For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วันชาติ (ประเทศไทย).

วันชาติ (ประเทศไทย)

วันชาติ
จัดขึ้นโดยประเทศไทย
ประเภทวันชาติ, วันหยุดสาธารณะ
ความสำคัญวันพระบรมราชสมภพของพระมหากษัตริย์[1]
เริ่ม6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[2]
วันที่5 ธันวาคม ของทุกปี

วันชาติ เป็นวันสำคัญและวันหยุดราชการในประเทศไทย เคยกำหนดใช้หลายวัน คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นอย่างน้อย ใช้วันที่ 6 เมษายน ตรงกับวันจักรี[3] กระทั่ง พ.ศ. 2481 จึงใช้วันที่ 24 มิถุนายน ตรงกับวันปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1] จนใน พ.ศ. 2503 จึงยกเลิกไปและแทนที่ด้วย วันเฉลิมฉลองของชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) แทน[4] ต่อมาใน พ.ศ. 2560 จึงรื้อฟื้นวันชาติขึ้น โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9[2]

ประวัติ

6 เมษายน

ใน พ.ศ. 2463 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อัครราชทูตสยามในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีโทรเลข ลงวันที่ 2 กรกฎาคม แจ้งกระทรวงการต่างประเทศสยามว่า รัฐบาลสเปนขอทราบถึงวันชาติสยาม เพื่อจะลงไว้ในหนังสือทางการทูต และพระองค์เจ้าจรูญฯ ไม่ทราบจะตอบอย่างไรดี เพราะสถานทูตในกรุงปารีสเคยฉลองอยู่ 3 วัน คือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันขึ้นปีใหม่ และวันขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงทูลถามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และหม่อมเจ้าธานีนิวัต ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนราชเลขาธิการ มีหนังสือตอบกลับมาว่า รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่า "ควรบอกไป วันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่เราเรียกกันว่า 'วันจักรี' (Chakri Day)"[3]

24 มิถุนายน

ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติสยามในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว รัฐบาลซึ่งมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ให้ใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ[5] เพื่อรำลึกถึงการที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในการปฏิวัติสยามนั้น[1]

ในปีถัดมา มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน เป็นครั้งแรก ซึ่งดำเนินไปอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้รัฐบาลอันมีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[6]

ในวันชาติ พ.ศ. 2482 นั้น จอมพล แปลก ยังประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย"[6] และให้เผยแพร่ "เพลงวันชาติ" เป็นครั้งแรก อันเป็นเพลงที่มนตรี ตราโมท แต่ง และชนะการประกวดซึ่งรัฐบาลจัดขึ้น[1]

จอมพล แปลก ยังออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ให้หยุดราชการ 3 วันเนื่องในวันชาติ ได้แก่ วันที่ 23, 24, และ 25 มิถุนายน ของทุกปี[7] ต่อมา ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ให้เปลี่ยนเป็นหยุดวันเดียว คือ 24 มิถุนายน ของทุกปี[8]

5 ธันวาคม

ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้แทนที่วันชาติด้วย "วันเฉลิมฉลองของชาติ" ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9[4] ประกาศดังกล่าวระบุว่า การกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ มี "ข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ" คณะรัฐมนตรีจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นประธาน และได้ข้อสรุปว่า ให้กำหนดวันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติแทน เพื่อ "ให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน"[4]

ในโอกาสเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ยังออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันชาติด้วย[9]

ต่อมาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) มีพระราชโองการให้กำหนดวันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9 พระราชบิดา เป็นวันสำคัญของประเทศ 3 วัน คือ วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9 วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[2] ประกาศดังกล่าวระบุเหตุผลว่า เพื่อ "น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและตระหนักถึงความสำคัญของวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา"[2]

พลเอก ประยุทธ์ ยังออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่า ให้หยุดราชการในวันชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปีนั้น เป็นต้นไป[10]

ครั้นวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 รัชกาลที่ 10 ทรงออกประกาศมีเนื้อความอย่างเดียวกันว่า ให้วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 9 วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ[11]

กิจกรรม

ในวันชาติ 24 มิถุนายน นั้น กิจกรรมในกรุงเทพฯ มีขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ทั้งกลางวันและกลางคืน มีการยิงปืนใหญ่ทั้งทางบกและทางเรือเพื่อเป็นสลุต มีเครื่องบินโปรยกระดาษสีธงชาติในเวลากลางวันและโปรยพลุในเวลากลางคืน มีการแสดงโขน มีพิธีกรรมทางศาสนา มีการออกตราไปรษณียากรเป็นที่ระลึก มีการเชิญชวนให้ยานพาหนะต่าง ๆ ร่วมกันเปล่งเสียงแตรหรือหวูดพร้อมกันในเวลาเที่ยงวัน เว้นแต่ในบริเวณโรงพยาบาล และยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนในจังหวัดอื่นนั้น มีการประชุมนักเรียนเพื่ออธิบายความสำคัญของวันชาติ มีการประกวดประพันธ์กวีนิพนธ์และบทเพลงเกี่ยวกับชาติ มีการเฉลิมฉลองและมหรสพครึกครื้น นอกเหนือไปจากกิจกรรมอื่น ๆ[6]

ส่วนในวันชาติ 5 ธันวาคม มีกิจกรรม คือ พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และถวายบังคมแด่รัชกาลที่ 9[12] และในช่วงโควิด-19 ระบาด กิจกรรมดังกล่าวได้จัดทางออนไลน์แทน[12]

แม้จะมีผู้เห็นว่า วันที่ 24 มิถุนายน กลายเป็น "ความทรงจำอันเลือนราง" ในประวัติศาสตร์ไทย[13] ก็ยังมีผู้จัดกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อรักษาความทรงจำนี้ไว้ โดยเรียกว่า "วันชาติราษฎร" แทน[14]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

งานเฉลิมฉลองวันชาติ พ.ศ. 2482 ได้รับการถ่ายทอดไว้สหัสนิยายเรื่อง พล นิกร กิมหงวน ตอน ตื่นกรุง ของ ป. อินทรปาลิต ซึ่งเผยแพร่ในปีนั้นเอง[6]

ถาวรวัตถุ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี (2012-07-20). "รำลึกเพลงวันชาติ 24 มิถุนายน วันนี้ยังดังอยู่ในใจ". วอยซ์ทีวี.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560" . ราชกิจจานุเบกษา. 134 (44 ง): 1. 2017-02-10.
  3. 3.0 3.1 กรมศิลปากร (1969). พระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว . พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง. p. 37–38.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2503" . ราชกิจจานุเบกษา. 77 (43 ง): 1452–1453. 1960-05-24.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481" . ราชกิจจานุเบกษา. 55: 322. 1938-08-01.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 นริศ จรัสจรรยาวงศ์ (2022-06-24). "เฉลิมฉลองวันชาติครั้งแรก 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482". The101.world.
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2482" . ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3551–3553. 1940-03-04.
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ พ.ศ. 2491" . ราชกิจจานุเบกษา. 45 (65): 2312–2314. 1948-08-10.
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2503 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2503" . ราชกิจจานุเบกษา. 77 (49 ง): 1. 1960-06-09.
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2560" . ราชกิจจานุเบกษา. 134 (44 ง): 2. 2017-02-10.
  11. "ประกาศ เรื่อง การกำหนดวันสำคัญของชาติไทย ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2562" . ราชกิจจานุเบกษา. 136 (129 ง): 1. 2019-05-22.
  12. 12.0 12.1 "วันชาติไทย 2564". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา. 2022-11-30.
  13. พระจันทร์ เอี่ยมชื่น (2022-06-29). "รู้ไหม 24 มิถุนายน เคยเป็น "วันชาติ" ของประเทศไทย". BrandThink.
  14. "รำลึก 91 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง เปิดเพลงวันชาติ 24 มิถุนา แทน เพลงชาติไทย". ไทยรัฐ. 2023-06-24.
  15. "สะพานเฉลิมวันชาติ ย่านขายธงชาติแห่งแรก". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-10-13.
  16. "วันนี้ในอดีต 24 มิ.ย. 2485 เปิด'อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ'". คมชัดลึก. 2017-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วันชาติ (ประเทศไทย)
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?