For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บริหารเภสัชกิจ.

บริหารเภสัชกิจ

“การบริหารเภสัชกิจ” (อังกฤษ: Pharmaceutical Administration) หมายความว่า วิทยาการสาขาหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรรมที่เกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะทางเภสัชศาสตร์บูรณาการร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการบริหารจัดการอุปสงค์ และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพ ให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนสามารถเข้าถึงยา  ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  การบริการสุขภาพ  รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง  โดยคํานึงถึงความปลอดภัยและความคุ้มค่า  ประกอบด้วย การจัดการนวัตกรรมด้านยาบนฐานความต้องการทางสุขภาพ  การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม สร้างกรอบความต้องการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากปัญหาในระบบสุขภาพ การใช้ภาวะผู้นําและเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาบทบาทวิชาชีพและงานบริการเภสัชกรรม การจัดการระบบอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ  การเลือกสรร การกระจาย การจัดการความเสี่ยงในระบบสุขภาพ เภสัชเศรษฐศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในการจัดการระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพ  วิทยาการกํากับดูแลยา  เภสัชสารสนเทศและการจัดการข้อมูลยา การจัดการและการสื่อสารข้อมูลยาเชิงวิชาชีพ การจัดการสิทธิประโยชน์ของประชาชนทางเภสัชกรรม  การออกแบบระบบและบริหารนโยบายด้านยาและสุขภาพ  ทั้งนี้ รวมถึงองค์ความรู้ และทักษะทางเภสัชศาสตร์อื่น ๆ ตามที่สภาเภสัชกรรมประกาศกําหนด

สาขาการบริหารเภสัชกิจ

[แก้]
  • สาขาการบริหารเภสัชกิจประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การจัดการนวัตกรรมด้านยา ด้านที่ 2 การจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้านที่ 3 การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และการจัดการสิทธิประโยชน์ของประชาชนทางเภสัชกรรม ด้านที่ 4 เภสัชสารสนเทศและการจัดการข้อมูล และ ด้านที่ 5 การออกแบบระบบและบริหารนโยบายด้านยาและสุขภาพ

การจัดการนวัตกรรมด้านยา

[แก้]

การอำนวยการให้มียาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พัฒนาขึ้นจากความต้องการ ความจำเป็นตามสภาพร่างกายและการเจ็บป่วยที่พบในสังคม เพื่อมีไว้บริการในระบบยาของประเทศ 1) ริเริ่มสร้างสรรค์ วิเคราะห์ปัญหาและสังเคราะห์กรอบความต้องการ นำสู่กระบวนการพัฒนานวัตกรรมยา หรือรูปแบบการใช้ยาที่เหมาะสม หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการทางการรักษา (medical feasibility) ตามแนวโน้มความเป็นไปด้านสุขภาพและความเจ็บป่วย 2) วางแผนและจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการ เลือกสรรหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตหรือนำเข้ายา (product feasibility) มีภาวะผู้นำ ในการดำเนินการ สอดคล้องตามบริบททางสังคม เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ ระเบียบกฎหมายและการจัดการสิทธิบัตรยา ให้เอื้อประโยชน์ต่อการรักษา 3) สร้างตัวแบบทางการตลาดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (market feasibility) อย่างผู้ประกอบการ วิเคราะห์ความต้องการตลาด ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ ขนาดตลาด นวัตกรรมการปฏิบัติ ด้านการตลาดที่เข้าถึงผู้ใช้ เพื่อรองรับผลผลิตจากการพัฒนา และการเสนอขอรับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สามารถดำเนินการได้

การจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

[แก้]

จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการใช้เมื่อจำเป็น  1) ออกแบบห่วงโซ่อุปทานด้านยาได้อย่างเหมาะสมตามบริบทสภาพงาน บริหารจัดการคลังยาให้เพียงพอ วางแผน และจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการจัดหา จัดเก็บรักษา จัดหมวดหมู่ จัดวางตำแหน่งและเส้นทางการส่งต่อ และนำส่งยาไปสู่ผู้ใช้ได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล 2) กำกับดูแลการจัดหาและการกระจายยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามหลักวิชาการและระเบียบกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ถึงผู้ใช้เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับบุคลากรการแพทย์และสนับสนุนให้เกิดการใช้ยาอย่างสมหตุผล 3) มีภาวะผู้นำในการสร้างกลยุทธ์ หรือ นวัตกรรม หรือเครื่องมือเพื่อเพิ่มคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทาน บูรณาการข้ามศาสตร์ (multi-disciplinary approach) ในการพัฒนาบุคลากรและการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนอย่างเหมาะสม 4) กำกับ และติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาในระบบ วิเคราะห์และประเมินผลการจัดการในระบบห่วงโซ่อุปทานยา เพื่อประกันคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้ยา 5) จัดการความเสี่ยง วิเคราะห์โอกาสความเสี่ยง ความรุนแรงของผลกระทบ และปัจจัยสาเหตุของปัญหาในห่วงโซ่อุปทานยา ประเมินผลสืบเนื่อง และออกแบบมาตรการลดความเสี่ยงและการจัดการ ผลกระทบด้านความปลอดภัยจากการใช้ยา 6) จัดการระบบห่วงโซ่อุปทานยาในภาวะวิกฤติและการรับเหตุฉุกเฉิน วิเคราะห์ประมวลเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และจัดการผลกระทบไม่ให้เกิดความเสียหายในวงกว้างต่อระบบห่วงโซ่ อุปทานยา ทั้งความปลอดภัยและการเข้าถึงยาที่มีความจำเป็นของผู้ป่วย

การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และการจัดการสิทธิประโยชน์ของประชาชนทางเภสัชกรรม

[แก้]

การปฏิบัติงานด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ครอบคลุมการประเมินผลิตภัณฑ์ยา และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ รวมทั้งการบริหารจัดการ เพื่อการออกแบบชุดสิทธิประโยชน์ทางเภสัชกรรม และนโยบายด้านการเงินการคลัง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาและบริการทางเภสัชกรรม 1) ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพจากมุมมองและมิติต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ สังคม และจริยธรรม โดยคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น ประสิทธิผล ความปลอดภัย ต้นทุน ความคุ้มค่า และผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง  2) ศึกษาผลกระทบด้านงบประมาณต่อองค์กรและต่อระบบสุขภาพ เพื่อใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย 3) บูรณาการข้อมูลและผลการศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจการคัดเลือกรายการยา เครื่องมือแพทย์ หรือบริการทางการแพทย์และเภสัชกรรม เข้าสู่บัญชียาของสถานพยาบาลและชุดสิทธิประโยชน์โดยให้สามารถครอบคลุมความจำเป็นด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม 4) ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจกำหนด / ต่อรองราคายา เครื่องมือแพทย์ หรือบริการทางการแพทย์และเภสัชกรรม 5) ออกแบบระบบการเงินการคลังด้านยาและบริการทางเภสัชกรรม รวมถึงการกำหนด อัตรา และกลไกการเบิกจ่าย รวมทั้งสร้างกลไกการจัดการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาและสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพ และภายในสถานพยาบาล

เภสัชสารสนเทศและการจัดการข้อมูล

[แก้]

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการลดปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน การออกแบบและใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนและบริหารจัดการองค์กร 1) ประเมินสภาพงานที่ปฏิบัติ วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในงานบริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานได้อย่างมีผลสัมฤทธ์ บริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการยอมรับและใช้ระบบสารสนเทศในหน่วยงาน 2) ออกแบบและใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ระบุสารสนเทศที่สำคัญที่ช่วยการตัดสินใจบริหารจัดการและพัฒนาการทำงาน ออกแบบ จัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักและแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย ให้เกิดสารสนเทศประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การพัฒนาการทำงานของหน่วยงานและองค์กรอย่างมีผลสัมฤทธิ์

การออกแบบระบบและบริหารนโยบายด้านยาและสุขภาพ

[แก้]

รวมถึงนโยบายสาธารณะด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพโลก (Global Health) 1) ใช้เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์นโยบายด้านยาและสุขภาพ ศึกษาคาดการณ์ผลกระทบ ออกแบบทางเลือกเชิงนโยบาย และศึกษาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ ผลสัมฤทธิ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในกระบวนการปรับปรุงนโยบาย 2) วิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์สุขภาพโลกต่อระบบยาและระบบสุขภาพของประเทศ ออกแบบนโยบาย และการจัดการที่เหมาะสมในด้านอุปสงค์และอุปทานของยา และวัคซีน เพื่อการควบคุม รับมือ และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 3) วิเคราะห์ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบแนวทางการดำเนิน นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบยาและระบบสุขภาพ เพื่อส่งเสริมความสอดคล้องของนโยบายสาธารณะ 4) ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศที่มีต่อระบบยาและระบบสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย การเจรจา และการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าระหว่างประเทศ 5) บูรณาการข้อมูลเชิงประจักษ์และผลการศึกษา เพื่อการออกแบบและจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านยาและสุขภาพ รวมถึงนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพของประชาชน

อ้างอิง

[แก้]
  • ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2564
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บริหารเภสัชกิจ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?