For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หย่งชุน.

หย่งชุน

เหว่งช้น
อักษรจีนตัวเต็ม詠春
อักษรจีนตัวย่อ咏春
ความหมายตามตัวอักษร"ขับร้องฤดูใบไม้ผลิ"[1][2]
คำว่า "เหว่งช้น" ในแบบอักษรจีนตัวย่อ

เหว่งช้น (สำเนียงกวางตุ้ง) หรือ หย่งชุน (สำเนียงจีนกลาง) (อักษรจีนตัวเต็ม: 詠春, พินอิน: yǒng chūn, อังกฤษ: Wing Chun, Wing Tsun) เป็นศิลปะการต่อสู้จีนแขนงหนึ่งในแบบของกังฟู

ประวัติ

[แก้]

ตามตำนาน เหว่งช้น (หย่งชุน) เกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ชิง หลังจากวัดเส้าหลินถูกเพลิงเผาไหม้จนวอดวาย 5 ปรมาจารย์อาวุโส (五祖) และบรรดาลูกศิษย์ (เช่น หง ซีกวาน และ ฟ้อง ไซหยก) ต่างแยกย้ายกระจัดกระจายออกไปตามเส้นทางของตนเอง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ต้านแมนจูอยู่

แม่ชีอื่อซ่า (อู่เหมย) หนึ่งใน 5 ปรมาจารย์อาวุโส ได้อพยพไปเป็นกบจำศีลบนเขาซ่งซาน และที่นั่นนางได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับงูเห่า โดยงูได้พยายามโจมตีนกกระเรียนเป็นเส้นตรง แต่นกกระเรียนได้เคลื่อนไหวตัวเองเป็นวงกลม ทำให้งูไม่อาจทำอะไรนกกระเรียนได้ (บางข้อมูลระบุว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับงู) [3] นางได้นำเอารูปแบบการต่อสู้แบบนี้มาพัฒนาจนเป็นรูปแบบใหม่ของกังฟูซึ่งแตกต่างจากกังฟูวัดเส้าหลิน

จากนั้นหย่งชุนได้แต่งงานกับ เหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามีแต่สามีไม่ยอมฝึกเพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝน มวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้วแต่หย่งชุนก็ได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะสามีทุก ครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่งชุน ตามชื่อภรรยา

รูปแบบ

[แก้]

หวิงชุน แตกต่างจากกังฟูแบบอื่นอย่างชัดเจน เป็นมวยที่ไม่ต้องใช้พละกำลังหรือความแข็งแกร่งมากนัก เหมาะสมกับสรีระของผู้หญิง ที่แรงกายอ่อนแอกว่าผู้ชาย เน้นในการป้องกันตัวและจู่โจมในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว มีวิธีการยืนเท้าที่มั่นคง

หวิงชุน ได้ถูกถ่ายทอดต่อมาในรุ่นต่อรุ่น จนกระทั่งมาถึงรุ่นของ ฉั่น หว่าซุน และ ยิปมัน โดยเฉพาะยิปมันที่เป็นผู้ที่ทำให้หย่งชุนโด่งดังเป็นที่รู้จักในระดับสากล ด้วยความที่เป็นผู้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ บรูซ ลี ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงแอ็คชั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยมีศิลปะการป้องกันตัวแบบที่เจ้าตัวคิดค้นขึ้นมา ที่เรียกว่า "จีทคุนโด้" เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งบรูซ ลี ได้ยอมรับว่าพื้นฐานของ จีทคุนโด้นำมาจากหวิงชุนนี่เอง

ในประเทศไทย

[แก้]

หวิงชุนในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งชาวไทยคนแรกที่นำมาฝึกสอน คือ อาจารย์ อนันต์ ทินะพงศ์ ที่เรียนวิชานี้ที่สหรัฐอเมริกา จาก จู เสาไหล่ หรือ โรเบิร์ต ชู ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของ เจวียง ฮอกกิ่น ผู้ซึ่งเป็นศิษย์โดยตรงของยิปมัน โดยเปิดสอนเริ่มแรกอย่างไม่คิดค่าเล่าเรียนที่สวนลุมพินี

หมัดหนึ่งหุน

[แก้]

หมัดหนึ่งหุนเป็นหนึ่งในท่าต่อยที่มีชื่อเสียงที่สุดของบรู๊ซ ลีโดยสามารถชกคู่ต่อสู้กระเด็นไปได้หลายเมตร โดยที่ไม่ต้องง้างหมัดชกเลย ซึ่งเชื่อว่ากระบวนท่านี้ถูกพัฒนามาเป็นพันๆปีตั้งแต่มวยเส้าหลินจนถึงมวยหวิงชุน หรือกังฟูทางตอนใต้ของจีน อื่นๆ

การให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินฝึก

[แก้]

ในกลางปี ค.ศ. 2011 สายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์ ได้ให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิง เข้าคอร์สฝึกกังฟูแบบหวิงชุนเพื่อใช้ในการป้องกันตัวและรับมือกับผู้โดยสารที่หยาบคายหรือเมา เนื่องจากเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ฝึกง่ายและใช้ได้ดีกับสถานที่แคบ ๆ [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ meaning N
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ meaning W
  3. ประวัติของมวยหวิงชุน[ลิงก์เสีย]
  4. [ลิงก์เสีย] แอร์ฮ่องกงเรียนมวยหย่งชุน รับมือผู้โดยสารเมา-หยาบคาย จากสำนักข่าวไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หย่งชุน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?