For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ศาลาเฉลิมไทย.

ศาลาเฉลิมไทย

ศาลาเฉลิมไทย
กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2499 มองเห็นศาลาเฉลิมไทย เป็นอาคารสีแดงตรงกลางภาพ พระอาทิตย์ขี้นจากน้ำ (บูชาพระพุทธด้วยน้ำเปล่า)
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทโรงละคร/โรงภาพยนตร์
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
เมืองมุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาไชย พื้นที่ด้านหน้าโลหะปราสาทและวัดราชนัดดารามวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2483 - 2492
ปรับปรุงพ.ศ. 2496[1]
รื้อถอน20 มีนาคม พ.ศ. 2532
ผู้สร้างบริษัทศิลป์ไทย
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกจิตรเสน อภัยวงศ์[1]
ศาลาเฉลิมไทยในปี พ.ศ. 2505 ขณะกำลังฉายเรื่อง วันเผด็จศึก (The Longest Day)

ศาลาเฉลิมไทย เป็นอดีตโรงมหรสพและโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่มุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาไชย ได้รับการสร้างขึ้นตามความประสงค์ของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ศาลาเฉลิมไทยได้สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2483 แต่ก็ได้หยุดไปช่วงหนึ่งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้เปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492

อาคารก่อสร้างขึ้นด้วยรูปทรงโมเดิร์นตามแบบตะวันตกไม่มีหลังคา คล้ายคลึงกับศาลาเฉลิมกรุง อาคารได้รับการออกแบบโดยจิตรเสน อภัยวงศ์ ที่จบการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมจากประเทศฝรั่งเศส และตกแต่งภายในโดยศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา

ศาลาเฉลิมไทยเมื่อเปิดใหม่ ได้กลายเป็นหนึ่งในโรงมโหรสพที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในขณะนั้น ด้วยที่นั่งราว 1,200 ที่นั่ง พร้อมที่นั่งชั้นบน เวทีเป็นแบบมีกรอบหน้า มีเวทีแบบเลื่อนบนราง (Wagon Stage) เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนฉาก ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นโรงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2496[2]

เนื่องจากศาลาเฉลิมไทยตั้งอยู่ด้านหน้าวัดราชนัดดารามวรวิหาร และ โลหะปราสาท ทำให้เกิดการบดบังทัศนียภาพเบื้องหลัง จนในที่สุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติให้รื้อศาลาเฉลิมไทย แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายก็ตาม โดยศาลาเฉลิมไทยได้ฉายเรื่อง "พ้นท้ายนรสิงห์" เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย[1]

ประวัติ

[แก้]

ก่อสร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ให้เป็นโรงละครแห่งชาติในเวลานั้น และมีรูปแบบของอาคารกลมกลืนกับอาคารอื่นที่สร้างขึ้นริมถนนราชดำเนินกลาง

เดิมเป็นอาคารว่างเปล่าแล้วเป็นโกดังเก็บผ้าของทางราชการ ต่อมาบริษัทศิลป์ไทย (ซึ่งมีนายพิสิฐ ตันสัจจา เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นด้วย) ได้ขอเช่าพื้นที่ ริเริ่มปรับปรุงต่อเติมเป็นสถานบันเทิง ออกแบบและควบคุมโดย อาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา สถาปนิกชั้นนำของเมืองไทย ใช้งบประมาณถึง 1 ล้านบาท [3]

เปิดดำเนินการเป็นสถานที่แสดงละครเวทีอาชีพ ระหว่าง พ.ศ. 2492–2496 ก่อนเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ทางโรงภาพยนตร์ได้จัดแสดงละครเวที พันท้ายนรสิงห์ เป็นการอำลาอาลัยการก่อนปิดตัวถาวร หลังจากนั้นได้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ เครื่องฉาย รถขายไอศกรีม ลำโพง ตัวอักษรชื่อโรง พร้อมกับการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เหลือออกเพื่อสร้างเป็น ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเผยให้เห็นทัศนียภาพสง่างามของ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร เบื้องหลังได้อย่างเต็มที่

ความรุ่งโรจน์และนวัตกรรม

[แก้]

โรงละครเวที

[แก้]

ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นโรงมหรสพ ซึ่งผสมผสานความสง่างามแบบโรงละครในยุโรปกับความหรูหราของศิลปะลวดลายไทยอันวิจิตร ทันสมัยยิ่งใหญ่ด้วยเวทีเลื่อนขึ้นลงได้ระบบไฮดรอลิค[4] เพียงแห่งเดียวของเมืองไทย สามารถจุผู้ชม 1,500 ที่นั่ง (ศาลาเฉลิมนคร 800 ที่นั่ง, ศาลาเฉลิมกรุง 600 ที่นั่ง) ตั้งแต่ยุคละครเวที หลายเรื่องของคณะอัศวินการละครเป็นตำนานที่มีชื่อเสียง เช่น พันท้ายนรสิงห์, นันทาเทวี, บ้านทรายทอง ฯลฯ[5]

โรงภาพยนตร์

[แก้]

เมื่อเข้าสู่ยุคปรับเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ได้ริเริ่มจัดพื้นที่ซึ่งเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมร้านข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) อย่างโรงหนังต่างประเทศ และร้านไอศกรีม (ป๊อบ "ตราเป็ด" ที่ดังมากในขณะนั้น พร้อมป้ายโลโก้ รูปหน้าโดนัลด์ ดั๊ก มองเห็นแต่ไกล)

ต้นเดือนเมษายน ปีนั้น เป็นแห่งแรกในเมืองไทยที่ฉายหนังสามมิติ ใต้อุ้งมือโจร (Man in the Dark) และหนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของโลก อภินิหารเสื้อคลุม (The Robe) เข้าฉายในวันสิ้นปี [6]

พ.ศ. 2498 เป็นสถานที่ฉายเฉพาะกิจสำหรับหนังการ์ตูนไทยเรื่องแรก (16 มม./พากย์) เหตุมหัศจรรย์ ของ ปยุต เงากระจ่าง (ซึ่งเพิ่งขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติปี พ.ศ. 2555)[7]และหนังทุนสูง (16 มม./พากย์) นเรศวรมหาราช ของอัศวินภาพยนตร์ ในช่วงต้นทศวรรษ 2500

หลังจากนั้นเป็นผู้นำความแปลกใหม่มาเสนออย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หนังเพลงระบบ ทอดด์-เอโอ เสียงสเตอริโอโฟนิคสมบูรณ์แบบครั้งแรกของฮอลลีวู้ด มนต์รักทะเลใต้ (South Pacific),หนังการ์ตูน ระบบซูเปอร์เทคนิรามา 70 มม.เรื่องแรกของโลก เจ้าหญิงนิทรา (Sleeping Beauty), หนังมหากาพย์สงครามโลก 34 ดาราสากล วันเผด็จศึก (The Longest Day), หนังซีเนราม่า 3 เครื่องฉาย พิชิตตะวันตก (How the West Was Won), หนังมหากาพย์ทุนมโหฬารตลอดกาล คลีโอพัตรา (Cleopatra) ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นครั้งแรกของโรงหนังเมืองไทยที่ติดตั้งลิฟท์บริการผู้ชมชั้นบนด้วย[8] และหนังเด่นอีกหลายเรื่อง เช่น บุษบาริมทาง (My Fair Lady), ดร.ชิวาโก (Dr.Zhivago) รวมทั้งหนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของอัศวินภาพยนตร์ -ชอว์บราเดอร์ส รางวัลตุ๊กตาทอง (มรดกชาติปี พ.ศ. 2555) เรือนแพ [9] ที่ยังกลับมาฉายซ้ำอีก 2–3 ครั้ง เป็นต้น

วันมหาวิปโยค 14 ตุลา

[แก้]

ศาลาเฉลิมไทยมีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเป็นทั้งที่หลบภัยและโรงพยาบาลของคนเจ็บจากการต่อสู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย[10]


อ้างอิง

[แก้]
บรรณานุกรม
  • ฉัตรภูติ, ธนาทิพย์ (2547). ตำนานโรงหนัง. เวลาดี. ISBN 974-9659-11-2.
รายการอ้างอิง
  1. 1.0 1.1 1.2 ศาลาเฉลิมไทย เก็บถาวร 2016-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ .สืบค้นเมื่อ 14/12/2559
  2. ศาลาเฉลิมไทย : วัฒนธรรมใหม่ที่ไม่อาจบดบังพลังเก่า, BlogGang.com .สืบค้นเมื่อ 14/12/2559
  3. ธนาทิพย์ ฉัตรภูติ, 2547: หน้า 56–57
  4. ธนาทิพย์ ฉัตรภูติ, 2547: หน้า 57–58
  5. อิงคศักดิ์ เกตุหอม, นี่คือชีวิตของดอกดิน หอภาพยนตร์ชาติ(องค์การมหาชน), 2554 ISBN 978-616-543-135-4 หน้า 29-31
  6. ธนาทิพย์ ฉัตรภูติ, 2547: หน้า 60–61
  7. จุลสารทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2,2555
  8. ข่าวบันเทิง หน้า 13 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ,พ.ศ. 2506
  9. จุลสารทะเบียนมรดกภาพยนตร์
  10. ธนาทิพย์ ฉัตรภูติ, 2547: หน้า 61

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ศาลาเฉลิมกรุง
  • ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์, นาฎยศิลป์รัชกาลที่ 9, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2549.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


13°45′20″N 100°30′17″E / 13.7556843°N 100.5046892°E / 13.7556843; 100.5046892

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ศาลาเฉลิมไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?