For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สกล พันธุ์ยิ้ม.

สกล พันธุ์ยิ้ม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สกล พันธุ์ยิ้ม (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2486 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) เกิดที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นในสาขาชีวเคมี อณูชีววิทยา พันธุศาสตร์ และพันธุวิศวกรรม เป็นเจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2528 และรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี พ.ศ. 2549 เป็นนักวิจัยในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2546 เป็นนักวิจัยของประเทศไทยที่ตีพิมพ์บทความซึ่งมีความถี่ของการอ้างอิงมากที่สุด จากผลงานวิจัยเรื่อง High Resolution Arylamide Gel Electrophoresis of Histones ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Biochemistry and Biophysics 130: 337-346 (1969) และได้รับการอ้างอิงสูงสุดมากกว่า 3,500 ครั้ง จัดเป็นบทความ Citation Classic จนได้รับรางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. เมื่อปี พ.ศ. 2542 อดีตศาสตราจารย์เกียรติคุณ สกล พันธุ์ยิ้ม เป็นอาจารย์อยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์ สกล พันธุ์ยิ้ม หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนายเจริญ และนางสอาด พันธุ์ยิ้ม สมรสกับนางพูนพันธ์ (อัตตะนันทน์) ธิดาของจอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ และคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ มีบุตร 3 คน คือ นายธีรธร นายก่อพร และ นายธัชทร พันธุ์ยิ้ม

ประวัติการศึกษา

[แก้]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ตำแหน่งวิชาการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2514–2517 - อาจารย์โท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2518–2520 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2521–2535 - รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2535–2538 - ศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2538–2563 - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งบริหาร

[แก้]
  • พ.ศ. 2527–2531 - หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2532–2537 - รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2528–2542 - หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านจุลินทรีย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2537–2541 - ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2541–2546 - ผู้อำนวยการสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ

[แก้]
  • พ.ศ. 2529–2536 - กรรมการบริหารสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2533–2563 - คณะกรรมการบรรณาธิการวารสาร Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health
  • พ.ศ. 2535–2563 - คณะกรรมการบรรณาธิการวารสาร Asia–Pacific Journal of Molecular Biology and Biotechnology
  • พ.ศ. 2538-2543 - ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • พ.ศ. 2543–2545 - กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเคมีและเภสัช
  • พ.ศ. 2543–2546 - หัวหน้าโครงการพัฒนาบุคลากรด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ สวทช.
  • พ.ศ. 2543–2546 - ประธานคณะอนุกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพด้านจุลินทรีย์ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ สวทช.
  • พ.ศ. 2546–2563 - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพด้านจุลินทรีย์ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ สวทช.
  • พ.ศ. 2546-2563 - อ.ก.ม. วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ในการทำวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2546–2563 - ที่ปรึกษาสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2545–2563 - ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโท-ปริญญาเอก สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษใน Gordon Research Conference ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับเชิญเป็นกรรมการบริหารโครงการ Human Genome Project ของ UNESCO

เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]

ผลงานวิจัย

[แก้]
  • ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม ได้ทำการวิจัยด้านอณูชีววิทยา โดยมีผลงานเรื่อง การศึกษาโปรตีน histones และการหาวิธีจำแนกโปรตีนเหล่านี้ออกเป็น 5 ชนิดได้ด้วยการแยกโดยกระแสไฟฟ้า เป็นผลงานเด่นที่มีผู้นำไปใช้อ้างอิงมากกว่า 2,558 ครั้ง * ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 167 เรื่อง โดยมีผู้นำไปอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 4,673 ครั้ง
  • ได้ศึกษาหาวิธีการจำแนกความหลายหลายของยุงก้นปล่องโดย DNA probe โดยการใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม และพัฒนาขึ้นเป็น DNA probe สำหรับการตรวจหาและจำแนกสปีซีส์ของยุงก้นปล่อง โดยสามารถตรวจหาได้จากชิ้นส่วนของยุงหรือลูกน้ำ
  • การค้นพบวิธีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียจากเลือด โดยการตรวจสอบ DNA
  • การศึกษายีนฆ่าลุกน้ำยุงจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ซึ่งฆ่าลูกน้ำยุงอย่างจำเพาะโดยไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์
  • การแยกและเพิ่มปริมาณของยีนสร้าง growth hormone เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของปลาบึก
  • มีผลงานร่วมวิจัยศึกษาวิธีการสร้างลายพิมพ์ DNA ในคนและแบคทีเรีย จนได้วิธีจำแนกบุคคลจากลักษณะลายพิมพ์ DNA
  • การศึกษาอณูชีววิทยาของไวรัส ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ไวรัสหัวเหลือง และไวรัสตัวแดงจุดขาว ซึ่งก่อโรคสำคัญในกุ้งกุลาดำ โดยศึกษาสารพันธุกรรมของไวรัส การบุกรุกเซลล์กุ้งของไวรัส การเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์กุ้ง และการตอบสนองของเซลล์กุ้งต่อการบุกรุกของไวรัส เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจการติดเชื้อไวรัสของกุ้ง และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งปราศจากเชื้อไวรัสในอนาคต
  • การศึกษาไวรัสในมะละกอ (Papaya Ringspot Virus) ศึกษากลไกการเกิดความสามารถต้านทานไวรัส เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกมะละกอที่ปราศจากโรคไวรัสในอนาคต
  • การพัฒนาเทคโนโลยี SiRNA (small interference RNA) สำหรับเป็นวัคซีนป้องกันโรคไวรัสในกุ้ง เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง ป้องกันการเสียหายจากโรคไวรัสหัวเหลืองและโรคตัวแดงจุดขาว นอกจากนี้เทคโนโลยี SiRNA อาจจะพัฒนาขึ้นเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสในสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย เช่น โรคปากเท้าเปื่อยในวัว ควาย โรคท้องร่วงในสุกร โรคไวรัสหวัดในไก่ เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๒๑, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๒๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๖๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สกล พันธุ์ยิ้ม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?