For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระพุทธรูปทรงเครื่อง.

พระพุทธรูปทรงเครื่อง

พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระประธานภายในพระอุโบสถวัดนางนองวรวิหาร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในยุครัชกาลที่ 3 ล้อกันกับภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถ ที่เขียนเรื่องการปราบท้าวชมพูบดี

พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นพระพุทธรูปแบบหนึ่ง ที่องค์พระจะแลดูสง่างามและฉลองพระองค์ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์ เช่น สวมมงกุฎ กรองศอทับทรวง ฉลองพระบาท ฯลฯ พระพุทธรูปลักษณะนี้เกิดขึ้นจากคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ[1]

การกําเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในอินเดีย เกิดจากความเชื่อในฐานะของสมเด็จพระบรมศาสดาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยยกย่องว่าพระพุทธเจ้าทรงมีสภาวะที่เหนือมนุษย์ธรรมดาทั่วไป คตินิยมนี้เริ่มเด่นชัดในคัมภีร์มหายานและได้แผ่ขยายเข้ามาถึงอาณาจักรพุกาม เรียก พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องกษัตริย์นี้ว่า "ชมภูบดี" หรือ "ชมพูบดี" หรือ "มหาชมพู" ก็มี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป

ต่อมาชื่อ "ชมภูบดี" ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ ชมพูบดีสูตร เป็นคัมภีร์ที่ไม่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก มีเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์นามว่า "ชมพูบดี" ที่ครองกรุงปัจจาละ มีฤทธิ์ด้วยของวิเศษ เช่น ฉลองพระบาทที่ใส่แล้วสามารถเหาะได้ ด้วยราตรีหนึ่ง พระองค์ได้เหาะไปยังเมืองราชคฤห์ ด้วยความริษยาจึงคิดทำลายเมือง แต่ด้วยอานุภาพบุญแห่งพระเจ้าพิมพิสารคุ้มครอง แต่ของวิเศษเหล่านี้ถูกทำลายไป คราวนี้ทรงพิโรธจัดจึงกลับเมืองปัจจาละและนำศรจะมาทำร้ายพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงจำแลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีพระอินทร์ พระพรหม เทพยดา นาค ครุฑ คน ธรรพ์ เป็นบริวาร ทรงปราบทิฏฐิมานะของพระเจ้าชมพูบดีได้สำเร็จ พระเจ้าชมพูบดีสำนักผิดออกผนวช จนบรรลุอรหัตผล[2] บางคติพระพุทธรูปทรงเครื่องบ้างว่าหมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย หรือพระอนาคตพุทธเจ้า[3]

คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องนี้ได้แผ่ขยายเข้ามายังอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรขอม และปรากฏเด่นชัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบทอดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนอกจากปรากฏเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแทนองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าแล้วยังเป็นพระราชสัญลักษณ์แทนองค์ผู้สร้างพระพุทธปฏิมาองค์นั้นอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระพุทธรูปทรงเครื่อง:เครื่องทรงเยี่ยงกษัตริยาธิราช". สยามรัฐพระเครื่อง.
  2. ชัชวาล อัชฌากุล. "คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในสังคมไทย" (PDF). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  3. "พระพุทธรูปทรงเครื่อง". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระพุทธรูปทรงเครื่อง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?