For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง ในรัชกาลที่ 4.

เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง ในรัชกาลที่ 4

กำโพชราชสุดาดวง
บาทบริจาริกาในรัชกาลที่ 4
ประสูติพ.ศ. 2394
สิ้นพระชนม์ไม่ปรากฏ
คู่อภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม (ประสูติ)
จักรี (เสกสมรส)
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อม
ศาสนาพุทธ

เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง หรือพระนามเดิม นักเยี่ยม เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร พระมหากษัตริย์กรุงกัมพูชา ซึ่งถือเป็นเจ้าประเทศราชของสยามในขณะนั้น และเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์กรุงสยาม และหากเจ้าจอมท่านนี้ประสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นก็จะเป็นเจ้าฟ้าโดยอัตโนมัติ เพราะถือว่ามีพระชนนีเป็นเจ้า เช่นเดียวกับกรณีของเจ้าจอมตนกูสุเบีย บาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกท่านที่เป็นเจ้านายต่างด้าวเช่นกัน แต่เจ้าจอมทั้งสองท่านก็มิได้ประสูติพระราชบุตรแต่อย่างใด[1][2]

หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2411 เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงถวายบังคมออกจากพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพมหานคร กลับไปประทับกรุงกัมพูชาพร้อมกับเจ้าจอมนักพลอย พระขนิษฐาที่เข้ามารับราชการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง มีพระนามเดิมว่า นักเยี่ยม เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร พระมหากษัตริย์กรุงกัมพูชา ซึ่งถือเป็นเจ้าประเทศราชของสยามในขณะนั้น กับพระมารดาชื่อ เจ้าจอมมารดาน้อม ธิดาของขุนนางในราชสำนักกัมพูชา[3] มีพระโสทรกนิษฐภคินีคือ พระองค์เจ้าพวงกัมโพชรัตนะ (ประสูติราว พ.ศ. 2399 หรือ 2400)[4]

ต่อมานักเยี่ยมและพระขนิษฐาคือนักพลอย เป็นพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดมทั้งสองพระองค์ เข้าถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์กรุงสยาม[5] แม้จะเป็นบาทบริจาริกาแต่ก็ถือว่าเป็นพระธิดาของเจ้าประเทศราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าสถาปนานักเยี่ยม ให้มีพระอิสริยยศเป็น พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง[6] มีสถานะเป็นเจ้านายที่มิได้มีเชื้อสายในราชวงศ์จักรี[7] ด้วยมีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้านายจากต่างประเทศ หากเจ้าจอมมีพระสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นจะถูกยกเป็น เจ้าฟ้า ตั้งแต่แรกประสูติหรือที่เรียกว่า "เจ้าฟ้าไบไรต์"[1] เช่นเดียวกับเจ้าจอมตนกูสุเบีย พระสนมอีกพระองค์หนึ่งที่เป็นเจ้านายจากเมืองเขมร แต่เจ้าจอมก็มิได้ให้ประสูติการพระราชโอรส ดังปรากฏใน ธรรมเนียมในราชตระกูลสยาม ความว่า[1]

"...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเยี่ยมซึ่งเป็นบุตรสมเด็จพระเจ้านโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งโปรดฯ ให้เป็นพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง แลตนกูสุเบีย ซึ่งเป็นน้องสาวสุลต่านมหมุดเมืองลิงงา เป็นพระสนมอยู่ทั้งสองคน ก็ได้ปรารภเป็นการดังทราบทั่วกัน ถ้าพระราชบุตรเกิดด้วยเจ้า ๒ คนนี้ ก็ต้องเป็นเจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนกัน แต่ก็มีคนรังเกียจอยู่ในการที่จะต้องเป็นดังนั้นมาก"

หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2411 หลังจากนั้นทางราชสำนักกัมพูชาจึงส่งออกญารัตนาธิเบศร์ (ต่อมาเป็นที่ ออกญาพิพิธไอศูรย์) เข้าไปรับพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงหรือนักเยี่ยม และนักพลอย กลับกรุงกัมพูชา[5]

เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ทราบว่ายังมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง พ.ศ. 2452[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ธรรมเนียมราชตระกูลแห่งรัตนโกสินทร์". ภาษาสยาม. 10 พฤศจิกายน 2551. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5". ศิลปวัฒนธรรม. 1 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "The Varman Dynasty Genealogy (9)". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "The Varman Dynasty Genealogy (12)". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. นิราศนครวัด. พระนคร : บรรณาคาร, 2515, หน้า 203-204
  6. ""หม่อมเจ้าพรรณราย" พระมเหสีผู้ทรง "ออกรับแขกเมือง" สมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 22 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 288. ISBN 74-221-818-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน ((ISBN)): length
  8. "Norodom Family". Wordpress. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง ในรัชกาลที่ 4
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?