For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรเบิร์ต ฟุลตัน.

โรเบิร์ต ฟุลตัน

โรเบิร์ต ฟุลตัน

โรเบิร์ต ฟุลตัน (Robert Fulton - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2308 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2358) วิศวกร นักวาดภาพจิ๋วและภาพทิวทัศน์ และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองแลงคาสเตอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้พัฒนาเรือกลไฟเชิงพาณิชย์และเรือรบกลไฟลำแรกของโลก

ชีวิตและงาน

[แก้]

โรเบิร์ต ฟุลตันเริ่มสนใจเรือกลไฟเมื่อ พ.ศ. 2320 เมื่ออายุได้ 12 ปีจากการไปเยี่ยม วิลเลียม เฮนรี แห่งเพนซิลเวเนียผู้ได้ไปเห็นเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ที่ประเทศอังกฤษแล้วกลับมาทดลองใส่เครื่องจักรไอน้ำดังกล่าวในเรือเมื่อ พ.ศ. 2306 ก่อนฟุลตันเกิด 2 ปี แต่ล้มเหลวจมลง

เมื่อฟุลตันเติบโตขึ้นก็ได้ไปศึกษาการวาดภาพและต่อมาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่ประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2329 แต่ในปี พ.ศ. 2336 เขาได้เสนอโครงการสร้างเรือกลไฟแก่ทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลอังกฤษ ที่อังกฤษได้เสนอต่อ ดยุกแห่งบริดจ์วอเตอร์ ผู้ยอมให้ใช้คลองในที่ดินทดลองเรือและต่อมาได้เป็นผู้สั่งต่อเรือลากของ วิลเลียม ซีมิงตัน ซึ่งได้ทดลองเรือกลไฟลากจูงเป็นผลสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2331 ซึ่งฟุลตันได้เห็นและรับทราบผลการทดลองนี้

โรเบิร์ต ฟุลตันกำลังเสนอเรือกลไฟแก่นโปเลียนที่แม่น้ำแซน เมื่อ พ.ศ. 2346

ในปี พ.ศง 2430 ฟุลตันไปประเทศฝรั่งเศส (ที่ซึ่ง มาควิส เคลาด์ เดอ จูฟฟรอยได้สร้างเรือกลไฟใบพายเป็นผลสำเร็จ) และเปิดตัวทดลองตอร์ปิโดใต้น้ำและเรือตอร์ปีโด และได้ออกแบบเรือดำน้ำที่ใช้งานได้จริงเป็นลำแรกชื่อ "นอติลุส" ให้แก่ผู้ว่าจ้างคือนโปเลียน และได้ทำการทดสอบเมื่อ พ.ศ. 2343

ในปีเดียวกันฟุลตันได้พบกับ โรเบิร์ต ลิฟวิงสตัน เอกอัคราชทูตอเมริกัน (ฟุลตันได้แต่งงานกับบุตรสาวของท่านทูตในเวลาต่อมา) ทั้งสองตกลงจะทดลองสร้างเรือกลไฟทดลองแล่นในแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส ฟุลตันได้ทดลองใช้วัสดุกันน้ำทำท้องเรือ เขียนแบบและสร้างหุ่นจำลองเรือกลไฟแล้วทดลองแล่นปรากฏว่าเรือจมในการแล่นครั้งแรก เขาจึงเพิ่มความแข็งแรงของตัวเรือและในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2346 การทดลองเป็นผลสำเร็จ ฟุลตันแล่นเรือทวนขึ้นไปตามลำน้ำ มีฝูงชนมาเรียงรายดูเนืองแน่นทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ตัวเรือยาว 20 เมตร กว้าง 2.4 เมตร สามารถแล่นทวนน้ำได้ด้วยความเร็ว 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เรือกลไฟลำแรก

[แก้]
เรือจักรเคลอร์มองต์ หรือ เรือจักรแห่งแม่นำเหนือ "สัตว์ประหลาดของฟุลตัน"

ในเวลาเดียวกันนี้ฟุลตันได้มีจดหมายถึงเจมส์ วัตต์เจ้าของบริษัท บูลตันและวัตต์ในอังกฤษสั่งซื่อเครื่องจักรไอน้ำสำหรับติดตั้งในเรือของเขา และฟุลตันได้กลับไปอังกฤษอีกในปี พ.ศ. 2347 หลังจากซีมิงตันได้สร้างเรือจูงที่สามารถลากเรือบรรทุกสินค้าหนัก 70 ตันไปตามคลองเป็นการแสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานจริง แม้ฟุลตันจะไม่เคยเห็นเรือจูงลำนี้ แต่เขาก็ได้มีจดหมายโต้ตอบกับเฮนรี เบลล์ที่แสดงท่าทีสนใจเรือของเขา ในเวลาเดียวกันที่ฟุลตันกำลังทดลองตอร์ปีโดเขาก็ได้ติดต่อกับวิลเลียม เมอร์ดอชเกี่ยวกับรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ที่เขาสั่งซื้อ เมื่อเครื่องจักรสร้างเสร็จฟุลตันก็ขนส่งไปนิวยอร์กและตัวฟุลตันเองก็ได้เดินทางกลับถึงนิวยอร์กเมื่อ พ.ศ. 2349 จัดสร้างตัวเรืออย่างเหมาะสม ติดตั้งเครื่องจักรไอน้ำกลายเป็นเรือกลไฟจักรข้างเพื่อการพาณิชย์ลำแรกของโลก

เรือได้รับการตั้งชื่อว่า "เคลอร์มองท์" ได้แล่นจากนครนิวยอร์กไปยังนครแอลบานีตามแม่น้ำฮัดสันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2350 ใช้เวลา 20 ชั่วโมงสำหรับการเดินเรือเชิงพาณิชย์ของเรือกลไฟครั้งแรกของโลก มีผู้เรียกเรือกลไฟนี้ว่า "สัตว์ประหลาดของฟุลตัน" นอกจากชื่อ "เคลอร์มองท์" คนทั่วไปยังเรียกเรือของฟุลตันว่า "เรือจักรแม่น้ำเหนือ" อีกชื่อหนึ่งด้วย

ฟุลตันได้จดลิขสิทธิ์เรือจักรของเขาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 หลังจากนั้นก็ได้สร้างขึ้นอีกหลายลำรวมทั้งเรือรบกลไฟลำแรกของโลกที่วางกระดูกงูในปี พ.ศ. 2357 แต่ฟุลตันเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นเรือลำนี้

บั้นปลายชีวิต

[แก้]
เรือรบกลไฟลำแรกของโลกเมือปี พ.ศ. 2357 ชื่อ "ฟุลตันเดอะเฟิร์ท" หรือ "เดโมโลกอส" ในอ่าวนิวยอร์ก

สภาแห่งรัฐนิวยอร์กได้ให้สิทธิ์สัมปทานเส้นทางเดินเรือจักรทั้งหมดแก่ฟุลตันเป็นเวลา 30 ปี โดยไม่อนุญาตให้มีคู่แข่ง แต่ก็ได้มีผู้ประกอบการชื่อโทมัส กิบบอนส์ว่าจ้างคอร์เนเลียส แวนเดอร์บิลท์ สร้างเรือบรรทุกผู้โดยสารแข่งขันท้าทายกฎหมายด้วยค่าโดยสารที่ถูกกว่าเป็นเวลาประมาณ6 เดือนก่อนที่ศาลสูงจะตัดสินว่าการให้สัมปทานผูกขาดแก่ฟุลตันข้ามรัฐเป็นการผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้มีผู้ประกอบการเดินเรือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าโดยสารลดลงเหลือเพียง 3 เหรียญจากเดิม 7 เหรียญ ฟุลตันไม่สามารถแข่งขันได้จึงกลายเป็นบุคคลล้มละลาย

ฟุลตันถูกกล่าวหาว่าอาศัยอิทธิพลทางการเมือง แสวงหากำไรด้วยการผูกขาดสัมปทาน ทำสัญญากับรัฐ ให้รัฐปกป้อง ใช้เส้นสายไม่แข่งขันทางธุรกิจอย่างยุติธรรม

โรเบิร์ต ฟุลตันถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง 49 ปี ด้วยโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ศพของเขาได้รับการฝังไว้ที่สุสานทรินิตีเชิร์ชยาร์ด ในเกาะแมนฮัดตัน นครนิวยอร์ก ฟุลตันมีชีวิตอยู่ระหว่างปลายสมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 2

อนุสรณ์สถาน

[แก้]

ได้มีการระลึกถึงโรเบิร์ต ฟุลตันด้วยการตั้งชื่อสถานที่ต่างๆ หลายแห่งในสหรัฐฯ ตามชื่อเขา อาทิ เช่น


  • Fulton Street in Brooklyn
  • Fulton Street in Manhattan
  • Fulton County, Indiana
  • Fulton County, Kentucky
  • Fulton County, Ohio
  • Fulton County, New York
  • Fulton, New York
  • Fulton, Schoharie County, New York
  • Fultonham, Ohio


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:North

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรเบิร์ต ฟุลตัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?