For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ลิงอ้ายเงียะ.

ลิงอ้ายเงียะ

ลิงอ้ายเงียะ
ลิงอ้ายเงียะตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Cercopithecidae
สกุล: Macaca
สปีชีส์: M.  assamensis
สปีชีส์ย่อย:
  • M.  a. assamensis
  • M. a. pelops
ชื่อทวินาม
Macaca assamensis
(McClelland, 1840)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ลิงอ้ายเงียะ, ลิงอัสสัม หรือ ลิงภูเขา[1] (อังกฤษ: Assam macaque; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca assamensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อยู่ในอันดับวานร (ไพรเมต) มีรูปร่างอ้วนเทอะทะ แขนและขาสั้น ขนตามลำตัวมีสีเหลืองปนเทา บางตัวอาจมีสีเข้มมากจนดูคล้ายสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวไหล่ ศีรษะ และแขนจะมีสีอ่อนกว่าสีขนบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ขนบริเวณหัวและหางมักมีสีเทา ขนที่ไหล่มีความยาวมากกว่า 8.5 เซนติเมตร ในบางฤดูกาลผิวหนังใต้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมฟ้า มีความยาวลำตัวและหางรวม 51-63.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-38 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม

มักอาศัยในป่าบนภูเขาสูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-3,500 เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ซึ่งมีเรือนยอดไม้สูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 เมตร จากการศึกษาพบว่ามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 40- 60 ตัว ในระหว่างการหากินจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่ระวังภัยให้ฝูง โดยจะนั่งสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ซึ่งสูงที่สุด และหากมีอันตรายเข้ามาใกล้จะส่งเสียงร้องเตือนให้หลบหนี โดยจะร้องเสียงดัง "ปิ้ว" ลิงอ้ายเงียะจัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย สามารถกระดิกหางได้เหมือนสุนัข เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน กินอาหารประกอบไปด้วย ผลไม้ ยอดไม้อ่อน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า เป็นต้น

มีการกระจายพันธุ์พบในเนปาล ภูฏาน สิกขิมและรัฐอัสสัมของอินเดีย ภาคใต้ของจีน ภาคเหนือของพม่า ภาคเหนือของเวียดนาม ภาคตะวันตกและภาคอีสานของไทย แบ่งเป็นชนิดย่อย 2 ชนิดได้แก่ ลิงอ้ายเงียะตะวันออก (M. a. assamensis) และลิงอ้ายเงียะตะวันตก (M. a. pelops) ซึ่งแบ่งตามสองฝั่งของแม่น้ำพรหมบุตร

ลิงอ้ายเงียะในประเทศไทย ปัจจุบันนี้พบได้เพียง 9 แห่งเท่านั้น ได้แก่ วัดถ้ำปลา และวัดถ้ำผาแลนิภาราม จ.เชียงราย, บ้านป่าไม้ จ.เชียงใหม่, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล[2] จ.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน จ.กำแพงเพชร, เขตรักษาพันธ์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก, อุทยานแห่งชาติภูเขียว จ.ชัยภูมิ, เขื่อนเขาแหลม และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี และยังมีข้อมูลว่าพบที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จ.ลำปางอีกด้วยซึ่งถือว่าน้อยมาก ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Macaca assamensis ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ลิงอ้ายเงียะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?