For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for มลพิษทางอากาศ.

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง

มลพิษทางอากาศ (อังกฤษ: Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตของมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย

มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places)[1] ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี ค.ศ. 2008 ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ค.ศ. 2014 มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกในปี ค.ศ. 2012[2]

สารมลพิษ

[แก้]

สารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิ เป็นสารมลพิษทางอากาศ ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง เช่น จากโรงงานอุตสาหกรรมมีผลกระทบโดยตรงและเป็นสารตั้งต้นของสารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ [3]สารที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศปฐมภูมิคือ Sulfur dioxide , Carbon monoxide , Nitrogen dioxide , ground-level ozone lead , carbon particles ทำโอโซนลดลง เพราะพืชได้รับผลจากบรรยากาศเป็นพิษจึงทำให้พืชไม่สามารถคายแก๊สได้[4]

สารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ เป็นมลพิษทางอากาศที่ไม่ได้เกิดหรือปล่อยออกมาโดยตรง ในอากาศ น้ำหรือดิน สารมลพิษเกิดกระบวนการสังเคราะห์ในสภาวะแวดล้อมโดยมีปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ปล่อยออกมา เช่น ก๊าซโอโซน ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี Photochemical Oxidation ระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในบรรยากาศโดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นต้น[5]

แหล่งกำเนิด

[แก้]

มลพิษทางอากาศอาจมาได้จากหลายแหล่ง เราสามารถจัดกลุ่มได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

จากธรรมชาติ

[แก้]

เป็นแหล่งที่เกิดมลพิษโดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งการเกิดมลพิษจากธรรมชาติมีผลกระทบน้อยมากตัวอย่างเช่น

การระเบิดของภูเขาไฟก่อให้เกิด ควันและเถ้าถ่าน ในอากาศเป็นจำนวนมาก
  • การระเบิดของภูเขาไฟ เกิดจากการที่แมกมาใต้เปลือกโลกได้รับความร้อนจากแก่นโลกมาก ๆ จนทำให้เกิดจากการยกตัวของแมกมาพุ่งออกมาตามรอยแยกของชั้นเปลือกโลกกลายเป็นลาวา ซึ่งการระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดควันและเถ้าถ่านกระจายสู่อากาศเป็นจำนวนมาก[6]
  • ควันและคาร์บอนมอนอกไซด์จากไฟป่า โดยที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ตามธรรมชาติ สาเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟป่าอาจเกิดจากฟ้าผ่าเกิดบ่อยครั้งในพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น เกิดจากการเสียดสีของกิ่งไม้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าผัดใบที่มีป่าไผ่อย่างหนาแน่นมีสภาพแห้งจัดและลมพัดตลอดเวลา เกิดจากกาหักเหของแสงอาทิตย์[7]
  • การเน่าเปื่อย
  • ฝุ่นละออง มีโดยทั่วไปพบได้ในทุกสถานที่ อาจจะมากหรือน้อยตามสถานที่นั้น ๆ ฝุ่นละอองจะมีลักษณะเป็นอนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด กระแทก จนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวกระจายตัวอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้นในเวลาต่อมา ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาคฝุ่น แหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ตะกั่ว ไฮโดรคาร์บอน กัมมันตรังสี ฝุ่นละอองในบรรยากาศ เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญในเมืองใหญ่และเมืองที่กำลังพัฒนา จึงอาจนำไปสู่การส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรง และทางอ้อม[8]
  • การย่อยอาหารของสัตว์ปล่อยแก๊สมีเทนออกมา ยกตัวอย่างเช่นการปศุวสัตว์

จากฝีมือมนุษย์

[แก้]

มนุษย์เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคพลังงาน เชื้อเพลิง ทั้งในครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้น สามารถแยกประเภทมลพิษที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ได้ดังนี้[9]

ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากยานพาหนะ
  • แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ ได้แก่
    1. การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของไนโตรเจน และพบว่ามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้เพื่มขึ้นอย่างเรื่อย ๆ ทุกปี ได้แก่ การเผาขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล โรงผลิตไฟฟ้าพลังความร้อน โรงงานผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น
    2. กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดก๊าซต่างๆขึ้นเช่น ก๊าชไฮโรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า กรดซัลฟูริกหรือกรดกำมะถัน ได้แก่ การแปรรูปอาหาร การกลั่นน้ำมัน การหลอมโลหะ โรงงานผลิตสารอนินทรีย์[10]
    3. การเผาขยะ รวมทั้งเตาเผาขยะหรือการเผาขยะในที่โล่งที่เกิดจากพื้นที่ที่ระบบการจัดการขยะยังเข้าไม่ถึง ความสะดวกในการจุดไฟกว่าการขนไปทิ้งในระบบกำจัดที่ถูกต้อง อีกทั้งต้นทุนการเผาที่ต่ำกว่าการจ่ายเงินให้กับรัฐบาลไปกำจัดอย่างถูกต้อง[11]

ผลกระทบ

[แก้]

มลพิษทางอากาศเกิดผลเสียหลายอย่าง ทั้งทางตรงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และทางอ้อมซึ่งได้แก่ ทำให้เกิดการบดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นโลก หรือการทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

  • ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
สารมลพิษ ผลกระทบต่อสุขภาพ
อนุภาคมลสาร ; ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด ; โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้น ; เกิดพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง
โอโซน การระคายเคืองตา จมูก และคอ ; การแน่นหน้าอก(chest tightness) ; การไอ ; เกิดอาการเจ็บปวดเมื่อหายใจ(pain on inspiration)
ไนโตรเจนออกไซด์ เพิ่มความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
ตะกั่ว เกิดความผิดปกติของประสาท ความดันโลหิตสูง
  • ผลต่อพืชและสัตว์
ใบของพืชที่ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองและสารมลพิษ

สารมลพิษต่างๆในอากาศจะเข้าสู่ต้นพืชทางใบด้วยกระบวนการหายใจของพืช ภายหลังการได้รับมลพิษของต้นพืชมลพิษในอากาศ เช่น สารพวกตัวออกซิไดซ์จะไปทำให้ส่วนของใบแห้งเหี่ยว และทำให้เซลล์ใบยุบตัว ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้พืชเกิดพิษเรื้อรังทำให้พืชไม่เจริญเติบโตเกิดจากการสูญเสียคลอโรฟิลล์ หรือการหยุดสร้างคลอโรฟิลล์ ไนโตรเจนออกไซด์จะทำให้เกิดแผลที่ใบและทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน [12]

ส่วนสัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียม เป็นต้น[13]

  • การบดบังแสงสว่าง

สารมลพิษเหล่านี้ เป็นสารพวกแอโรซอล ในรูปของหมอก ควัน หมอกผสมไอควันหรือฝุ่น มีผลทำให้ลดการมองเห็นได้ใน ระยะไกลเกินกว่า 8 กิโลเมตร บดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่องที่ส่องมายังพื้นโลก ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ การคมนาคม ขนส่ง ทัศนียภาพไม่สวยงาม

การควบคุมมลพิษ

[แก้]

สารมลพิษจะถูกควบคุมและลดปริมาณการเกิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นการลดปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อม รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องควบคุม

  1. ออกกฎหมายควบคุม ทางหน่วยงานของรัฐได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  2. กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมดูแลคุณภาพอากาศ ทั้งในบรรยากาศและในสถานที่ประกอบการหรือบริเวณที่อยู่อาศัยให้เกิดความปลอดภัย
  3. การควบคุมแหล่งกำเนิด
  4. การเปลี่ยนกระบวนการหรือวีธีการผลิต
  5. การนำสารปนเปื้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตไปใช้ประโยชน์ใหม่
  6. ใช้ใยแก้วดักจับฝุ่นและละอองก่อนปล่อยออกสู่ปล่องระบายอากาศ
  7. การควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหยจากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่จะต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมเพิ่มเติม[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Reports". WorstPolluted.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-29.
  2. "7 million premature deaths annually linked to air pollution". WHO. 25 March 2014. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  4. earth-www.larc.nasa.gov/ceresweb/IWG/glossary/a.html
  5. http://science.jrank.org/pages/6028/Secondary-Pollutants.html
  6. http://www.vcharkarn.com/varticle/37243
  7. "ผลกระทบของไฟป่าต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อม" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
  8. "ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละออง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  9. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2555 เรื่อง มลพิษทางอากาศในระดับภูมิภาคและการแพร่กระจายในระยะทางไกล: (1) ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-29. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  11. "การเผาขยะในที่โล่ง มลพิษที่มองไม่เห็น". มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
  12. การป้องกันและควบคุมมลพิษ พัฒนา มูลพฤกษ์ พิมพ์ที่ บริษัท ซิกม่า ดีไซน์กราฟิก จำกัด พ.ศ. 2545 ISBN 974-13-1825-1
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-07.
  14. http://global.britannica.com/EBchecked/topic/1589060/air-pollution-control[ลิงก์เสีย]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
มลพิษทางอากาศ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?