For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for เน่ย์เก๋อ.

เน่ย์เก๋อ

เน่ย์เก๋อ (จีน: 內閣; พินอิน: Nèigé; อังกฤษ: Grand Secretariat) เป็นองค์กรในระบบราชการของจักรวรรดิจีนช่วงราชวงศ์หมิง ซึ่งโดยนิตินัยแล้วเป็นหน่วยประสานงาน แต่โดยพฤตินัยเป็นสถาบันสูงสุดในการปกครอง องค์กรนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อจักรพรรดิหงอู่ (洪武帝) ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (丞相) ใน ค.ศ. 1380 แล้วองค์กรนี้ก็ค่อย ๆ พัฒนาเป็นหน่วยประสานงานที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะเหนือหกกระทรวง (六部)[1] สมาชิกของเน่ย์เก๋อเรียกว่า ต้าเซฺว่ชื่อ (大學士; Grand Secretary) ซึ่งกำหนดให้มีหกตำแหน่ง แต่ไม่เคยมีผู้ดำรงตำแหน่งครบ[2] สมาชิกอาวุโสสุดเรียกกันทั่วไปว่า โฉวฝู่ (首輔; Senior Grand Secretary) โดยนิตินัยแล้วสมาชิกทั้งหมดมักเป็นข้าราชการชั้นกลาง ตำแหน่งต่ำกว่าเสนาบดีว่าการกระทรวง แต่เพราะมีหน้าที่กลั่นกรองเอกสารที่หน่วยงานราชการถวายต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งมีอำนาจร่างราชหัตถเลขา สมาชิกบางคนของเน่ย์เก๋อจึงอาจครอบงำการปกครองไว้ได้ทั้งสิ้น ประหนึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีโดยพฤตินัย[3] เป็นเหตุให้ศัพท์ภาษาจีนว่า "เน่ย์เก๋อ" นี้ปัจจุบันใช้เรียกคณะรัฐมนตรี

พัฒนาการ

[แก้]

ต้นราชวงศ์หมิง การปกครองนั้นใช้ตามระบอบของราชวงศ์หยวน (大元) ที่ตั้งสำนักอัครมหาเสนาบดีไว้ประสานระหว่างกระทรวงหลักทั้งหก สำนักดังกล่าวมีหัวหน้าสองคน เรียกว่า "อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง" คนหนึ่งเรียก "ฝ่ายซ้าย" อีกคนหนึ่งเรียก "ฝ่ายขวา" ทำหน้าที่ผู้นำหน่วยงานราชการทั่วแผ่นดิน[4] แต่จักรพรรดิหงอู่ทรงเกรงว่า การที่อำนาจการปกครองกระจุกอยู่ ณ อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง จะเป็นภัยร้ายแรงต่อราชบัลลังก์ ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1380 จึงรับสั่งให้ประหารอัครมหาเสนาบดีหู เหวย์ยง (胡惟庸) ด้วยข้อหากบฏ แล้วทรงยุบสำนักกับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี โดยให้เจ้ากระทรวงทั้งหกขึ้นตรงต่อพระองค์[5]

แต่เพราะทรงต้องอาศัยความช่วยเหลือในทางธุรการ ใน ค.ศ. 1382 จักรพรรดิหงอู่จึงทรงเลือกราชบัณฑิตจากสำนักฮั่นหลิน (翰林院) มาเป็นต้าเซฺว่ชื่อ เพื่อถวายความช่วยเหลือในงานด้านเอกสาร[2] โดยทรงส่งเขาเหล่านั้นไปประจำหน้าที่ยังสำนักงานต่าง ๆ ภายในวัง สำนักงานดังกล่าวจึงเรียกรวมกันว่า "เน่ย์เก๋อ" (ศาลาใน) ชื่อนี้ปรากฏการใช้งานตั้งแต่รัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (永樂帝)[6]

นับแต่รัชกาลจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ (宣德帝) เป็นต้นมา เน่ย์เก๋อเริ่มมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ในช่วงนี้ ฎีกาทั้งหลายที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์จะต้องผ่านเน่ย์เก๋อก่อน เมื่อได้ฎีกาแล้ว เน่ย์เก๋อจะกลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร ก่อนจะร่างหมายรับสั่งติดหน้าปกฎีกา แล้วถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการนี้เรียกว่า "ร่างหมาย" (票擬) ซึ่งทำให้เน่ย์เก๋อกลายเป็นสถาบันชั้นสูงสุดในการจัดทำนโยบายเหนือกระทรวงทั้งหกไปโดยปริยาย ทั้งส่งผลให้สมาชิกอาวุโสของเน่ย์เก๋อที่เรียก "โฉวฝู่" นั้นมีอำนาจเสมอเหมือนอัครมหาเสนาบดีแต่เก่าก่อน[7]

ตำแหน่ง

[แก้]

ในราชวงศ์หมิง ข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็น 9 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็น 2 ขั้น: สูงสุด คือ ชั้น 1 ขั้น 1, ต่ำสุด คือ ชั้น 9 ขั้น 2[8] เช่น ขุนนางในกลุ่มซันกง (三公) อยู่ชั้น 1 ขั้น 1[9] ซึ่งเท่าเทียมอัครมหาเสนาบดี[10]

ตามระบบนี้ สมาชิกเน่ย์เก๋ออยู่เพียงชั้น 5 ขั้น 1 ซึ่งนับว่าด้อยกว่าเสนาบดีที่ภายหลังยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแล้วมียศอยู่ตั้งแต่ชั้น 3 ขั้น 1 ไปจนถึงชั้น 2 ขั้น 1 ทว่า สมาชิกเน่ย์ก๋อมักควบตำแหน่งสูงอย่างอื่นด้วย เช่น เป็นเสนาบดีหรือรองเสนาบดีในกลุ่มจิ่วชิง (九卿) หรือแม้กระทั่งเป็นไท่ชือ (太師) ซึ่งเป็นหนึ่งในซันกง[11] เพราะฉะนั้น ตลอดสมัยราชวงศ์หมิง สมาชิกเน่ย์เก๋อจึงมักมีอาวุโสยิ่งกว่าข้าราชการพลเรือนอื่นทั้งสิ้นทั้งปวง[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • จฺวินจีชู่ (軍機處), หน่วยงานสูงสุดในการกำหนดนโยบายแผ่นดินสมัยราชวงศ์ชิง
  • ซันกง (三公), ขุนนางชั้นสูงสุดสามตำแหน่งในการปกครองโบราณ
  • จิ่วชิง (九卿), ขุนนางผู้ใหญ่เก้าคนซึ่งรองจากซันกง
  • ยฺวี่ฉื่อไถ (御史台), ฝ่ายตรวจการ
  • จงชูเฉิ่ง (中書省), สำนักตรวจฎีกากลาง

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. Hucker, 23.
  2. 2.0 2.1 Hucker, 29.
  3. Qian, 675.
  4. Hucker, 27.
  5. Qian, 669-670.
  6. Qian, 671.
  7. Li, 108-109.
  8. Hucker, 11.
  9. Hucker, p. 17.
  10. Hucker, p. 32.
  11. 11.0 11.1 Hucker, 30.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Li, Konghuai (2007). History of Administrative Systems in Ancient China (ภาษาจีน). Joint Publishing (H.K.) Co., Ltd. ISBN 978-962-04-2654-4.
  • Qian, Mu (1996). An Outline of the National History (ภาษาจีน). The Commercial Press. ISBN 7-100-01766-1.
  • Hucker, Charles O. (December 1958). "Governmental Organization of The Ming Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 21: 1–66. doi:10.2307/2718619. JSTOR 2718619.
  • Twitchett, Denis Crispin; John King Fairbank; และคณะ, บ.ก. (1988). The Cambridge History of China: The Ming dynasty, 1368-1644, Part 1. Cambridge University Press. pp. 358–69.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
เน่ย์เก๋อ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?