For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for หมอก.

หมอก

หมอกปกคลุมเมืองซานฟรานซิสโก

หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก ตัวอย่างเช่น เมฆที่เคลื่อนตัวในอากาศระดับสูงจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นหมอก ขณะที่เมฆที่เคลื่อนตัวมาแบบสัมผัสกับพื้นดิน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ที่มีความสูงขนาดหนึ่ง จะถูกพิจารณาว่าเป็นหมอกมากกว่าเมฆ ซึ่งหมอกแตกต่างจากหมอกน้ำค้าง (mist) ก็เพียงเฉพาะความหนาแน่นเท่านั้น ผลกระทบของการเกิดหมอกที่เด่นชัดคือการทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หมอกปกติทั่วไปอาจลดความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนละอองหมอกจะลดความสามารถในการมองเห็นให้เหลือในระยะ 1–2 กิโลเมตร มาตรฐานการบินของสหราชอาณาจักรกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ระยะ 999 เมตรถึง 2 กิโลเมตร จะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นละอองหมอก[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ละอองหมอกจะต้องมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า หากมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เราจะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นฟ้าหลัว

สถานที่ที่ซึ่งเกิดหมอกมากที่สุดในโลกคือแกรนด์แบงค์นอกชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ แคนาดา สถานที่ที่ซึ่งกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์จากทางเหนือมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟสตรีมจากทางใต้ทำให้เกิดสภาวะหมอกมากที่สุดในโลก ส่วนสถานที่บนพื้นบกที่เกิดหมอกมากที่สุดในโลกได้แก่ เมโนโมนี รัฐวิสคอนซิน, พอยน์ตเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย, อาร์เจนเทีย รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมามีวันที่หมอกหนามากกว่า 200 วันต่อปี แม้แต่ยุโรปใต้ที่มีอากาศอุ่นกว่าส่วนอื่นก็สามารถพบหมอกหนาตามพื้นที่ราบต่ำและหุบเขา เช่นที่ หุบเขาโปในอิตาลี หุบเขาตามแม่น้ำอาร์โนและแม่น้ำไทเบอร์ในอิตาลี และเช่นเดียวกับที่ราบสูงสวิสในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและปลายฤดูหนาว

ลักษณะ

[แก้]

หมอกก่อตัวขึ้นในสภาวะที่เกิดความแตกต่างกันของอุณหภูมิหรือจุดน้ำค้าง (dew point) โดยทั่วไปในสภาพที่อุณหภูมิต่ำกว่า 2.5 องศาเซลเซียสหรือ 4 องศาฟาเรนไฮต์ หมอกเริ่มก่อตัวด้วยการที่ไอน้ำเกิดการควบแน่นในอากาศ ซึ่งไอน้ำเหล่านั้นเกิดจาการระเหยของน้ำหรือการระเหิดของน้ำแข็ง ทำให้เกิดละอองน้ำมากมายในอากาศจนรวมตัวกันในรูปของหมอกหรือบางครั้งก็เป็นเมฆ

หมอกโดยปกติจะเกิดเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับใกล้กับ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หมอกยังสามารถก่อตัวขึ้นจากการเกิดความชื้นขึ้นมากมายในอากาศ หรืออุณหภูมิของอากาศในบริเวณโดยรอบลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งหมอกยังสามารถก่อตัวได้ในระดับความชื้นที่ต่ำกว่า การอ่านค่าความชื้นสัมพัทธ์ได้ที่ระดับ 100 เปอร์เซ็นต์หมายความว่าอากาศในบริเวณและขณะดังกล่าวไม่สามารถรองรับความชื้นได้อีกต่อไป หากมีความชื้นเพิ่มขึ้นอีกอากาศจะเกิดการอิ่มตัวยิ่งยวด จนทำให้เกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝนในที่สุด

การก่อตัวขึ้นของหมอกมีองค์ประกอบในการเกิดเช่นเดียวกันกับการก่อตัวของเมฆ นอกจากนี้หมอกยังสามารถเกิดขึ้นและสลายตัวไปอย่างรวดเร็วซึ่งขึ้นอยู่กับจุดน้ำค้างในอุณหภูมิขณะนั้น เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า แฟลชฟ็อก (flash fog) และการก่อตัวขึ้นโดยทั่วไปอีกหนึ่งอย่างคือด้วยการสนับสนุนจากหมอกทะเลซึ่งนี้คือปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดของเกลือ ที่เหนือพื้นผิวมหาสมุทรอนุภาคโดยส่วนใหญ่คือเกลือจากละอองเกลือที่เกิดจากการที่คลื่นทะเลเกิดการกระจาย ยกเว้นบริเวณที่เกิดพายุ บริเวณที่เกิดการแตกกระจายของคลื่นทะเลเป็นประจำคือตามแนวริ่มชายฝั่งทะเล ฉะนั้นบริเวณที่เกิดอนุภาคเกลือในอากาศมากที่สุดก็คือบริเวณดังกล่าวนั้นเอง ส่วนการสูญสลายของอนุภาคเกลือในอากาศจะเกิดขึ้นในสภาพที่ความชิ้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหมอกจึงยังจะสามารถก่อตัวขึ้นในสถานที่ที่มีอากาศแห้ง ๆ ได้เช่นบริเวณชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการค้นพบเร็ว ๆ นี้ว่า ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดนิวเคลียสการสูญสลายของอนุภาคหมอกคือสาหร่ายสีน้ำตาล นักวิจัยพบว่าภายใต้ภาวะวิกฤต เช่นแสงแดดจัด อัตราการระเหยของน้ำมาก จะทำให้สาหร่ายสีน้ำตาลปลดปล่อยไอโอดีนออกมา ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นนิวเคลียสสูญสลายของไอน้ำ

หมอกในบางครั้งทำให้เกิดหยาดน้ำฟ้าในรูปของฝนตกประปรายหรือหิมะตกประปราย ฝนตกประปรายเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหมอกมีระดับความชื้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่ออนุภาคของเมฆเกิดการรวมตัวกับอนุภาคของเมฆที่ใหญ่กว่า อีกทั้งยังเกิดขึ้นเมื่อหมอกถึงยกตัวขึ้นไปในบรรยากาศที่สูงกว่าจนเย็นตัวมากเพียงพอ ซึ่งฝนตกประปรายนี้จะแข็งตัวก็ต่อเมื่ออุณหภูมิในบริเวณและขณะดังกล่าวลดลงถึงจุดเยือกแข็ง ส่วนความหนาของหมอกขึ้นอยู่กับระดับความสูงและสภาพอากาศในขณะนั้น ซึ่งหากบรรยากาศด้านบนมีความกดอากาศต่ำก็สามารถจะทำให้หมอกขยายตัวออกได้

หมอกอันทำให้เกิดความอันตราย

[แก้]
สภาพการมองเห็นที่ยากลำบากในสภาวะหมอกลงจัดบนสะพานโกลเดนเกต

หมอกเป็นตัวการสำคัญตัวหนึ่งในการลดประสิทธิภาพการมองเห็น ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในทางคมนาคมเช่น เรือ เครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ โดยส่วนมากหมอกทำให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันทำให้เกิดการชนหรือปะทะขึ้น อุบัติเหตุอันมีสาเหตุมาจากหมอกหรือทัศนวิสัยไม่ดีเช่น 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินรุ่น บี-25 มิตเชลล์ พุ่งชนเข้ากับตึกเอ็มไพร์สเตตเพราะหมอกลงจัด[ต้องการอ้างอิง] 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 เกิดการชนปะทะกันของเรือเดินสมุทร เอสเอสแอนเดรียโดเรีย กับ เอ็มเอสสต็อกโฮล์ม[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งแม้ว่าเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่จะสามารถทราบตำแหน่งของหมอกได้จากเรดาร์ รถยนต์เองก็มีไฟตัดหมอกเพื่อให้เห็นทางและขับเคลื่อนไปอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะบนทางหลวงหรือทางด่วนที่มียานพาหนะมากมายและส่วนใหญ่ก็ใช้ความเร็วสูง เมื่อมีหมอกลงจัดจนไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วผู้ขับขี่อาจจะพบกับอุบัติเหตุแบบฉับพลัน ซึ่งพาหนะที่ตามมาก็เช่นกันทำให้เกิดการชนกันไปเป็นทอด ๆ เช่นที่เกิดกับทางหลวงพิเศษระหว่างรัฐหมายเลข 4 เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2008 ซึ่งทำให้มีรถชนกันถึง 70 คัน[ต้องการอ้างอิง]

หมอกมักจะเป็นอันตรายอันดับต้น ๆ ในทางการบิน และมักเป็นอุปสรรคในการลงจอดและบินขึ้นของเครื่องบิน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและจากระบบอุปกรณ์ช่วยในการลงจอด โดยเฉพาะดวงไฟตามแนวรันเวย์ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงตำแหน่งของรันเวย์ทำให้นักบินสามารถประเมินสภาพแวดล้อมในการลงจอดได้ด้วย

เงาหมอก

[แก้]
เงาหมอก

เงาหมอกนั้นจะเกิดขึ้นจาการที่มีหมอกบาง ๆ และมีแสงอาทิตย์ส่องผ่านวัตถุที่เป็นโครงสร้างหรือต้นไม้ใหญ่ ทำให้เกิดเงาไปตกกระตบบนหมอกจนเกิดเป็นภาพคล้ายกับเงาสามมิติ ซึ่งดูแปลกประหลาดซึ่งแสงที่ตกกระทบลงบนหมอกนั้นเป็นลำแสงคล้ายกับรังสีของแสงพระอาทิตย์ขณะตกดิน

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
หมอก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?