For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต.

สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต

สาธารณรัฐของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
หมวดหมู่สหพันธรัฐ
ที่ตั้ง สหภาพโซเวียต
ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
ก่อตั้ง30 ธันวาคม ค.ศ. 1922
ยกเลิกโดยการรับรองความเป็นอิสระของกลุ่มรัฐบอลติก
คำประกาศที่ 142-เอช
ยกเลิก26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
จำนวน21 รัฐ (ณ ค.ศ. 1933)
ประชากรน้อยที่สุด: 1,565,662 คน (เอสโตเนียโซเวียต)
มากที่สุด: 147,386,000 คน (รัสเซียโซเวียต)
พื้นที่น้อยที่สุด: 29,800 km2 (11,500 sq mi) (อาร์มีเนียโซเวียต)
มากที่สุด: 17,075,400 km2 (6,592,800 sq mi) (รัสเซียโซเวียต)
การปกครองสาธารณรัฐสังคมนิยมแบบพรรคการเมืองเดียว
หน่วยการปกครองสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียต, แคว้น, แคว้นปกครองตนเอง

สาธารณรัฐของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต หรือ สาธารณรัฐสหภาพ (รัสเซีย: Сою́зные Респу́блики, อักษรโรมัน: Soyúznye Respúbliki) เป็นหน่วยการปกครองตามเชื้อชาติของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR)[1] สหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1922 จากสนธิสัญญาระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน โดยสาธารณรัฐข้างต้นรวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต)

สำหรับภาพรวมทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจระดับสูงซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และมีโครงสร้างเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแต่ในนาม การปฏิรูปการกระจายอำนาจอย่างค่อยเป็นค่อยไปในยุคของเปเรสตรอยคา (การปรับโครงสร้าง) และกลัสนอสต์ (การเปิดกว้าง ซึ่งหมายถึงเสรีภาพในการพูด) ที่ดำเนินการโดยมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเฮลซิงกินั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 อันเกี่ยวโยงกับจุดจบของสงครามเย็นและการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช

ในสหภาพโซเวียตมีการแบ่งประเภทของสาธารณรัฐที่แตกต่างกันเป็นสองระดับ โดยสาธารณรัฐสหภาพที่ใหญ่กว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์หลักของสหภาพและมีสิทธิที่จะแยกตัวออกตามรัฐธรรมนูญ และสาธารณรัฐปกครองตนเองที่เล็กกว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ของสาธารณรัฐสหภาพและเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์กลุ่มน้อย โดยทั่วไปแล้ว สาธารณรัฐปกครองตนเองจะอยู่ภายใต้อำนาจของสาธารณรัฐสหภาพที่รัฐตั้งอยู่ ยกเว้นบางกรณี เช่น สาธารณรัฐนาคีชีวัน (Republic of Nakhichevan)

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชซึ่งก่อตั้งจากผลกระทบของสงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ เป็นเพียงสาธารณรัฐสหภาพเดียวที่ถูกลิดรอนสถานะใน ค.ศ. 1956 การตัดสินใจลดฐานะคารีเลียเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองภายในรัสเซียโซเวียตทำโดยรัฐบาลกลางเพียงฝ่ายเดียว ปราศจากการถามความเห็นของประชากร[ต้องการอ้างอิง]

ภาพรวม

[แก้]
ธงของสาธารณรัฐโซเวียตในพิพิธภัณฑ์ยุคโซเวียตเลนินใน บิชเคก คีร์กีซสถาน

ตามมาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสหภาพเป็นอธิปไตยรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สหรัฐกับสาธารณรัฐโซเวียตอื่น ๆ ในสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต มาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า "สิทธิอธิปไตยของสหภาพโซเวียตจะได้รับการปกป้องโดยสหภาพโซเวียต"[2]

ในช่วงการรวมตัวครั้งสุดท้าย สหภาพโซเวียตประกอบด้วย 15 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่เป็นทางการซึ่งทั้งหมด (ยกเว้นสาธารณรัฐรัสเซีย) ได้มีบทในการจัดตั้งและบริหารพรรคคอมมิวนิสต์ภายในสหพันธ์สาธารณรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต

สหพันธ์สาธารณรัฐนอกอาณาเขตสหพันธรัฐรัสเซีย ส่วนใหญ่ถูกประกอบด้วยอยู่ในดินแดนที่เดิมเป็นของจักรวรรดิรัสเซียและได้ถูกซื้อในระหว่างปี พ.ศ. 2243 จากมหาสงครามเหนือและอนุสัญญาแองโกลรัสเซีย พ.ศ. 2450 ถึงแม้สหภาพโซเวียตประกอบด้วย 15 รัฐแต่มีเพียง 11 รัฐที่มีอิสระในการบริหารยกเว้นจอร์เจียกับกลุ่มรัฐบอลติกซึ่งกลุ่มรัฐบอลติกได้รวมเข้ามาในช่วงการยึดครองรัฐบอลติกซึ่งทำให้ในระดับสากลมองว่าเป็นการยึดครองอย่างผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2534 [3][4][5]

แต่ละสาธารณรัฐมีที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองของตราประจำชาติของรัฐ ธง เครื่องอิสริยาภรณ์ แต่มีข้อยกเว้นเพลงชาติสหภาพโซเวียตเป็นเพลงประจำชาติทุกรัฐจนถึงปี พ.ศ. 2533 ทุกรัฐในสหภาพโซเวียตมีสิทธิที่จะได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน

ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 การเข้ามาควบคุมของมอสโกต่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตได้มีน้อยลงจากเปเรสตรอยคาและกลัสนอสต์ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟนำไปการเป็นอิสระมากขึ้นของสาธารณรัฐจนทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย

สาธารณรัฐสหภาพของสหภาพโซเวียต

[แก้]

จำนวนสาธารณรัฐสหภาพของสหภาพโซเวียตในแต่ยุคมีจำนวนที่แตกต่างกันตั้งแต่ 4 ถึง 16 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1956 จนกระทั่งการล่มสลายใน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทั้งหมด 15 แห่ง (ใน ค.ศ. 1956 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1940 ถูกยกเลิกเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย)

ตราแผ่นดิน ชื่อ ธงชาติ เมืองหลวง ก่อตั้ง ระยะเวลาที่เข้าร่วม ประชากร
(ค.ศ. 1989)
พื้นที่ (km2)
(ค.ศ. 1991)
รัฐเอกราชหลังการล่มสลาย
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Flag of Russian SFSR มอสโก 7 พฤศจิกายน 1917 1922-1991 147,386,000 17,075,400  รัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน Flag of Ukrainian SSR เคียฟ 10 มีนาคม 1919 1922-1991 51,706,746 603,700  ยูเครน
รัสเซีย รัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย Flag of Belarusian SSR มินสค์ 31 กรกฎาคม 1920 1922-1991 10,151,806 207,600  เบลารุส
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก Flag of Uzbekistan SSR ทาชเคนต์ 5 ธันวาคม 1924 1924-1991 19,906,000 447,400  อุซเบกิสถาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค Flag of Kazakhstan SSR อัลมา-อาตา 5 ธันวาคม 1936 1936-1991 16,711,900 2,717,300  คาซัคสถาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย Flag of Georgian SSR ทบิลีซี 25 กุมภาพันธ์ 1921 1922-1991 5,400,841 69,700  จอร์เจีย
 อับฮาเซีย
 เซาท์ออสซีเชีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน Flag of Azerbaijan SSR บากู 28 เมษายน 1920 1922-1991 7,037,900 86,600  อาเซอร์ไบจาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย Flag of Lithuanian SSR วิลนีอัส 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1990 3,689,779 65,200  ลิทัวเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย Flag of Moldovan SSR คีชีนอฟ 2 สิงหาคม 1940 1940-1991 4,337,600 33,843  มอลโดวา
 ทรานส์นีสเตรีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย Flag of Latvian SSR รีกา 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1991 2,666,567 64,589  ลัตเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ Flag of Kyrgyzstan SSR ฟรุนเซ 5 ธันวาคม 1936 1936-1991 4,257,800 198,500  คีร์กีซสถาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก Flag of Tajikistan SSR ดูชานเบ 5 ธันวาคม 1929 1929-1991 5,112,000 143,100  ทาจิกิสถาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย Flag of Armenian SSR เยเรวาน 2 ธันวาคม 1920 1922-1991 3,287,700 29,800  อาร์มีเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน Flag of Turkmenistan SSR อัชฮาบัด 13 พฤษภาคม 1925 1925-1991 3,522,700 488,100  เติร์กเมนิสถาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย Flag of Estonian SSR ทาลลินน์ 21 กรกฎาคม 1940[a] 1940-1991 1,565,662 45,226  เอสโตเนีย

อดีตสหภาพสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียต

[แก้]
แผนที่ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เมืองหลวง เข้าร่วม พื้นที่ (km²)
รวมเข้า/แยกออก
Flag of Transcaucasian SFSR สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส ทบิลิซี 1922–1936 186,100 ได้แยกเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
Flag of the Karelo-Finnish SSR สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช เปโตรซาวอดสค์ 1940–1956 172,400 รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

สาธารณรัฐอื่น ๆ ในสหภาพโซเวียต

[แก้]
แผนที่/ธงประจำรัฐ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เข้าร่วม หมายเหตุ
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส (พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2462 รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในช่วงสงครามโปแลนด์–โซเวียต ก่อนแยกในปี พ.ศ. 2463
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส พ.ศ. 2462 ผนวกกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โปแลนด์และลิทัวเนีย (ส่วนที่เป็นเอกร่าชในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกาลิเซีย พ.ศ. 2463 ผนวกเข้ากับโปแลนด์ ก่อนที่ได้คืนมารวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
สาธารณรัฐโซเวียตดอแนตสก์–กรือวึยรีห์ พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแบล็กซี เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแบล็กซี พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกรอซนืย พ.ศ. 2461 รวมตัวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสตัฟโรปอล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคูบาน-แบล็กซี เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซียน
สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตนอร์ทคอเคเซียน พ.ศ. 2461 ยกเลิกหลังถูกฝ่ายขาวยึดครองในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (พ.ศ. 2461–2463) พ.ศ. 2461–2463 ได้รับการปลดจากโปแลนด์ ในช่วงสงครามโปแลนด์–โซเวียต
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (พ.ศ. 2461-พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2461 รวมตัวกับทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส
สาธารณรัฐโซเวียตไนซาร์ พ.ศ. 2460–2461 ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน ก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอสโตเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตโมกุน พ.ศ. 2462 แยกออกจากสหภาพโซเวียตไปรวมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตออแดซา พ.ศ. 2461 ผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตตูรีดา พ.ศ. 2461 แยกออกจากสหภาพโซเวียตไปเป็นรัฐเอกราชไครเมีย
สาธารณรัฐประชาชนยูเครนแห่งโซเวียต พ.ศ. 2460–2461 รวมเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
สาธารณรัฐตะวันออกไกล พ.ศ. 2463–2465 รวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
สาธารณรัฐประชาชนโคราซม์แห่งโซเวียต พ.ศ. 2463–2468 สลายตัวก่อนจะไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซีย พ.ศ. 2464–2474 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตอับคาเซีย ภายใต้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตบูคารา พ.ศ. 2463–2468 ล่มสลายก่อนจะไปรวมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเปอร์เซีย พ.ศ. 2460–2461 คืนให้กับจักรวรรดิเปอร์เซีย

รัฐโซเวียตที่ยังไม่ก่อตั้งขึ้น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hough, Jerry F (1997). Democratization and revolution in the USSR, 1985-1991. Brookings Institution Press. p. 214. ISBN 0-8157-3749-1.
  2. Federalism and the Dictatorship of Power in Russia By Mikhail Stoliarov. Taylor & Francis. 2014. p. 56. ISBN 0-415-30153-X. สืบค้นเมื่อ 2014-02-18.
  3. David James Smith, Estonia: independence and European integration, Routledge, 2001, ISBN 0-415-26728-5, pXIX
  4. Parrott, Bruce (1995). "Reversing Soviet Military Occupation". State building and military power in Russia and the new states of Eurasia. M.E. Sharpe. pp. 112–115. ISBN 1-56324-360-1.
  5. Van Elsuwege, Peter (April 2004). Russian-speaking minorities in Estonian and Latvia: Problems of integration at the threshold of the European Union (PDF). Flensburg Germany: European Centre for Minority Issues. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-17. The forcible incorporation of the Baltic states into the Soviet Union in 1940, on the basis of secret protocols to the Molotov-Ribbentrop Pact, is considered to be null and void. Even though the Soviet Union occupied these countries for a period of fifty years, Estonia, Latvia and Lithuania continued to exist as subjects of international law.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?