For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เทศมณฑลของอังกฤษ.

เทศมณฑลของอังกฤษ

เทศมณฑลของประเทศอังกฤษ
หรือเรียกว่า
ไชร์ (Shire)
เทศมณฑลทางพิธีการ
เทศมณฑลมหานครและนอกมหานคร
หมวดหมู่เทศมณฑล (County)
ที่ตั้ง อังกฤษ
พบในภูมิภาค
ก่อตั้งก่อตั้งในยุคกลาง
สถานะที่เป็นไปได้เทศมณฑลทางพิธีการ (48 แห่ง)
เทศมณฑลมหานครและนอกมหานคร (82 แห่ง)

เทศมณฑลของประเทศอังกฤษ เป็นการแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ การบริหาร ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง คำว่า "เทศมณฑล" ถูกจำกัดความในหลายลักษณะ บางแห่งใช้กำหนดในพื้นที่เดียวกัน และบางแห่งก็ใช้กำหนดพื้นที่ที่ต่างกันเล็กน้อย[1] ประเภทของเทศมณฑลที่แตกต่างกันเหล่านี้ต่างมีชื่อเรียกที่เป็นทางการกว่า แต่ก็มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า "เทศมณฑล" การจัดระเบียบโครงสร้างของเทศมณฑลมีการปฏิรูปเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เทศมณฑลของประเทศอังกฤษสามารถเทียบได้กับจังหวัดของประเทศไทย

มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส”

ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น

มณฑลในประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่มณฑลในประวัติศาสตร์

มณฑลในประวัติศาสตร์หรือที่รู้จักกันในฐานะมณฑลโบราณ 39 มณฑล ระบบมณฑลเดิมเรียกว่า “ไชร์” ที่เริ่มใช้ครั้งแรกภายในราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ อาจจะประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 และขยายไปทั่วประเทศกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9, 10 และ 11 ระบบ “ไชร์” จึงกลายเป็นระบบเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของโครงสร้างของระบบการปกครองของมณฑลตลอดมาในประวัติศาสตร์ ระบบ “ไชร์” เลิกใช้เป็นระบบการรายงานจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1841 มณฑลในประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมดเป็นพื้นฐานของการจัดระบบรัฐบาลส่วนท้องถิ่นโดยมีการปฏิรูปจากเดิมไปบ้าง[2]

มณฑลลงทะเบียน

[แก้]

มณฑลลงทะเบียนใช้ระหว่าง ค.ศ. 1851 ถึง ค.ศ. 1930 ในกรรายงานจำนวนประชากรระหว่าง ค.ศ. 1851 ถึง ค.ศ. 1911 มณฑลลงทะเบียนเกิดจากการรวมบริเวณอำเภอลงทะเบียนที่เล็กกว่าเข้าด้วยกัน เดิมมีรากฐานมาจากระบบเทศบาลเมือง (Municipal borough), เขตสังคมสงเคราะห์ของสหราชอาณาจักร (Poor Law Union) และต่อมาเขตสุขาภิบาลของอังกฤษและเวลส์ เขตมณฑลลงทะเบียนคาบเขตแดนประวัติศาสตร์ของมณฑลที่ทำให้เขตมณฑลลงทะเบียนแตกต่างจากมณฑลในประวัติศาสตร์

ค.ศ. 1889 ถึง ค.ศ. 1974

[แก้]
มณฑลในปี ค.ศ. 1974
มณฑลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19 ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบรัฐบาลบริหารส่วนท้องถิ่นของมณฑลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเขตการปกครอง (Local Government (Boundaries) Act) ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 เพื่อสำรวจเขตการปกครองของมณฑลในอังกฤษและเวลส์ทั้งหมด คณะกรรมาธิการยื่นร่างพระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่นต่อรัฐสภาในปีต่อมา

ผลของร่างพระราชบัญญัติก็ออกมาเป็นพระราชบัญญัติรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ค.ศ. 1888 (Local Government Act 1888) ที่ก่อตั้งระบบเทศบาลมณฑล (County council) ผู้มาจากการเลือกตั้งในอังกฤษในปี ค.ศ. 1889 ที่มาแทนหน้าที่หลายหน้าที่ของระบบศาลปกครองสี่สมัย (Quarter Sessions) และหน้าที่อื่นที่ได้รับในปีต่อๆ มา นครลอนดอนก่อตั้งจากบางส่วนของมณฑลเค้นท์, มิดเดิลเซ็กซ์ เซอร์รีย์[3] มณฑลแบ่งเป็นสองประเภท: มณฑลบริหาร (Administrative county) (บริเวณที่บริหารโดยเทศบาลมณฑล) และหน่วยงานบริหารอิสระเทศบาลมณฑล (County council) [4] ตามทฤษฎี “เทศบาลมณฑล” ของมณฑลเป็นระบบการบริหารที่เป็นหน่วยงานบริหารหน่วยเดียวเมื่อเทียบกับ “มณฑลบริหาร” ของมณฑลอื่นๆ ที่แบ่งเป็นหน่วยงานบริหารเป็นหลายหน่วย มณฑลที่เป็นระบบ “เทศบาลมณฑล” ก็ได้แก่เคมบริดจ์เชอร์, แฮมป์เชอร์, ลิงคอล์นเชอร์, นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, ซัฟโฟล์ค, ซัสเซ็กซ์ และยอร์คเชอร์

“มณฑล” ใช้ในความหมายอื่นนอกไปจากการใช้สำหรับรัฐบาลส่วนท้องถิ่นด้วย เช่นระบบการแต่งตั้งลอร์ดเล็ฟเทนแนนท์ที่เปลี่ยนไปที่อาจจะหมายถึงระบบมณฑลบริหารหน่วยเดียวหรือระบบเทศบาลมณฑลที่เป็น “ภาคี” กัน โดยมีข้อยกเว้นของนครหลวงลอนดอนซึ่งเป็น “มณฑลอิสระ” (County corporate) ที่มีผู้บริหารมณฑลแทนพระองค์ของตนเอง ตามกฎหมายหลังปี ค.ศ. 1888 ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “มณฑล” ก็หมายถึงเขตการบริหารที่กล่าวนี้ แต่ความหมายอย่างไม่เป็นทางการใช้คำว่า “มณฑลทางภูมิศาสตร์” สำหรับเพื่อแสดงความแตกต่างจาก “มณฑลบริหาร” มณฑลเหล่านี้ปรากฏในแผนที่ของกรมแผนที่ (Ordnance Survey) ในเวลานั้นโดยใช้ทั้งสองชื่อและมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “มณฑลผู้บริหารแทนพระองค์

เขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยงแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดมาที่อาจจะเกิดจากการผนวกบริเวณปริมณฑลเข้ากับตัวเมืองเป็นต้น การเปลี่ยงแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1931 เมื่อกลอสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, และ วูสเตอร์เชอร์ ถูกปรับเปลี่ยนโดยพระราชบัญญัติการจัดเขตการปกครองของกลอสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, และวูสเตอร์เชอร์ (Provisional Order Confirmation (Gloucestershire, Warwickshire and Worcestershire)) ที่โยกย้ายท้องถิ่น/ตำบล (parish) 26 ท้องถิ่นระหว่าง 3 มณฑลนั้นเพื่อจะกำจัดมณฑลที่มีเขตการปกครองแตกแยก (List of county exclaves in England and Wales) ในอังกฤษและเวลส์

คณะกรรมาธิการจัดเขตแดนของรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government Boundary Commission) ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1945 โดยมีอำนาจในการรวม, ก่อตั้งใหม่, หรือแบ่งแยกมณฑลบริหารและเทศบาลมณฑลที่มีอยู่ในขณะนั้นทั้งหมด ถ้าข้อเสนอของคณะกรรมาธิการได้รับการอนุมัติแผนที่เขตการปกครองระดับมณฑลของอังกฤษก็ต้องวาดใหม่ทั้งหมด แต่โครงการการตรวจสอบเขตการปกครองระดับมณฑลโดยคณะกรรมาธิการมาถูกละทิ้งหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักรอังกฤษในปี ค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1957 ก็มีการก่อตั้งราชกรรมาธิการเกี่ยวกับรัฐบาลท้องถิ่นของนครลอนดอนและปริมณฑล (Royal Commission on Local Government in Greater London) และคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ (Local Government Commission for England) ในปี ค.ศ. 1958 เพื่อเสนอโครงสร้างใหม่ของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ผลงานสำคัญของงานของกรรมาธิการในปี ค.ศ. 1965 คือ: นครลอนดอนเดิมถูกยุบและแทนที่ด้วย “เขตบริหาร” ของนครลอนดอนและปริมณฑล ที่รวมทั้งส่วนที่เหลือของมิดเดิลเซ็กซ์, บางส่วนของเซอร์รีย์, เค้นท์, เอสเซ็กซ์และฮาร์ทฟอร์ดเชอร์; ฮันติงดันเชอร์ถูกรวมกับโซคแห่งปีเตอร์เบรอเป็นฮาร์ทฟอร์ดเชอร์และปีเตอร์เบรอ; และมณฑลบริหารเคมบริดจ์เชอร์เดิมถูกรวมกับไอล์ออฟอีลีเป็น เคมบริดจ์เชอร์และไอล์ออฟอีลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The problem of "county confusion" – and how to resolve it". County-wise. สืบค้นเมื่อ 28 July 2018.
  2. Her Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government (1996)
  3. Thomson, D., England in the Nineteenth Century (1815-1914) (1978)
  4. Bryne, T., Local Government in Britain, (1994)

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เทศมณฑลของอังกฤษ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?