For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู).

เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง
เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี
เสียชีวิตวัดช้าง
ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม

เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี หรือ พระราชมนู เป็นขุนศึกและสมุหพระกลาโหมคนสำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระราชมนู เกิดเมื่อไรและมีชื่อใดไม่ปรากฏในพงศาวดาร แต่ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคราวประกาศอิสรภาพจึงสันนิษฐานว่าครอบครัวของพระราชมนูอาจถูกกวาดต้อนคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

ได้มีการกล่าวไว้ในพงศาวดารว่าพระราชมนูเป็นทหารที่เก่งกล้าและมีความสามารถนอกจากนั้นยังเป็นทหารคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวรอีกด้วย ซึ่งพระราชมนูมักออกศึกเคียงคู่สมเด็จพระนเรศวรในการตีเมืองต่างๆ เสมอและสามารถชนะกลับมาได้เกือบทุกครั้งรวมถึงศึกยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่ายอีกด้วย ภายหลังพระราชมนูได้รับการโปรดเกล้าจากสมเด็จพระนเรศวรให้เป็นออกญาพระสมุหกลาโหม แต่ประวัติของพระราชมนูมีอยู่น้อยมากเพราะมีการกล่าวถึงในพงศาวดารไม่กี่เล่ม[1]

พระราชมนูนั้นเคยรับพระราชบัญชาให้ไปตีเมืองโพธิสัตว์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตพม่า) ซึ่งถือเป็นเมืองใหญ่ ในครั้งยังมียศเป็นคุณพระ ตอนนั้นองค์ดำเกรงว่าทัพน้อยของพระราชมนูจะไม่อาจเอาชัย จึงส่งทัพหลวงออกตามไปช่วย ปรากฏว่าเมื่อทัพหลวงไปถึง เมืองโพธิสัตว์ก็แตกเสียแล้ว[2] ทัพหลวงไม่ต้องเข้าช่วยแต่อย่างใด

นอกจากนี้พระราชมนูยังมีความบ้าบิ่นอย่างที่ใครๆในยุคนั้นไม่กล้า คือการขัดรับสั่งของพระนเรศในคราวตามเสด็จศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งพระราชมนูขัดรับสั่งถอนทัพโดยกล่าวว่า[3]

"การรบกำลังติดพัน กลัวว่าถอยแล้วจะเป็นเหตุให้ข้าศึกตามตี"

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระองค์จึงได้ปูนบำเหน็จให้พระราชมนูขึ้นเป็น เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี ที่สมุหพระกลาโหม พระราชทานพานทอง น้ำเต้าทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ ฝวักทองและเครื่องอุปโภคต่าง ๆ[4]

ล่าสุดได้มีการค้นพบเจดีย์บรรจุอัฐิของเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีหรือพระราชมนูพร้อมกับภริยาที่วัดช้าง บ้านน้ำผึ้ง ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ทำให้ได้ทราบความจริงว่าพระราชมนูนั้นมีชื่อจริงว่า เพชร หรือ เพ็ชร เมื่อสิ้นรัชสมัยของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วพระราชมนูได้ลาออกจากราชการและมาบวชจำพรรษาที่วัดช้างให้จนมรณภาพซึ่งทางกรมศิลปากรได้เตรียมเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์บรรจุอัฐิของพระราชมนูและภริยา[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. france32370. พระราชมนู ทหารเอกของสมเด็จพระณเรศวรมหาราช เว็บไซต์ mythland . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1] เก็บถาวร 2014-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 8-11-56
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวัน วลิต กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 320
  3. มนตรี อมาตยกุล. พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2507, หน้า 114
  4. nona. พระราชมนู นายกองเลือดเดือดแห่งทัพพระนเรศวร เว็บไซต์ OKnation . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [2] เก็บถาวร 2008-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 8-11-56
  5. เก่าจริง เจดีย์อัฐิ ‘พระราชมนู’ ทหารคู่ใจพระนเรศวร บวชตายในผ้าเหลือง
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?