For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ปลาบึก.

ปลาบึก

ปลาบึก
ปลาบึกที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดโลกกิฟุ
สถานะการอนุรักษ์

เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์  (IUCN 3.1)[1]
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: อันดับปลาหนัง
Siluriformes
วงศ์: Pangasiidae
Pangasiidae
สกุล: ปลาบึก (สกุล)
Pangasianodon
Chevey, 1931
สปีชีส์: Pangasianodon gigas
ชื่อทวินาม
Pangasianodon gigas
Chevey, 1931
ชื่อพ้อง
  • Pangasius gigas (Chevey, 1931)
  • Pangasius paucidens Fang & Chaux, 1949

ปลาบึก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ำรวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำงึม, แม่น้ำมูล, แม่น้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้ำโขงที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้[3] เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบันสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจัดปลาบึกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (critically endangered) และติดอยู่ในบัญชีไซเตส กลุ่ม 1 ชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าท้ายบัญชีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ลำดับที่ 909

ปลาบึกถือเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Pangasianodon (บางข้อมูลจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุลนี้)[4] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า

อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150–200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ

ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี เนื้อปลาบึกมีราคาซื้อขายที่แพงเนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ได้มีการเพาะเลี้ยง จึงไม่สามารถกำหนดขนาดของปลาได้ และได้มาจากการจับในฤดูกาลเท่านั้น ปลาบึกมีความเชื่อว่า เมื่อได้รับประทานแล้วจะมีอายุยืนยาว เนื้อของปลาบึกจะมีลักษณะคล้ายกับหมูสามชั้น มีชั้นของหนัง ไขมัน และเนื้อ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ปลาบึกได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งแม่น้ำโขง" และมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช" ขณะที่ชาวจีนจะเรียกว่า "ปลาขงเบ้ง" (จีน: 孔明鱼) เนื่องจากมีปรัมปราเล่าว่า ขงเบ้งเมื่อครั้งยกทัพมาทำศึกในภาคใต้ของจีนนั้นได้เกิดเสบียงอาหารขาดแคลน จึงอธิษฐานแล้วโยนกุนเชียงลงในน้ำกลายเป็นปลาขนาดใหญ่เพื่อเป็นเสบียงของกองทัพ คือ ปลาบึก[5]

ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมได้ทั้งในบ่อดินและปัจจุบันสามารถเพาะได้ในบ่อปูนซีเมนต์ได้ด้วย[6] โดยได้ลูกปลาออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศเช่นที่เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา[7] เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี[3] และบ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[8] เป็นอาทิ[9] โดยมีการกำหนดให้จับได้เป็นช่วงระยะเวลาและปริมาณที่ชัดเจน เช่น ที่เขื่อนแก่งกระจานมีการปล่อยปลาบึกลงไปตั้งแต่ พ.ศ. 2528 มีกำหนดในช่วงปลายปีถึงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว ที่น้ำจะมีอุณหภูมิเย็น ปลาบึกจะลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อเล่นน้ำ ทำให้จับได้ง่าย[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hogan, Z. (2011). "Pangasianodon gigas". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T15944A5324699. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T15944A5324699.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. 3.0 3.1 หน้า 24 เกษตร, ปลาบึก. "เรื่องน่ารู้". เดลินิวส์ฉบับที่ 23,793: วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แรม 3 ค่ำ เดือน 1 ปีมะเมีย
  4. "Pangasianodon Chevey, 1931". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  5. "Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็ก 16 เม.ย.57 ปลาบึก ราชินีแห่งแม่น้ำโขง". ช่อง 7. 16 April 2014. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  6. หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, ประมงน้ำจืดไทยสุดเจ๋ง เลี้ยงปลาบึกในบ่อปูนฯ. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21189: วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559 แรม 3 ค่ำ เดือน 2 ปีมะแม
  7. 3จว.ใต้แห่ดูปลาบึกเผยพบครั้งแรกแม่น้ำปัตตานี จากคมชัดลึก
  8. "จันทรเกษมจับปลาบึกปี52". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
  9. "ข่าวการอนุรักษ์พันธุ์ปลาบึกไทยด้วยเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-08-10. ((cite web)): ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. "เช้าข่าว 7 สี". ช่อง 7. 10 December 2015. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ปลาบึก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?