ในทะเลสาบจิลิกา รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย และทะเลสาบสงขลาในภาคใต้ของประเทศไทย[5] โดยสถานที่ที่พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุดคือทะเลสาบสงขลาในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย[6] โลมาอิรวดีตัวสุดท้ายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวตายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากติดอวนจับปลาของชาวประมงในพื้นที่ เท่ากับเป็นการสูญพันธุ์จากประเทศลาวอย่างเป็นทางการ[ต้องการอ้างอิง]

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70–150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาดร้อยละ 40 ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์

อนุกรมวิธาน

[แก้]
ตัวอย่างโครงกระดูกโลมาอิรวดีที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งมหาวิทยาลัยปิซา

หนึ่งในบันทึกแรกสุดของโลมาอิรวดีมาจากเซอร์ ริชาร์ด โอเวน ใน ค.ศ. 1866 ตามตัวอย่างที่พบใน ค.ศ. 1852 ที่ท่าเรือในวิศาขาปัฏฏนัมทางฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย[7]

ศัพทมูลวิทยาและชื่อท้องถิ่น

[แก้]

ชื่อชนิด brevirostris มาจากภาษาละตินที่มีความหมายว่า จะงอยสั้น มันมีความใกล้ชิดกับโลมาครีบทู่ออสเตรเลีย (Orcaella heinsohni) หลังมีการตรวจวิเคราะห์ยีนโลมา ทำให้โลมาครีบทู่สองชนิดถูกจัดเป็นสัตว์คนละชนิดใน พ.ศ. 2548

ชื่อสามัญของโลมาอิรวดีมีดังนี้:[8][7][9]

  • ไทย: โลมาอิรวดี, โลมาหัวบาตร, โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง, โลมาน้ำจืด, โลมาหัวหมอน (ในภาษาไทยถิ่นใต้)
  • โอริยา: ଶିଶୁମାର (ศิศุมาร); ଭୁଆସୁଣୀ ମାଛ (ภุอาสุณี มาฉ, แปลว่า โลมาที่ให้น้ำมัน); ชื่อท้องถิ่นในบริเวณลากูน: ଖେରା (เขรา)
  • ฟิลิปปินส์: lampasut (ลัมปาซุต)
  • เบงกอล: শুশুক (ศุศุก)
  • อินโดนีเซีย: pesut mahakam, ikan pesut (เปอซุตมาฮากัม, อีกันเปอซุต)
  • เขมร: ផ្សោត (พโซต)
  • ลาว: ປາຂ່າ (ปาข่า)
  • มลายู: empesut (เอิมเปอซุต)
  • พม่า: ဧရာဝတီ လင်းပိုင် (เอยาวะดีละไบง์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Minton, G.; Smith, B.D.; Braulik, G.T.; Kreb, D.; Sutaria, D. & Reeves, R. (2018) [errata version of 2017 assessment]. "Orcaella brevirostris". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T15419A123790805. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T15419A50367860.en. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Perrin, W. (2010). Perrin WF (บ.ก.). "Orcaella brevirostris (Owen in Gray, 1866)". World Cetacea Database. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
  4. หน้า 109, กระเบนน้ำจืดแห่งชาติ. "Wild Ambition" โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, ชวลิต วิทยานนท์. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 51: กันยายน 2014
  5. Brian D. Smith, William Perrin (March 2007), Conservation Status of Irrawaddy dolphins (Orcaella Brevirostris) (PDF), CMS
  6. "สมุดโคจร: ทะเลสาบสงขลา". ช่อง 5. 15 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
  7. 7.0 7.1 Sinha, R. K. (2004). "The Irrawaddy Dolphins Orcaella of Chilika Lagoon, India" (PDF). Journal of the Bombay Natural History Society. 101 (2): 244–251. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-04-10.
  8. Stacey, P. J.; Arnold, P. W. (1999). "Orcaella brevirostris". Mammalian Species. 616 (616): 1–8. doi:10.2307/3504387. JSTOR 3504387.
  9. "Proposal for inclusion of species on the appendices of the convention on the conservation of migratory species of wild animals" (PDF). CMS - Convention on the Conservation of Migratory Species of Wild Animals. UNEP/CMS. 2008-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โลมาอิรวดี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?