For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for อี ซึง-มัน.

อี ซึง-มัน

อี ซึง-มัน
이승만
李承晩
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 – 26 เมษายน พ.ศ. 2503
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุน โบซอน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2418
แฮจู ฮวังแฮ อาณาจักรโชซ็อน
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 (90 ปี)
โฮโนลูลู  รัฐฮาวาย  สหรัฐ
ศาสนาศาสนาคริสต์-เมทอดิสต์[2]
พรรคการเมืองเสรีนิยม
คู่สมรสพัก ซึงซอน (2433-2453)
ฟรันซิสกา ดอเนอร์ (2474-2503) [1]
ลายมือชื่อ

อี ซึง-มัน (อักษรโรมัน: Yi Seung-man แต่เจ้าของชื่อเลือกสะกดเป็นอักษรโรมันว่า Syngman Rhee; เกาหลี이승만; ฮันจา李承晩; 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 จนถึงเมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความตึงเครียดของสงครามเย็น ในคาบสมุทรเกาหลี

อีนั้นเป็นพวกมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเป็นเผด็จการ เขายังนำเกาหลีใต้เข้าสู่สงครามเกาหลี ความเป็นประธานาธิบดีของเขาสิ้นสุดลงเมื่อเขาลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีการประท้วงใหญ่อันเนื่องมาจากมีข้อสงสัยว่าเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส และถึงแก่อสัญกรรมขณะลี้ภัยที่รัฐฮาวาย

ประวัติ

[แก้]

ชีวประวัติเริ่มแรก

[แก้]
อี ซึง-มัน (บนซ้ายสุด) ขณะจำคุกในปี พ.ศ. 2442

อี ซึง-มันเกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 เกิดในครอบครัวชนชั้นปกครองที่มีทรัพย์สินพอประมาณที่จังหวัดฮวังแฮ ประเทศเกาหลี เขาเป็นน้องคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งห้าคน แต่อย่างไรก็ตามบรรดาพี่ของเขาก็เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครอบครัวของอีนั้นสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าแทจง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซ็อน โดยสืบเชื้อสายมาจากเจ้าชายยังนย็อง เมื่อเขาอายุได้ 2 ปี ครอบครัวของเขาก็ย้ายมายังโซล การศึกษาในช่วงเริ่มแรกของเขายังเป็นแบบธรรมเนียมโบราณคือเรียน วรรณกรรมจีน ถึงแม้ว่าเขาจะพยายามสอบเพื่อที่จะเข้ารับราชการ แต่เขาก็ไม่สามารถที่จะสอบเข้ารับราชการได้ เมื่อมีการปฏิรูปโดยยกเลิกระบบการศึกษาแบบโบราณ อีจึงเข้าไปเรียนในโรงเรียนเพเจ ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยมิชันนารีชาวสหรัฐอเมริกา[3] อีเริ่มฝึกเรียนภาษาอังกฤษ และได้ทำหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนคือหนังสือพิมพ์ เมอิล ซินมัน[4]

อีได้ไปเข้าชมรมเพื่อเอกราช เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเมืองในปี 2439 ในผลที่ตามมาจากการที่เขาประท้วงญี่ปุ่นที่เข้ามาแทรกแซงคาบสมุทรเกาหลี อีจึงถูกจับกุมด้วบข้อหาการปลุกระดมฝูงชนให้ต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2442 อีล้มเหลวในการพยายามหลบหนีออกจากคุกและถูกทรมานและถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ระหว่างถูกจำคุกนั้นอีได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือที่ลักลอบนำไปให้โดยเพื่อนหรือพวกทูต และต่อมาอีก็ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ขณะที่อยู่ภายในคุก และเริ่มต้นนำคัมภีร์ใบเบิลเข้ามาศึกษาในคุกกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำด้วยกัน และเขายังเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ และเริ่มต้นโครงการห้องสมุดสำหรับนักโทษซึ่งมีจำนวนหนังสือ 500 เล่ม อียังเขียนแถลงการณ์การเมืองอีกด้วยในชื่อว่า จิตวิญญาณของความเป็นเอกราช[4]

การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช

[แก้]
อี ซึง-มันในปี 2448

จากการประทุขึ้นของสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ทำให้การเมืองในเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลง และอีก็ถูกปล่อยออกจากเรือนจำในปี พ.ศ. 2447 และหลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นพระบรมราชโองการ สู่การประชุมสันติภาพและยุติสงคราม อีไปถึงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนธันวาคมในปีนั้น ไปพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จอห์น เฮย์ และประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพอร์ทเมาท์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ และพยายามที่จะโน้มน้าวสหรัฐฯเข้ามาแทรกแซงและยอมรับสถานความมีอำนาจอธิปไตยของเกาหลี[5] แต่การเจรจาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จและเกาหลีก็กลายเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นในปี 2448[4]ด้วยความช่วยเหลือของมิชชันนารี อียังคงอาศัยอยู่ในสหรัฐฯเพื่อศึกษาต่อ และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ในปี 2450 และศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี 2453 และ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปีเดียวกัน สาขาที่อีศึกษาประกอบไปด้วย การเมือง,ประวัติศาสตร์,ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,เทววิทยาและกฎหมาย และอีเริ่มเขียนชื่อของเขาถามวิธีแบบตะวันตก โดยเอาชื่อตัวไว้ก่อนชื่อสกุล[6]

อี ซีงมันกลับมายังเกาหลีในช่วงปลายปี 2453 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสมาคมคนรุ่นใหม่คริสเตียนในโซล อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นพึ่งผนวกเกาหลีและเริ่มต้นปราบปรามอย่างรุนแรงกับชุมชนชาวคริสต์ในเกาหลี อีก 15 เดือนถัดมาอีได้ออกจากเกาหลีไปยังสหรัฐอเมริกาโดยอ้างว่าไปเข้าร่วมการประชุมเมทอดิสต์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการถูกปราบปรามอย่างรุ่นแรง อีไปถึงฮาวายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2455 และเริ่มต้นเปิดโรงเรียนสำหรับชาวคริสเตียนเพื่อผู้อพยพชาวเกาหลีและกลายเป็นมีส่วนร่วมในชุมชุนชาวเกาหลีอเมริกันในท้องถิ่นนั้น ซึ่งทำให้เกิดผู้อพยพขึ้นเปนจำนวนมากอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการเมืองภายในประเทศ[6]

อี ซึง-มันและคิม คยูซิก ในปี 2462

ในปี 2454 อีได้กลับมายังเกาหลี (ซึ่งตอนนั้นถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นแล้ว) ในฐานะเป็นผู้ประสานงานของวายเอ็มซีเอและมิชชันนารี[7][8] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาเป็นจุดสนใจที่ไม่น่ายินดีนักของทหารญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2462 บรรดาบุคคลสำคัญในขบวนการสนับสนุนการเป็นเอกราชได้ก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ และอีก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งนาน 6 ปี จนกระทั่งถูกถอดถอนออกตามการกล่าวหา (อิมพีชเมนท์) โดยสภาเฉพาะกาลสำหรับการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ

อีได้ลี้ภัยโดยไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาในนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. และต่อจากนั้นก็ไปฮาวาย ซึ่งมีชุมชนชาวเกาหลีที่ลี้ภัยเนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุด ดอนเนอร์นั้นทำงานอยู่ในอเมริกาโดยมีตำแหน่งเป็นเลขนุการของอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเตรียมหนังสือ "รู้นอกในญี่ปุ่น"(2483)

ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่น อีได้กลับไปยังเกาหลีจากการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดี

[แก้]

การขึ้นสู่ตำแหน่ง

[แก้]
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (15 สิงหาคม 2491)

ภายหลังจากเกาหลีได้รับเอกราชในปี 2488 อีได้กลับไปยังโซลก่อนหน้าผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชคนอื่นๆ ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา อีได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำของรัฐบาลเกาหลีในปี 2488 โดยอีได้เริ่มต้นนโยบาย "โค่นล้มคอมมิวนิสต์" อย่างไรก็ตาม ในสุนทรพจน์ของเขาในปีต่อๆมาหลังจากที่เขาเป็นประธานาธิบดี เขามักเปรียบเทียบคู่แข่งทางการเมืองของเขากับคอมมิวนิสต์อยู่บ่อยๆ[9]

อีชนะการเลือกตั้งสภาสมัชชาแห่งชาติครั้งแรกของเกาหลีใต้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 โดยเป็นการเลือกตั้งเฉพาะในเขตของเกาหลีทางใต้ ซึ่งแต่เดิมตั้งใจว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลีแต่ถูกทางเกาหลีที่อยู่ฝั่งทางเหนือคัดค้านการเลือกตั้งในครั้งนี้ ฉะนั้นการเลือกตั้งในครั้งนี้จึงเลือกตั้งโดย "การเลือกตั้งโดยสภาเดียว" และอีก็ได้รับเลือกให้เป็นโฆษกของสภาสมัชชาแห่งชาติในวันที่ 31 พฤษภาคม ต่อมาอีก็ลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และอีก็เอาชนะ คิม กู ประธานาธิบดีรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีคนสุดท้ายไปด้วยคะแนน 82-13 ได้เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรก ในวันที่ 20 กรกฎาคม โดยอีได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการจากทหารอเมริกาที่ประจำการอยู่ที่นั้นและเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐเอกราชแล้ว

การปราบปรามทางการเมือง

[แก้]

ไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่ง อีได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อลดจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย นักการเมืองฝ่ายซ้ายหลายคนถูกจับ และในบางกรณีก็ถูกสังหาร และในไม่ช้าลักษณะการบริหารงานเข้าลักษณะของระบอบเผด็จการ[10] เขาอนุญาตให้หน่วยรักษาความมั่นคงภายใน (มีคิม ยางรยอง มือขวาของเขาเป็นหัวหน้า) ในการกักขังและทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์และสายลับของเกาหลีเหนือ รัฐบาลของเขายังเป็นผู้ควบคุมในการฆาตกรรมหมู่หลายครั้งด้วย โดยครั้งที่มีชื่อมากที่สุดคือที่เกาะเชจู มีผู้ประท้วงกว่า 30,000 ถูกสังหารด้วยน้ำมือของตำรวจ[11]

สงครามเกาหลี

[แก้]
อี ซึงมันมอบเหรียญอิสริยาภรณ์แด่ พลเรือตรี ราฟ เอ. ออฟตไตล์ แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามเกาหลีในปี 2495

ภายหลังจากที่สงครามเกาหลีปะทุขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ เส้นขนานที่ 38 รู้สึกถึงจำนวนผู้บุกรุกจากทางฝั่งเกาหลีเหนืออย่างมากมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยวันที่ 26 มิถุนายน กองทัพเกาหลีเหนือก็กำลังจะเข้ายึดโซล อีเกรงกลัวความโกลาหลครั้งใหญ่ในโซล ได้ห้ามทหารห้ามเปิดเผยถึงสถานการณ์ และไม่หลบหนีพร้อมกับบุคคลส่วนใหญ่ในรัฐบาลในวันที่ 27 มิถุนายน ตอนเที่ยงคืนของวันที่ 28 มิถุนายนทหารของเกาหลีใต้ได้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำฮัน ด้วยวิธีที่จะขัดขวางผู้คนจำนวนนับพันที่จะหลบหนี และวันที่ 28 มิถุนายน ทหารเกาหลีเหนือก็ยึดโซลได้ทั้งหมด


ระหว่างที่เกาหลีเหนือยึดโซล อีได้ตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ที่ปูซานและได้สร้างแนวรับแถวรอบบริเวณแม่น้ำนักดง เป็นการสู้รบที่มีความสำคัญกับความอยู่รอดของเกาหลีใต้ และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ยุทธการแม่น้ำนักดง

ภายหลังจากยึดโซลคืนได้ในเดือนตุลาคม อีได้ฟื้นฟูตำแหน่งผู้นำของเขาอีกครั้ง ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกากลายเป็นตึงเครียดเมื่อเขาปฏิเสธที่จะยืนยันจำนวนข้อเสนอในการหยุดยิง ซึ่งอาจจะทำให้ยุติสงครามเกาหลี โดยอีต้องกลายเป็นผู้นำในการรวมชาติเกาหลี ดังนั้นเขาจึงคัดค้านข้อเสนอในการหยุดยิงทั้งหมด แต่ความหวังของอีก็ถูกพังทลายลงโดย คิม อิลซอง อีต้องการใช้วิธีที่แข็งกร้าวในการต่อต้านรัฐบาลของเหมา เจ๋อตง ซึ่งสร้างความรำคาญอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ เพราะอเมริกาต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ถล่มจีน

การเลือกตั้งใหม่

[แก้]

เพราะความไม่พอใจที่ขยายวงกว้างออกไปเพราะการคอรัปชันและการปราบปรามทางการเมืองในรัฐบาลของอี ไม่น่าเชื่อว่าว่าอีจะได้รับการเลือกตั้งกลับขึ้นมาอีกครั้งโดยสภาแห่งชาติ ในสถานการณ์นี้ อีพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้เขาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เมื่อสภาแห่งชาติปฏิเสธการแก้ไข อีก็ได้มีคำสั่งให้จับกุมนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างมากมาย และหลังจากนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญของอีก็ทำได้อย่างสำเร็จสมความปรารถนา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ อีได้คะแนนเสียงไปถึง 74%[12]

ลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัย

[แก้]

อีชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายและเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีช่วงสุดท้ายในปี พ.ศ. 2499 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2491 จำกัดให้เป็นประธานาธิบดีได้ 3 สมัยเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากเขาทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง เขาได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อย่างไม่จำกัดสมัย

ในปี พ.ศ. 2503 อีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วยคะแนน 90% ชัยชนะของเขาเป็นที่แน่นอนเมื่อ โช บยองอ๊ก คู่แข่งคนสำคัญได้เสียชีวิตไม่นานก่อนวันเลือกตั้ง 15 มีนาคม

อีต้องการคนที่จะมาอุปถัมป์เขา เขาให้อี กิบอง ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกเทศภายใต้กฎหมายของเกาหลีใต้ในขณะนั้น เมื่ออี กิบอง ชนะคะแนนชาง มยอง (เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำสหรัฐอเมริกาช่วงสงครามเกาหลี) ไปได้อย่างขาดลอย โดยฝ่ายค้านอ้างว่าการเลือกตั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส สิ่งนี้ทำให้เกิดความโกรธแค้นของประชาชนชาวเกาหลีอย่างมาก เมื่อตำรวจยิงผู้ประท้วงที่มาซาน นักเรียนนักศึกษาเป็นผู้นำการปฏิวัติเดือนเมษายน บังคับให้อี ซึง-มันลาออกในวันที่ 26 เมษายน ยิ่งไปกว่านั้นในขณะที่ยังได้รับความสนใจจากผู้ประท้วง โดยอีถูกกล่าวหาโดย คิม ยองคับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังว่า อียักยอกเงินเป็นจำนวนมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากงบประมาณของรัฐบาล

ในวันที่ 28 เมษายน เครื่องบิน ดักลัส ดีซี-4 ซึ่งเป็นของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (ซีไอเอ) และได้ปฏิบัติการโดยการบินพลเรือนเพื่อพาอีออกจากเกาหลีใต้ ในขณะที่ผู้ประท้วงล้อมรอบทำเนียบประธานาธิบดี[13] โดยอดีตประธานาธิบดีและฟรันซิสกา ดอเนอร์ (ภรรยาของอี) และบุตรบุญธรรมของเขาได้ลี้ภัยไปยัง โฮโนลูลู รัฐฮาวาย

ถึงแก่อสัญกรรม

[แก้]

อีเสียถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ในสัปดาห์ถัดมาร่างของลีก็ได้กลับมายังเกาหลีใต้และฝังไว้ที่สุสานแห่งชาติกรุงโซล

อ้างอิง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "KOREA: The Walnut". TIME. March 9, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20. In 1932, while attempting to put Korea's case before an indifferent League of Nations in Geneva, Rhee met Francesca Maria Barbara Donner, 34, the daughter of a family of Viennese iron merchants. Two years later they were married in a Methodist ceremony in New York.
  2. "The Walnut". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
  3. Rhee 2001, p. 1
  4. 4.0 4.1 4.2 Rhee 2001, p. 2
  5. 유영익 (1996). 이승만의 삶과 꿈. Seoul, South Korea: Joong Ang Ilbo Press. pp. 40–44. ISBN 8946103450.
  6. 6.0 6.1 Rhee 2001, p. 3
  7. Coppa, Frank J., บ.ก. (2006). "Rhee, Syngman". Encyclopedia of modern dictators: from Napoleon to the present. Peter Lang. p. 256. ISBN 978-0-8204-5010-0.
  8. Jessup, John E. (1998). "Rhee, Syngman". An encyclopedic dictionary of conflict and conflict resolution, 1945-1996. Greenwood Publishing Group. p. 626. ISBN 978-0-313-28112-9.
  9. Dillard, James E. "Biographies: Syngman Rhee". Korean War 60th Anniversary: History. US Department of Defense. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  10. Tirman, John (2011). The Deaths of Others: The Fate of Civilians in America's Wars. Oxford University Press. pp. 93–95. ISBN 978-0-19-538121-4.
  11. Müller, Anders Riel (19 April). "One Island Village's Struggle for Life, Land, and Peace". Korea Policy Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= และ |year= / |date= ไม่ตรงกัน (help)
  12. Buzo, Adrian (2007). The making of modern Korea. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-415-41482-1.
  13. Cyrus Farivar (2011), "The Internet of Elsewhere: The Emergent Effects of a Wired World", Rutgers University Press, p 26.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
อี ซึง-มัน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?