For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เรือดำน้ำในอาเซียน.

เรือดำน้ำในอาเซียน

บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ

เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศของบรรดาสมาชิกอาเซียน มีภูมิศาสตร์ติดกับทะเลและเป็นหมู่เกาะ อีกทั้งเมื่อนับความยาวของชายฝั่งและทะเลแล้ว ยังมีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งทรัพยากรธรรมทั้งน้ำมัน แหล่งอาหาร รวมถึงมีแหลมสุมาตราและช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของ การขนส่งสินค้า และการเดินทางโดยเรือ ซึ่งในภูมิภาคมีประวัติความขัดแย้งทางทะเลจากการคุกคามของประเทศจีนที่มีต่อประเทศที่ติดกับทะเลจีนใต้

ประเภทของเครื่องยนต์ที่ใช้ในเรือดำน้ำ

[แก้]

การพัฒนาความเงียบของเรือดำน้ำ

[แก้]

กล่าวถึงการพัฒนาความเงียบของเรือดำน้ำโซเวียต เรือดำน้ำของโซเวียตมีความเงียบมากขึ้น การพัฒนาความเงียบของของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของโซเวียตทำใหมันมีความเงียบมาก จนได้รับฉายาว่า หลุมดำแห่งห้วงมหาสมุทร

ปฏิบัติการเรือดำน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้]

กรณีพิพาทอินโดจีน

[แก้]

หลังจากที่เรือดำน้ำได้แสดงถึงความสามารถในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยก็ได้เห็นถึงความสำคัญของเรือดำน้ำจึงได้สั้งต่อเรือดำน้ำจากญี่ปุ่นจำนวน 4 ลำ ซึ่งเรือดำน้ำไทยก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าบุกไทยจนสงครามสิ้นสุดลง

สงครามมหาเอเชียบูรพา

[แก้]

ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทัพเรือจึงจัดเรือหลวงสมุยเดินทางฝ่าอันตราย เพื่อลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์มายังประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างการลำเลียงน้ำมันเป็นเที่ยวที่ 18 เรือหลวงสมุย ภายใต้การนำของ นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล ได้ถูกเรือดำน้ำพันธมิตรโจมตีจมลง บริเวณนอกฝั่งรัฐตรังกานู ทำให้มีผู้เสียชีวิต 31 นาย นอกจากนี้ กองทัพเรือยังสูญเสียกำลังพลจากการต่อสู้ป้องกันการโจมตีทางอากาศของเครื่องบินพันธมิตรในหลายพื้นที่ระหว่างสงครามเดียวกันอีก 7 นาย

พิพาทหมู่เกาะสแปรตลีย์

[แก้]

ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1988 เมื่อกองทัพเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม เกิดปะทะกันขึ้นบริเวณแนวปะการังจอห์นสันของหมู่เกาะสแปรตลีย์ ส่งผลให้เรือของเวียดนามจมไปหลายลำและลูกเรือกว่า 70 คนเสียชีวิต (จึงทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยึดเพิ่มอีก 6 เกาะ) และในเดือนกุมภาพันธ์ 1995 จีนจัดตั้งกองกำลังบนแนวปะการังมิสชีฟ กลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับฟิลิปปินส์ซึ่งประท้วงการกระทำของจีนและจับชาวประมงจีนไป 62 คน

ในปัจจุบันข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ระหว่างจีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไนและไต้หวัน จึงทำให้หลายประเทศในอาเซียนจำเป็นต้องจัดหาเรือดำน้ำโดยเร็วเพื่อใช้ในการปกป้องเกาะที่ยึดไว้อยู่ ซึ่งแบ่งได้เป็นจีน 9 เกาะ, ไต้หวัน 1 เกาะ, เวียดนาม 29 เกาะ, ฟิลิปปินส์ 11 เกาะ, มาเลเซีย 3 เกาะ ส่วนบรูไนอ้างสิทธิอย่างเดียว ไม่ได้ยึดเกาะ ซึ่งจีน ไต้หวัน และ เวียดนาม อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ทั้งหมด ส่วนมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์เพียงบางส่วน

พิพาทหมู่เกาะพาราเซล

[แก้]

ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1974 โดยในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐเวียดนาม ทางกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งเรือคอร์เวต 4 ลำ กับเรือดำน้ำ 2 ลำ ต่อสู้กับเรือฟริเกต 3 ลำ กับ เรือคอร์เวต 1 ลำของกองทัพเรือเวียดนามใต้ และได้รับชัยชนะในการรบ จึงทำให้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปกครองหมู่เกาะพาราเซลตั้งแต่นั้นจนปัจจุบัน

ในปัจจุบันชาวเวียดนามได้มีการประท้วงจีนที่ได้ยึดหมู่เกาะพาราเซล (หลังเวียดนามใต้ได้รบแพ้จีนในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลในปี พ.ศ. 2517) ซึ่งเวียดนามได้อ้างสิทธิ เวียดนามจึงได้ซื้ออาวุธเป็นจำนวนมาก ทั้งซื้อเรือรบ ซื้อจรวจต่อต้านเรือรบผิวน้ำและใต้น้ำและซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซีย เพิ่มปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล

พิพาทเกาะปะการังสการ์โบโรห์

[แก้]

ฟิลิปปินส์มีแผนที่จะซื้อเรือดำน้ำ เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกคุกคามจากเรือรบจีนที่มาตรงเกาะปะการังสการ์โบโรห์ ซึ่งอยู่ไกล้ฟิลิปปินส์มาก โดยเกาะปะการังสการ์โบโรห์ ได้ถูกจีนยึดไว้แล้ว จึงทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพโดยเร็วเนื่องจากกองทัพฟิลิปปินส์มีแต่อาวุธเก่า ๆ

ช่องแคบมะละกา

[แก้]

มาเลเซียได้ใช้เรือดำน้ำ เพื่อควบคุมช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลที่สำคัญของโลก ซึ่งเรือสินค้าโดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันใช้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งทางทะเลระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนสิงคโปร์ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องแคบมะละกา ที่ถือเป็นจุดเดินเรือสินค้านานาชาติ และยังถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลก จึงต้องมีเรือรบที่ทรงประสิทธิภาพเข้ามาประจำการเพื่อดูแลอธิปไตยเหนือน่านน้ำ สิงคโปร์มีความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำ

การพัฒนาหน่วยเรือดำน้ำของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

[แก้]
เรือหลวงมัจฉาณุ เป็นเรือดำน้ำของไทยในอดีต
  •  ไทยเคยมีเรือดำน้ำซึ่งเป็นชาติที่ 2 ในเอเชียแต่เป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ, ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล โดยทั้ง 4 ลำได้ปฏิบัติการในอ่าวไทยหลายครั้งตั้งแต่สงครามอินโดจีนทั้งการรับและส่งสายลับพลพรรคขบวนการเสรีไทย และการโจมตีเรือของฝ่ายอักษะด้วยตอร์ปิโดซึ่งได้ปลดประจำการแล้วทุกลำในปี พ.ศ. 2494 เนื่องด้วยอายุการใช้งาน ความปลอดภัยและเทคโนโลยีการดำน้ำ ปัจจุบันแม้จะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกา แต่ช่องแคบนี้ก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากพอ ๆ กับ 3 ประเทศที่กล่าวถึง อ่าวไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของการเดินเรือเข้า–ออก เรือดำน้ำจะสามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ การค้นหาเรือดำน้ำในเขตน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ยากเย็นพอสมควร โดยเฉพาะกับเรือเครื่องยนตร์ดีเซล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งชั้นความเค็มและชั้นความร้อนหรืออุณหภูมิที่มีผลต่อการเดินทางของเสียง ราชนาวีไทยเคยมีโครงการที่จะจัดหาเรือดำน้ำโดยได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากหลายๆประเทศทั้งเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่โครงการนี้ไม่เคยประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยปัญหาต่างๆทั้งด้านงบประมาณและปัญหาทางการเมือง แต่ในปี 2013 กองทัพเรือไทยกำลังก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำและศูนย์ฝึกเรือดำน้ำ ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2014 ประกอบด้วยศูนย์ฝึกเรือดำน้ำราคา 540 ล้านบาท เครื่องจำลองการฝึกเรือดำน้ำกับค่าการฝึกต่าง ๆ มูลค่า 200 ล้านบาท สำหรับการเตรียมความรู้ให้กับกำลังพลเพื่อรองรับการมีเรือดำน้ำ และกองทัพเรือมีแผนจะจัดซื้อเรือดำน้ำอย่างน้อย 3 ลำในแผนพัฒนากองทัพ 10 ปี[1] แต่ในปี 2014 กองทัพเรือไทยได้เปิดเผยแผนการใหม่ที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำใหม่จำนวน 1 ลำ แทนการซื้อเรือลำน้ำที่ใช้แล้วหลายลำตามแผนการก่อนหน้านี้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากแผนการเดิมที่เคยพยายามซื้อเรือขนาดเล็กที่ปลดระวางแล้วจากเยอรมนี แต่แผนการถูกล้มเลิกไปในต้นปี 2553 ส่วนลำใหม่จะเป็นเรือที่ต่อในเยอรมนีหรือในเกาหลี ซึ่งแผนการจัดซื้อของราชนาวีอยู่ใน "ชอปปิ้งลิสต์" ประจำปี 2557 ของกองทัพไทย[2]
  •  สิงคโปร์เป็นชาติที่สองในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ซึ่งแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่สิงคโปร์ก็ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก คือช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นทางผ่านที่สำคัญของการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดีย ไปสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือสิงคโปร์มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า ไกลกว่าชาติอื่นๆในภูมิภาคนี้ กองทัพเรือสิงคโปร์เริ่มโครงการเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดน ชั้นซยอร์แมน จำนวน 4 ลำ เรือทั้ง 4 ลำ เข้ารับการซ่อมใหญ่และปรับปรุงเพื่อให้สามารถปฏิบัติการในเขตร้อนได้ และมีเรือดำน้ำมือสองชั้นอาเชอร์ จากสวีเดน จำนวน 2 ลำ ที่ติดตั้งระบบ AIP ซึ่งล่าสุดก็ได้สั้งซื้อเรือดำน้ำชั้นอินวินซิเบิล (รุ่น Type 218SG) จากเยอรมนี จำนวน 2 ลำ โดยจะได้รับมอบในปี 2020[3]
  • ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นชาติที่สามในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่นับพันเกาะ ในทศวรรษที่ 1960 กองทัพมีเรือดำน้ำจากสหภาพโซเวียตหลายประเภททั้งเรือลาดตระเวน เรือพิฆาตรวมทั้งเรือดำน้ำชั้นวิสกี ในทศวรรศที่ 1980 กองทัพเรืออินโดนีเซียสั่งต่อเรือดำน้ำชั้น 209 จาก อดีตเยอรมันตะวันตกจำนวน 2 ลำ และได้ลงนามจัดซื้อและต่อเองในประเทศเรือดำน้ำชั้น 209 มือสอง รุ่นปรับปรุง ในชื่อ U-209 1400 mod จากกองทัพเรือเกาหลีใต้ 3 ลำ และได้วางแผนที่จะต่อเรือดำน้ำเองอีก 9 ลำภายใต้ลิขสิทธิ์ U-209 1400 mod ของเกาหลีใต้[4]
  • ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซียเป็นชาติที่สี่ในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นอีกประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของช่องแคบมะละกาทางชายฝั่งตะวันตก และเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อ้างการมีผลประโยชน์ในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งอยู่ห่างจากรัฐซาบะฮ์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 300 ไมล์ โดยรวมแล้วเมื่อพิจารณาจากการมีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด นับตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดสตูลของไทย เรื่อยมาจนถึงสิงคโปร์ แล้ววกกลับขึ้นไปทางเหนือจนถึงชายแดนส่วนที่ติดกับจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งชายฝั่งของรัฐซาราวัค จนถึงหมู่เกาะสแปรทลีย์ สั่งต่อเรือดำน้ำชั้นสคอเปเน จำนวน 2 ลำโครงการ ซึ่งลำแรกจะต่อที่อู่ ดีซีเอ็น ในประเทศฝรั่งเศส และลำที่สองจะต่อที่อู่เรือของไอซาร์ในประเทศสเปน
  • ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนามเป็นชาติที่ห้าในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ เหตุผลที่เวียดนามต้องการเรือดำน้ำเนื่องจากประเทศนี้มีข้อพิพาทกับหลายประเทศทางทะเลเวียดนาม ซึ่งจัดหาเรือดำน้ำมือหนึ่งชั้นกิโล จากรัสเซีย จำนวน 6 ลำ ซึ่งจะมีกำหนดส่งมอบเรือครบทั้ง 6 ลำ ภายในปี ค.ศ. 2016 โดยได้รับเข้าประจำการลำแรกในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2014[5] ลำที่ 2 ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2014 ลำที่ 3 ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014[6]
  • ธงของประเทศพม่า พม่าเป็นชาติที่หกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยจะได้เรือดำน้ำมือสองชั้นกิโล จากอินเดีย จำนวน 1 ลำ มาใช้เป็นเรือฝึก[7]
  • ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชากำลังจะได้เรือดำน้ำมือสองจากจีนไม่ทราบจำนวน
  • ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ต้องการจัดหาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า เพื่อเข้าประจำการจำนวน 3 ลำ[8]
ทำเนียบเรือดำน้ำในประเทศอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศ ประจำการ ปลดประจำการ กำลังต่อ วางแผน อ้างอิง
 ไทย 0 (+2) 4 1 3
 สิงคโปร์ 4 2 2 2
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 5 0 3 6
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 2 0 0 6 [9]
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 6 0 0 0
ธงของประเทศพม่า พม่า 2 (+1) 0 0 2
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 0 (+1) 0 0 0
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 0 0 0 3 [10]

รูปภาพเรือดำน้ำในปัจจุบันของอาเซียน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-02-26.
  4. [2][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  6. [3][ลิงก์เสีย]
  7. [4]
  8. [5]
  9. [6]
  10. [7]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เรือดำน้ำในอาเซียน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?