For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ออวุล.

ออวุล

ออวุลภายในดอก Helleborus foetidus

ออวุล (อังกฤษ: ovule) เป็นโครงสร้างที่ก่อกำเนิดและเป็นที่อยู่ของเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชมีเมล็ด ออวุลประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ผนังออวุลชั้นนอกสุด นิวเซลลัสหรือส่วนที่เหลือของอับเมกะสปอร์ และแกมีโทไฟต์เพศเมียที่สร้างจากเมกะสปอร์ที่เป็นแฮพลอยด์อยู่ตรงกลาง แกมีโทไฟต์เพศเมียมีหน้าที่ผลิตเซลล์ไข่ หลังปฏิสนธิออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด[1] คำ ovule มาจากภาษาละติน ōvum แปลว่าไข่[2]

ตำแหน่งของออวุล

[แก้]

ในพืชดอก ออวุลจะอยู่ภายในส่วนของดอกที่เรียกว่าวงเกสรเพศเมีย (gynoecium) รังไข่สร้างออวุลหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งออวุลแล้วกลายสภาพเป็นผนังผลไม้ ออวุลยึดเกาะกับพลาเซนตาในรังไข่ด้วยโครงสร้างที่เรียกว่าก้านออวุลหรือก้านเมล็ด (funiculus) รูปแบบการเกาะของออวุลมีหลากหลายได้แก่[3]

  • พลาเซนตาที่ยอด (apical placentation): ออวุลเกาะที่ยอดรังไข่
  • พลาเซนตารอบแกนร่วม (axile placentation): รังไข่ถูกแบ่งเป็นช่องย่อยที่ภายในมีออวุลเกาะที่แกนกลางร่วม
  • พลาเซนตาที่ฐาน (basal placentation): ออวุลเกาะที่ฐานรังไข่
  • พลาเซนตารอบแกน (free central placentation): ออวุลเกาะที่แกนกลางร่วมคล้ายแบบ axile แต่รังไข่ไม่ได้ถูกแบ่งเป็นช่องย่อย
  • พลาเซนตาแนวเดียว (marginal placentation): ออวุลเกาะที่ด้านหนึ่งของรังไข่
  • พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ (parietal placentation): ออวุลเกาะที่แนวที่เชื่อมชนกันของคาร์เพล

ในพืชเมล็ดเปลือยเช่นสน ออวุลเกิดบนผิวเกล็ดภายในโคนเพศเมีย[4] ในขณะที่ออวุลของเฟิร์นมีเมล็ดที่สูญพันธุ์แล้วช่วงต้นจะเกิดบนผิวใบ ก่อนที่ต่อมาออวุลของพืชชนิดนี้จะหุ้มด้วยกลุ่มกิ่งก้านที่เปลี่ยนรูปเป็นกาบรูปถ้วย (cupule)[5]

การเรียงพลาเซนตา

[แก้]

ส่วนของออวุล

[แก้]

ผนังออวุล

[แก้]
ออวุลของพืชเมล็ดเปลือย (ซ้าย) และพืชดอก (ขวา)

ผนังออวุล (integument) เป็นชั้นปกป้องออวุล พืชเมล็ดเปลือยมีผนังออวุลชั้นเดียว ส่วนพืชดอกมีผนังออวุลสองชั้น มีการเสนอวิวัฒนาการของผนังออวุลชั้นใน (ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเกิดออวุลจากอับเมกะสปอร์) ว่าเกิดจากการล้อมอับเมกะสปอร์โดยแขนงที่เป็นหมัน[6] อิงจากฟอสซิลของ Elkinsia กลุ่มพืชเมล็ดเปลือยช่วงแรก ๆ จากยุคดีโวเนียนที่มีโครงสร้างเป็นพูเชื่อมกับอับเมกะสปอร์ และด้านบนพูขยายเป็นวงล้อมรอบอับเมกะสปอร์[7] ขณะที่วิวัฒนาการของผนังออวุลชั้นนอกยังคงเป็นที่ถกเถียง มีการเสนอว่ากาบรูปถ้วย (cupule) ของพืชที่สูญพันธุ์แล้วอาจเป็นที่มาของผนังออวุลชั้นนอก โดยอิงจากฟอสซิลของ Caytoniales และ Glossopteridales[8] ผนังออวุลไม่ได้ล้อมนิวเซลลัสที่อยู่ภายในทั้งหมด แต่มีช่องเปิดที่เรียกว่าไมโครไพล์ (micropyle) เพื่อให้ละอองเรณูหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้ามาปฏิสนธิ ซึ่งหลังปฏิสนธิผนังออวุลจะเจริญเป็นเปลือกเมล็ด

นิวเซลลัส

[แก้]

นิวเซลลัส (nucellus) เป็นโครงสร้างชั้นในของออวุล เป็นเนื้อเยื่อหุ้มเซลล์ดิพลอยด์ (สปอโรไฟต์) นิวเซลลัสในแง่โครงสร้างหน้าที่นั้นเทียบเท่ากับอับเมกะสปอร์[9] ในออวุลที่ยังไม่เจริญเต็มที่ นิวเซลลัสมีเมกะสปอไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ดิพลอยด์ที่สร้างเมกะสปอร์ผ่านการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส

ในพืชเมล็ดเปลือย 3 ใน 4 สปอร์แฮพลอยด์มักเสื่อม จึงมีเพียงเมกะสปอร์เดียวภายในนิวเซลลัส ขณะที่พืชดอกมีจำนวนเมกะสปอร์เหลือรอดที่หลากหลาย รูปแบบทั่วไปของการเจริญของแกมีโทไฟต์เพศเมียคือมีเมกะสปอร์เดียว ตามด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสสามครั้ง ในพืชสกุล Allium และ Hyacinthoides จะเหลือ 2 เมกะสปอร์ ขณะที่พืชสกุล Fritillaria จะเหลือเมกะสปอร์ครบ 4 สปอร์[10]

หลังปฏิสนธินิวเซลลัสอาจเจริญไปเป็นเพอริสเปิร์ม เนื้อเยื่อสะสมอาหารสำหรับเอ็มบริโอ[11] นิวเซลลัสของพืชบางชนิดก่อกำเนิดเอ็มบริโอภายในเมล็ดผ่านกลไกการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียกว่า nucellar embryony

เมกะแกมีโทไฟต์

[แก้]

เมกะแกมีโทไฟต์ (megagametophyte) เป็นแกมีโทไฟต์เพศเมียที่เกิดจากเมกะสปอร์ภายในนิวเซลลัส

ในพืชเมล็ดเปลือย เมกะแกมีโทไฟต์มีประมาณ 2000 นิวเคลียส และสร้างโครงสร้างหรืออวัยวะสร้างเซลล์ไข่เรียกว่าอาร์คิโกเนียม[12] ในพืชดอกบางครั้งเรียกเมกะแกมีโทไฟต์ว่าถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) มีเพียง 7 เซลล์และ 8 นิวเคลียส โดยเจริญมาจากเมกะสปอร์ผ่านการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส 3 ครั้ง โดย 7 เซลล์ประกอบด้วยเซลล์แอนติโพด (antipodal cells) 3 เซลล์ เซลล์กลาง (central cell) 1 เซลล์ เซลล์ไข่ 1 เซลล์ และเซลล์ซิเนอร์จิด (synergid cells) 2 เซลล์[13] เซลล์แอนติโพดมีหน้าที่หล่อเลี้ยงเอ็มบริโอ[14] ขณะที่เซลล์กลางที่มีโพลาร์นิวเคลียสจะรวมกับนิวเคลียสของละอองเรณูกลายเป็นเอนโดสเปิร์มในเมล็ด[15] ส่วนเซลล์ซิเนอร์จิดทำหน้าที่นำทางละอองเรณูเข้ามาในถุงเอ็มบริโอเพื่อปฏิสนธิกับเซลล์ไข่[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Seeds and fruit - KS3 Biology Revision". BBC. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  2. "Ovule - definition and meaning". Collins English Dictionary. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  3. "Angiosperm - Seeds". Britannica. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  4. "Ovule - Definition, Description, & Facts". Britannica. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  5. Krassilov, V.A (1977). "Contributions to the knowledge of the Caytoniales". Review of Palaeobotany and Palynology. 24: 155–178. doi:10.1016/0034-6667(77)90010-0.
  6. Herr, J.M. Jr., 1995. The origin of the ovule. Am. J. Bot. 82(4):547-64
  7. Stewart, W.N.; Rothwell, G.W. (1993). Paleobotany and the evolution of plants. Cambridge University Press. ISBN 0521382947.
  8. Frohlich and Chase, 2007. After a dozen years of progress, the origin of angiosperms is still a great mystery. Nature 450:1184-1189 (20 December 2007) | doi:10.1038/nature06393;
  9. "ออวุล". คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  10. Gifford, E.M.; Foster, A.S. (1989), Morphology and evolution of vascular plants, New York: W. H. Freeman and Company
  11. Panawala, Lakna (May 5, 2017). "Difference Between Perisperm and Endosperm". ResearchGate. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  12. Sakai, Satoki (September 3, 2012). "Evolutionarily stable size of a megagametophyte: evolution of tiny megagametophytes of angiosperms from large ones of gymnosperms". Evolution. 67 (2): 539–547. doi:10.1111/j.1558-5646.2012.01789.x. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  13. Skinner, Debra J; Sundaresan, Venkatesan (June 20, 2018). "Recent advances in understanding female gametophyte development". F1000Research. 7. doi:10.12688/f1000research.14508.1. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  14. "Plant development - Preparatory events". Britannica. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  15. Dresselhaus, Thomas; Sprunck, Stefanie; Wessel, Gary M. (February 8, 2016). "Fertilization Mechanisms in Flowering Plants" (PDF). Current biology. 26 (3): 125–139. doi:10.1016/j.cub.2015.12.032. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.
  16. Eckardt, Nancy A. (August 2007). "Elucidating the Function of Synergid Cells: A Regulatory Role for MYB98". The Plant Cell. 19 (8): 2320–2321. doi:10.1105/tpc.107.055640. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ออวุล
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผนภาพออวุล
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ออวุล
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?