For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท).

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
ละติน: Rajaprajanugroh 15 or Wingkaosaenpuwittayaprasat school
520 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย 57150
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ป.ค. 15, rpg15
คำขวัญบาลี: นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
ศาสนาพระพุทธศาสนา
ก่อตั้งพ.ศ. 2466
ผู้ก่อตั้งรองอำมาตย์เอก พระแสนสิทธิเขต
เขตการศึกษาสพป.เชียงราย​ เขต 3
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.อนวัช อุ่นกอง
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล 3 ขวบ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพศโรงเรียนสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สีแดง-ขาว
คำขวัญยิ้มง่าย ไหว้สวย รวยน้ำใจ
เพลงมาร์ชราชประชา
เว็บไซต์rpg15.ac.th

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) (ย่อ: ร.ป.ค.15) ชื่อเดิม โรงเรียนเวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นโรงเรียนในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนยังถูกกำหนดเป็นโรงเรียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ก่อตั้งขึ้นโดยรองอำมาตย์เอก พระแสนสิทธิเขต เมื่อ พ.ศ. 2466 ตรงกับปีที่ 13 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีอายุครบ 96 ปีใน พ.ศ. 2562 ปัจจุบันจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 3 ขวบ - มัธยมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2466 เปิดทำการสอนโดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง ” โดยมีรองอำมาตย์เอก พระแสนสิทธิเขตเป็นผู้ก่อตั้ง

พ.ศ. 2472 ผู้จัดตั้ง อาศัยโบสถ์ของวัดปงสนุกเป็นห้องเรียน ได้ย้ายสถานที่มาเรียนที่พลับพลาหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน

พ.ศ. 2475 ได้ย้ายสถานที่มาเรียนในที่ดินปัจจุบัน โดยราษฎรได้บริจาคเงิน ปลูกสร้าง อาคารเรียนถาวร 1 หลัง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง (แสนภูวิทยาประสาท) ”

พ.ศ. 2504 ทางราชการได้นำเอาโรงเรียนเชียงแสน (มัธยมสามัญ) ซึ่งเปิดทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2499 มารวมกับ โรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง (แสนภูวิทยาประสาท)เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเวียงเก่า (แสนภูวิทยาประสาท) ”

พ.ศ. 2509 ได้เกิดอุทกภัยขึ้นโดยแม่น้ำโขงไหลบ่าท่วมอำเภอเชียงแสนและ อาคารเรียนของโรงเรียนจนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานเงินมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์มาสร้าง อาคารเรียนแบบ ป.04 พิเศษ จำนวน 10 ห้องเรียน แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2511

พ.ศ. 2512 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯมาทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่26 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยา -ประสาท) ” เปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา

พ.ศ. 2540 ได้ขยายชั้นเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2548 ได้ขยายชั้นเรียนเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเป็นห้องเรียนสาขาของ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา

พ.ศ. 2550 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นเอกเทศ

พ.ศ. 2561 เปิดทำการเรียนการสอนในระดับอนุบาล 3 ขวบ - มัธยมศึกษาปีที่ 6


อาณาบริเวณ

[แก้]

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นโบราณสถานเก่าแก่หลายร้อยปี

โรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน 12 หลัง และอาคารเสริม 5 หลัง อาคารหลักมีดังต่อไปนี้

  • อาคารแสนภู เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน โดยชั้นล่างของอาคารเป็นที่ตั้งของห้องทะเบียนห้องวิชาการ ห้อง Big data center ชั้นบนเป็นที่ตั้งของห้องสมุดสังวาล
  • อาคารราชประชานุเคาะห์ เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • อาคารเวียงเก่า เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และเป็นที่ตั้งของห้อง creative room
  • อาคารวิทยาประสาท เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการศิลปะ
  • อาคารแสนสิทธิเขต เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และห้องวิชาการของระดับประถมศึกษา
  • อาคารรัฐประชาสรรค์ เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และห้องจริยธรรม
  • อาคารวิทยาศาสตร์ เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
  • อาคารครองราชย์ 70 ปี เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และห้อง stem ศึกษา
  • อาคารหอประชุมฝ้ายคำ เป็นที่ตั้งของห้องเทควันโด และ food court
  • อาคารลานโดมอเนกประสงค์ ปีกขวาเป็นห้อง E-Learning Zone ปีกซ้ายเป็นห้อง Digital class room (ห้องคอม 150 เครื่อง)
  • อาคารหอประชุมและโรงอาหาร ชั้นบนเป็นที่ต้งของห้องประชุมกลางของโรงเรียน ชั้นล่างเป็นโรงอาหารและ food center

การศึกษา

[แก้]

การจัดการศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอนุบาล 3 ขวบ - มัธยมศึกษาปีที่6 (ช่วงชั้นที่ 1-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ
  • ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

นอกจากนี้โรงเรียนยังเปิดหลักสูตรทวิศึกษาให้กับนักเรียนแผนการเรียนอาชีพ และยังเปวิชาเสรีเพื่อรองรับอาชีพในเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนาคตกว่า 50 หลักสูตร

องค์กรภายในโรงเรียน

[แก้]
  • คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
  • สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
  • สมาคมศิษย์เก่า* โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
  • มูลนิธิเวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท
  • มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?