For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์.

ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์

บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง

ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์ (อังกฤษ: motion picture rating system) เป็นการจัดระดับตามเนื้อหาและฉากของภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเข้าชมภาพยนตร์สำหรับเด็กและเยาวชน แต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานวิธีจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบันมาตรฐานที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุดคือมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา

การจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ

[แก้]

ตามระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดยสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America หรือ MPAA) ดังจะสามารถพบเห็นการกำหนดระดับได้ตามเว็บไซต์ภาพยนตร์อย่างเห็นได้ชัด ระดับภาพยนตร์ของสมาคมมีดังนี้

ระดับจี

[แก้]

ระดับจี (G: General Audiences) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ อาจประกอบไปด้วยความรุนแรงทางจินตนาการหรือความรุนแรงทางอารมณ์ขัน แต่ต้องไม่มีภาพโป๊ ภาพเปลือย เรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบอาจพบได้ในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถพบได้ในวัยเด็กและเยาวชน ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Toy Story, Cars และ Monsters, Inc.

ระดับพีจี

[แก้]

ระดับพีจี (PG: Parental Guidance Suggested) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่แนะนำให้เด็กและเยาวชนนั้นมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงเพียงเล็กน้อย การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ยาเสพติด ภาพโป๊ ภาพเปลือย และ/หรือกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Moana (ความรุนแรงและสนุกและภาพน่ากลัว), How to Train Your Dragon (ความรุนแรงและสนุกภาพน่ากลัว) และ Harry Potter and the Socerer's Stone (ความรุนแรง, ภาพน่ากลัวและการใช้ภาษาไม่เหมาะสม)

ระดับพีจี-13

[แก้]

ระดับพีจี-13 (PG-13: Parents Strongly Cautioned) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนอาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำเตือน เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับปานกลาง การใช้ภาษาที่รุนแรง การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติดเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น The Avengers (ความรุนแรง, การใช้ภาษาพูดไม่เหมาะสม, การทำลายล้าง, การใช้แอลกอฮอล์และภาพน่ากลัว), Star Wars Episode VII: The Force Awakens (ความรุนแรงและภาพน่ากลัว) และ 10 Things I Hate About You (การใช้ภาษาไม่เหมาะสม, การใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์และเนื้อหาทางเพศ)

ระดับอาร์

[แก้]

ระดับอาร์ (R: Restricted) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีจะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงระดับมาก ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่มีความรุนแรงระดับมาก การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Fifty Shade of Grey (กิจกรรมทางเพศและเนื้อหาทางเพศ, การใช้แอลกอฮอล์และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม), The Conjuring (ความรุนแรงมากและภาพน่ากลัว) และ The Matrix (การใช้ภาษาและความรุนแรงมาก)

ระดับเอ็นซี-17

[แก้]

ระดับเอ็นซี-17 (NC-17: Adults Only; No One 17 and Under Admitted) ไม่อนุญาตให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมโดยเด็ดขาด เพราะเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจนและเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่เท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วย ความโหดร้าย ความรุนแรงระดับมากที่สุด ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่รุนแรงระดับมากที่สุด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Blue is the Warmest Color (กิจกรรมทางเพศ, การใช้ภาษาและการใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์), The Dreamers (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา) และ Shame (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา)

ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดระดับ

[แก้]

จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR: Not Rated) หรือข้อความว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดระดับ" (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระดับนี้ไม่นับเป็นระดับอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน

หมายเหตุ

[แก้]

แม้ไม่มีกำหนดตายตัวด้านเนื้อหาเพื่อแบ่งระดับระดับภาพยนตร์ แต่มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้

G
PG
M
MA15+
R18+
X18+
CTC
RC
การแบ่งประเภทภาพยนตร์ในประเทศออสเตรเลีย
  • ระดับ PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้ด้วยเหตุผลทางการตลาดให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เสนอต่อสมาคมภาพยนตร์อเมริกันเพื่อจัดแบ่งระดับ (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้ระดับสูงกว่านี้ ทางผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์อาจถึงกับต้องตัดต่อเพื่อขอจัดระดับใหม่ก็ได้
  • คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ระดับอาร์หมายถึงโป๊ แต่แท้จริงแล้วยังรวมถึงฉากสยองขวัญ การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่าย ๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย) การใช้คำหยาบคาย การใช้ยาเสพติด การลักพาตัว เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
  • ถ้ามีคำหยาบคายไม่เกินห้าคำ และไม่มีฉากโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีคำหยาบคายเกินห้าคำ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิงมักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายเพียงเล็กน้อย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายระดับปานกลาง มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายที่มุ่งเน้นทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์ ถ้ามีฉากข่มขืนทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับเอ็นซี-17
  • ระดับเอ็นซี-17 จัดเป็นระดับต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าระดับนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก เนื้อหาคล้ายระดับอาร์ แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรงหรือมีเนื้อหาเกินครึ่งเรื่องที่เข้าข่าย เช่น เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง

ประเทศไทย

[แก้]

มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) "ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551" และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนจากระบบตรวจพิจารณาภาพยนตร์ (รวมทั้งหนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงภาพยนตร์หรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัดประเภท โดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 8 ประเภท คือ

  1. # " ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู "
  2. # " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป "
  3. " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๓ ปีขึ้นไป "
  4. " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป "
  5. " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป "
  6. # " ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีดู " (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
  7. " ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร "

ทั้งนี้โดยมีคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้ตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ว่าอยู่ในประเภทใด

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ระบบจำแนกประเภทรายการโทรทัศน์

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?