For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เภสัชกรรม.

เภสัชกรรม

เภสัชกรรม (อังกฤษ: Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมเครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสำเร็จรูป[1] นอกจากการปรุงยาแล้วนั้น เภสัชกรรมยังครอบคลุมถึงด้านการบริบาลทางยาแก่ผู้ป่วย อาทิ การพิจารณายาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย การประเมินและทบทวนการใช้ยา การติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา รวมไปถึงการกระจายยา การเก็บรักษายาที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริหารเภสัชกิจ และเป็นที่ปรึกษาด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นวิชาชีพโบราณ มีวิวิฒนาการของวิทยาการควบคู่กับการพัฒนาของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรเมโสโปเตเมียมีการรวบรวมเภสัชตำรับครั้งแรกของโลก โดยจารึกในก้อนดินเหนียวด้วยอักษรคูนิฟอร์ม และมีการพบเภสัชตำรับของชาวอียิปต์โบราณหรือ "ปาปิรุสอีเบอร์" เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อน นอกจากนี้ในสมัยกรีกและโรมันโบราณยังมีนักการแพทย์และนักปราชญ์ที่สำคัญที่วิจัยทางการแพทย์และเภสัชกรรม โดยเฉพาะกาเลน ซึ่งมักปรุงยาและคิดค้นเภสัชตำรับขนานใหม่ ๆ ด้วยตนเอง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ครั้งเมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม เภสัชกรได้ผันแปรบทบาทตนเองจากการปรุงยาให้ผู้ป่วยรายบุคคลาเป็นการเข้าสู่ระบบเภสัชอุตสาหกรรม การเลือกยาที่เหมาะสมและการรักษาทางเภสัชกรรมคลินิกจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ดี บทบาทของเภสัชกรยังคงมีหน้าที่ด้านการวิจัยพัฒนาตำรายาใหม่ ๆ และการเลือกสรรยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยเพื่อเยียวยารักษาโรค

วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นวิชาชีพที่มีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีกฎหมายรองรับบทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมโดยผู้ที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องผ่านการทดสอบเพื่อเป็นเภสัชกร ในประเทศไทยเมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะได้ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม และใช้คำนำหน้าว่า "เภสัชกร" สำหรับผู้ชาย และ "เภสัชกรหญิง" สำหรับผู้หญิง"

ปัจจุบันวิชาชีพเภสัชกรรมมีการแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมีองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกในการควบคุม วิจัย และปรึกษาทางเภสัชกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยในการรับการบริบาลทางยา

ประวัติ

[แก้]
รูปปั้นเทพีไฮเจียและเทพเจ้าแอสคลีปิอุส เทพเจ้าทางด้านบริบาลรักษาของกรีก

เภสัชกรรมเป็นศาสตร์ที่กำเนิดควบคู่มาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์แต่ครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์สมัยนั้นเลียนแบบสัตว์ป่าและธรรมชาติในการรักษาและเยียวยาตนเอง การลองผิดลองถูกของมนุษย์โบราณทำให้เกิดการสั่งสมองค์ความรู้สืบมากจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อาณาจักรเมโสโปเตเมียมีการบันทึกเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก ในอียิปต์โบราณมีการค้นพบหลักฐานทางเภสัชกรรมสำคัญคือ "ปาปิรุสอีเบอร์" เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหลักฐานการรวบรวมยาในสมัยนั้นกว่า 800 ขนาน

ในสมัยกรีกโบราณมีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์คือ ฮิปโปเครตีส ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาการแพทย์ยุโรป ได้เขียนตำราทางการแพทย์และเภสัชกรรมกว่า 60 เรื่อง องค์ความรู้ที่เขาค้นพบนั้นถ่ายทอดมายังอาณาจักรโรมัน โดยเฉพาะกาเลน แพทย์ชาวโรมันที่มักปรุงยาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ความสามารถของเขาได้รับการยอมรับและได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก เขาค้นพบยาขนานใหม่ ๆ ทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" เขายังศึกษาความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ศัลยศาสตร์ พยาธิวิทยา และเภสัชกรรม โดยภายหลังมีการตีพิมพ์ผลงานกว่า 22 เล่ม

ภายหลังอาณาจักรโรมันสูญสิ้นอำนาจแล้ว ความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมได้ถ่ายทอดไปยังชาวอาหรับที่แปลบทความภาษากรีกหลายเล่ม และถ่ายทอดความรู้เหล่านี้สู่ชาวยุโรปผ่านพ่อค้าที่เข้ามาค้าขาย เนื่องจากยุโรปในสมัยนั้นอยู่ในการปกครองของศาสนจักรที่ไม่สนับสนุนการค้นคว้าทางการแพทย์และเภสัชกรรม รวมถึงวิทยาการด้านอื่น ๆ ประชาชนชาวยุโรปสมัยนั้นต้องเข้ารับการรักษากับบาทหลวง ความรู้ทางการแพทย์ที่ดำรงในศาสนาจักรนั้นไม่ได้เผยแพร่ให้กับประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากป้องกันปัญหาการใช้ความรู้ในการเอาเปรียบประชาชน ทำให้ความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมไม่ได้รับการพัฒนา ต่อมาได้มีการตั้งร้านยาขึ้นในยุโรปเป็นครั้งแรก ณ เมืองโคโลญ ประเทศฝรั่งเศส และในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้มีการแบ่งเภสัชกรรมออกจากการแพทย์โดยพระองค์ทรงประกาศกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1240 ซึ่งควบคุมการดำเนินงานทางเภสัชกรรมภายใต้การควบคุมจากรัฐอย่างเข้มงวด ต่อมาชาวยุโรปได้มีการรวบรวมเภสัชตำรับอย่างเป็นทางการครั้งแรก เริ่มจากในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี และมีการจัดตั้งองค์กรทางการค้าด้านเภสัชกรรมขึ้นในอังกฤษในปี ค.ศ. 1617 ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1

ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้การปรุงยาโดยเภสัชกรเปลี่ยนแปลงเป็นการผลิตยาจำนวนมากในระบบเภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรเปลี่ยนบทบาทจากผู้ปรุงยาเป็นควบคุมการผลิต ปรับปรุงสูตรยาและค้นพบแขนงยาใหม่ ๆ มีการจัดตั้งองค์กรทางเภสัชกรรมระหว่างประเทศขึ้น เริ่มจากความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาและยุโรป และแพร่กระจายองค์ความรู้ด้านนี้ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อาทิ เอเชียแปซิฟิค เอเชียตะวันออก และออสเตรเลีย

ในประเทศไทยมีการศึกษาเภสัชกรรมในแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยา (ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระองค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมไทย ภายหลังการจัดตั้งกองโอสถศาลา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม และการจัดตั้งองค์การเภสัชกรรมขึ้นโดยเภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม แม้กระนั้น ความรู้ทางเภสัชกรรมไม่ได้เป็นที่สนใจของประชาชนนัก จนกระทั่งเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง การผลิตยาภายในประเทศไม่เพียงพอ จึงทำให้ศาสตร์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น และมีการจัดตั้งสถานศึกษาทางเภสัชศาสตร์เพิ่มเติมในเวลาต่อมา

สัญลักษณ์วิชาชีพ

[แก้]

สัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมมีความแตกต่างไปตามสถานที่และภูมิภาคเภสัชกรรมนั้น ๆ สัญลักษณ์สากลทั่วไปสำหรับเภสัชกรรมคือโกร่งบดยาและเรซิพี (℞) เภสัชกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมักใช้โชว์โกลบซึ่งเป็นโคมไฟแขวนเป็นสัญลักษณ์ของร้านยาในสมัยโบราณ ปัจจุบันองค์กรทางเภสัชกรรมทั่วไปโลกใช้สัญลักษณ์สากลสำคัญได้แก่ ถ้วยตวงยา ถ้วยยาไฮเกีย และคทางูไขว้ แต่ในภูมิภาคหรือบางประเทศมีสัญลักษณ์ทางเภสัชกรรมท้องถิ่น อาทิ ประเทศฝรั่งเศส อาร์เจนตินา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และอิตาลีใช้สัญลักษณ์กากบาทเขียว ในประเทศเยอรมนีและออสเตรียใช้สัญลักษณ์คล้ายอักษร A ในภาษาอังกฤษซึ่งย่อมาจากคำว่า Apotheke ในภาษาเยอรมัน และในประเทศไทยใช้เฉลวเป็นสัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย

สาขาวิชาชีพ

[แก้]

สาขาวิชาชีพของเภสัชกรได้จำแนกออกตามสถานที่ปฏิบัติการของเภสัชกร อันได้แก่ ร้านยา โรงพยาบาล คลินิก อุตสาหกรรม และเภสัชกรนักการตลาด เภสัชกรในแต่ละสถานที่ปฏิบัติการจะมีความชำนาญแตกต่างกัน แต่ทุกสาขาจะมีความรู้พื้นฐานทางโลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา โรค ท่าทางที่เหมาะสม สารอาหารเสริม เภสัชสารสนเทศ กุมารเวชศาสตร์ เป็นต้น

เภสัชกรรมชุมชน

[แก้]
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนในอิตาลี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยา คือสถานที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ของเภสัชกรทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยคลังยาและการกระจายยา การจ่ายยาของเภสัชกรต้องอ้างอิงถึงใบสั่งแพทย์และการซักถามประวัติผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาเพื่อจ่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วย เภสัชกรทุกคนต้องอยู่ปฏิบัติการ ณ สถานที่ปฏิบัติการที่ตนสังกัดตลอดเวลาที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ครอบคลุมถึงแผนกเภสัชกรรมในห้างร้านต่าง ๆ ด้วย นอกจากสถานที่ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนจะจ่ายยาแล้ว บางสถานยังเพิ่มสินค้าทางด้านเวชสำอางค์และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม

เภสัชกรรมโรงพยาบาล

[แก้]

เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โดยมีหน้าที่ทางการจัดการด้านคลินิกการแพทย์ เนื่องจากภายในโรงพยาบาลมีงานที่ซับซ้อนกว่า อาทิ เภสัชวินิจฉัย รูปแบบการใช้ยาที่ปลอดภัยเนื่องด้วยยาที่ใช้ในโรงพยาบาลมีความซับซ้อนและมีปฏิกิริยาที่ต้องอยู่ในความควบคุมของเภสัชกร ดังนั้นในโรงพยาบาล เภสัชกรจึงมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิ โลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา เอดส์ โรคเรื้อรัง บริบาลเภสัชกรรม การแพทย์ฉุกเฉิน พิษวิทยา เป็นต้น

เภสัชกรรมคลินิก

[แก้]

งานเภสัชกรรมคลินิกเป็นอีกหนึ่งในบทบาทของเภสัชกร ที่มีหน้าที่โดยตรง ในดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยา เภสัชกรที่ปฏิบัติการในสาขานี้จะปฏิบัติทั้งในโรงพยาบาล ร้านขายยา และคลินิกทางเวชกรรมทั่วไป ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลาการทางสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการใช้ยาที่ดีขึ้น งานที่ถือว่าเป็นงานเภสัชกรรมคลินิก ได้แก่ การคัดเลือกยาที่ถูกต้องเหมาะสม การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วย และการจัดการการใช้ยาอันตรายสูง จะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากเภสัชกร

เภสัชอุตสาหกรรม

[แก้]

เภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านอุตสาหกรรมคือการผลิตยาให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและการวิจัยคิดค้นยาขนานใหม่ ๆ การผลิตยาเพื่อให้ได้รูปแบบที่ใช้ง่ายและเหมาะสมกับช่องทางการรับยาของผู้ป่วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เรียกข้อมูลวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

องค์กรวิชาชีพ

[แก้]

หน่วยงานควบคุม

[แก้]

ประวัติ

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เภสัชกรรม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?