For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ศิลปะพะเยา.

ศิลปะพะเยา

พระพุทธรูปวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา

ศิลปะพะเยา หรือ สกุลช่างพะเยา เป็นรูปแบบศิลปะจัดอยู่ในสกุลช่างหนึ่งในศิลปะล้านนา พบบริเวณจังหวัดพะเยา พบเป็นประติมากรรมเช่นพระพุทธรูปหินทราย สถูปเจดีย์หินทราย และจารึกต่าง ๆ ปัจจุบันได้มีการเก็บรวบรวมไว้หลายที่หลายแห่ง แต่มากที่สุดถูกเก็บไว้ที่วัดศรีโคมคำและวัดลี จังหวัดพะเยา[1]

นิยาม

ศิลปะพะเยาได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกโดยหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล โดยทรงจัดว่าศิลปะพะเยาเป็นตอนปลายของศิลปะเชียงแสนรุ่นหลัง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21–22[2]

จากงานวิจัยเรื่อง "พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา" ของศักดิ์ชัย สายสิงห์ ระบุว่าสกุลช่างพะเยาเริ่มสร้างงานศิลปกรรมตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จนถึงช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24 โดยในยุคแรกสร้างตามแบบพระสิงห์โดยใช้วัสดุเป็นหินทราย ต่อมาได้รับอิทธิพลสกุลช่างสุโขทัยเข้ามา โดยได้พัฒนาจนมีรูปแบบเฉพาะตัวในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 คงดำรงไว้จนถึงช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 22 แล้วจึงเสื่อมโทรมลง

น.ณ. ปากน้ำ กำหนดอายุพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาว่า ร่วมสมัยกับพระพุทธรูปหินทรายในสมัยอยุธยา สุพรรณบุรีและลพบุรี[3]

ลักษณะ

พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยามีเอกลักษณ์คือ ทำพระพุทธรูปที่มีเม็ดพระศกมีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมมีส่วนยอดเรียวแหลม เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นเพราะวัสดุหินทรายซึ่งไม่สามารถสลักเป็นขมวดวงก้นหอยได้ ส่วนประกอบของพระพักตร์ ได้แก่ พระขนง พระนาสิก เชื่อมต่อกันเป็นสันนูน ไม่นิยมทำไรพระศก มุมพระโอษฐ์ทั้งสองข้างตวัดขึ้นสูง พระวรกายโปร่ง เพรียว มักทำประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือพระพุทธรูปทรงเครื่องพบหลักฐานไม่มากนัก[4]

อ้างอิง

  1. "หินทรายเมืองพะเยา ตอน ๒ แหล่งหินทรายและปติมากรรมหินทรายในเมืองพะเยา".
  2. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 7, 2524), 24.
  3. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. "พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  4. อัญชลี สินธุสอน. "พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในลุ่มแม่น้ำอิง : ลักษณะเฉพาะสกุลช่าง" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ศิลปะพะเยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?