For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เมฆฮิลส์.

เมฆฮิลส์

ภาพตามทฤษฎีของเมฆออร์ต เมฆฮิลส์ และแถบไคเปอร์

เมฆฮิลส์ (Hills cloud) หรือ เมฆออร์ตชั้นใน (inner Oort cloud)[1] เป็นจานรอบดาวฤกษ์ ตามทฤษฎีที่สันนิษฐานไว้ว่าอยู่ด้านในของเมฆออร์ต ตั้งชื่อตามแจ็ก จี. ฮิลส์ ซึ่งเป็นผู้เสนอขึ้น ขอบด้านนอกของแผ่นจานอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 20,000 ถึง 30,000 AU ส่วนขอบด้านในยังไม่ทราบชัดเจนนัก แต่คาดกันไว้ว่าอยู่ที่ประมาณ 250 ถึง 1500 AU ซึ่งเลยวงโคจรของ ดาวเคราะห์ และวัตถุในแถบไคเปอร์ไป

สมมติฐานเมฆฮิลส์ถูกเสนอเพื่ออธิบายความขัดแย้งของสมมติฐานเมฆออร์ต ดาวหางในเมฆออร์ตถูกรบกวนอย่างต่อเนื่องจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาราจักรทางช้างเผือกและดาวฤกษ์ใกล้เคียง ดังนั้นแล้ว ดาวหางจำนวนไม่น้อยจึงน่าจะออกจากระบบสุริยะ หรือบ้างก็เข้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน และระเหย หรือตกลงบนดวงอาทิตย์หรือดาวเคราะห์ยักษ์เช่นดาวพฤหัสบดีไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่ามีดาวหางจำนวนมากพอสมควรในเมฆออร์ตซึ่งยังต้องการหาแหล่งที่มาของดาวหางที่ไหนสักแห่ง

ในสมมติฐานเมฆฮิลส์นั้น ได้คาดการณ์การมีอยู่ของเมฆฮิลส์ที่มีจำนวนวัตถุมากขึ้นเพื่อไขปัญหาการคงอยู่ของเมฆออร์ต วัตถุที่พุ่งออกมาจากเมฆฮิลส์ไปยังบริเวณของเมฆออร์ตนั้นจะคอยค้ำจุนเมฆออร์ตไว้[2] เชื่อกันว่าเมฆฮิลส์เป็นบริเวณที่มีดาวหางรวมตัวกันอยู่มากที่สุดในระบบสุริยะ และถ้าเมฆฮิลส์มีอยู่จริง มันจะมีดาวหางมากกว่าเมฆออร์ตประมาณ 5 เท่า[3]

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบวัตถุที่เป็นไปได้หลายอย่าง เช่น ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่เชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากเมฆฮิลส์ ซึ่งสนับสนุนการมีอยู่ของเมฆฮิลส์ ถ้าเมฆฮิลส์มีอยู่จริง ความหนาแน่นของมันควรจะสูงกว่าเมฆออร์ต[4] ดาวหางเมฆออร์ตโคจรเป็นวงกลมภายใต้อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ใกล้เคียงและผลกระทบจากแรงน้ำขึ้นน้ำลงของทางช้างเผือก แต่ดาวหางในเมฆฮิลส์นั้นบางทีอาจไม่เป็นเช่นนั้น มวลรวมของเมฆฮิลส์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยบางคนเชื่อว่ามีมวลมากกว่าเมฆออร์ตชั้นนอกหลายเท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. "astronomie, astéroïdes et comètes". villemin.gerard.free.fr. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
  2. Fernández, Julio A. (1997). "The Formation of the Oort Cloud and the Primitive Galactic Environment". Icarus. 129 (1): 106–119. Bibcode:1997Icar..129..106F. doi:10.1006/icar.1997.5754. ISSN 0019-1035.
  3. Duncan, M.; Quinn, T.; Tremaine, S. (1987). "The formation and extent of the solar system comet cloud". The Astronomical Journal. 94: 1330. Bibcode:1987AJ.....94.1330D. doi:10.1086/114571. ISSN 0004-6256.
  4. Hills, J. G. (1981). "Comet showers and the steady-state infall of comets from the Oort cloud". The Astronomical Journal. 86: 1730. Bibcode:1981AJ.....86.1730H. doi:10.1086/113058. ISSN 0004-6256.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เมฆฮิลส์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?