For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for รัฐมเธศ.

รัฐมเธศ

รัฐมเธศ

मधेश प्रदेश (เนปาล)
รัฐ
ตามเข็มนาฬิกาจากบน
ชานกีมนเทียร, ประตูสู่เนปาล, คฒีมาอีมนเทียร, ฉินนมัสตาภควตีมนเทียร และกังกาลินีมนเทียร
ที่ตั้งรัฐมเธศในประเทศเนปาล
ที่ตั้งรัฐมเธศในประเทศเนปาล
ประเทศ เนปาล
จัดตั้ง20 กันยายน พ.ศ. 2558
เมืองหลวงชนกปุรธาม[1]
เมืองใหญ่สุดพีรคัญช์
เขต8
การปกครอง
 • ประเภทรัฐที่ปกครองตนเอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐ
 • ผู้ว่าการรัฐหริ ศังกร มิศระ[2]
 • มุขยมนตรีสโรช กุมาร ยาทวะ
 • สภารัฐสภาเดียว (107 ที่นั่ง)
 • เขตเลือกตั้งรัฐสภา32
พื้นที่
 • ทั้งหมด9,661 ตร.กม. (3,730 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 7
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)
 • ทั้งหมด6,126,288 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น630 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 1
เขตเวลาUTC+5:45 (เวลาเนปาล)
รหัสภูมิศาสตร์NP-TW
เอชดีไอ0.519 (ต่ำ)
การรู้หนังสือ52.28%
อัตราส่วนเพศ101.2 /100 (พ.ศ. 2554)
จีดีพี5.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อันดับจีดีพีที่ 4
เว็บไซต์madhesh.gov.np

รัฐมเธศ (เนปาล: मधेश प्रदेश, มเธศ ปฺรเทศ, ออกเสียง [mʌd̪es prʌd̪es]) เป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐของประเทศเนปาลที่ก่อตั้งขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเนปาล เป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดแต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศ[3][4] กล่าวคือ มีพื้นที่ 9,661 ตารางกิโลเมตร (3,730 ตารางไมล์) หรือประมาณร้อยละ 6.5 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ และมีประชากร 6,126,288 คน (จากสำมะโนประชากรเนปาล พ.ศ. 2564) ประชากรส่วนใหญ่ของรัฐพูดภาษาไมถิลี ภาษาโภชปุระ ภาษาเนปาล และภาษาพัชชิกา[3]

รัฐมเธศมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐพาคมตีทางทิศเหนือ รัฐโกศีทางทิศตะวันออก และรัฐพิหารของอินเดียทางทิศใต้ แม่น้ำโกศีและเขตสงวนสัตว์ป่าโกศีฏัปปุทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐมเธศกับรัฐโกศีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และเส้นแบ่งเขตระหว่างอุทยานแห่งชาติจิตวันกับอุทยานแห่งชาติปรรสา (เดิมเป็นเขตสงวนสัตว์ป่า) ทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐมเธศกับรัฐพาคมตีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก

นครกึ่งมหานครชนกปุรธาม (หรือที่นิยมเรียกว่าชนกปุระ) เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของรัฐ[5] เชื่อกันว่าเมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์วิเทหะซึ่งปกครองแคว้นมิถิลาในสมัยโบราณ[6] ราชพิราชเป็นเทศบาลที่ได้รับการวางผังเมืองแห่งแรกของเนปาลและยังเป็นเทศบาลที่เก่าแก่ที่สุดในแถบตราอีของเนปาลอีกด้วย[7][8] เชื่อกันว่าเมืองนี้ได้รับการตั้งชื่อตามวัดราชเทวีโบราณ มหานครพีรคัญช์เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นมหานครเพียงแห่งเดียวในรัฐ[9][10][11][12][13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Breaking ! प्रदेश २ को स्थायी राजधानी 'जनकपुरधाम' बहुमतले पारित !".
  2. "Government recommends Hari Shankar Mishra as provincial chief of Province 2". The Kathmandu Post. 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
  3. 3.0 3.1 "National Population and Housing Census 2011" (PDF). Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 August 2014. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
  4. "सबैभन्दा बढी जनसंख्या हुने प्रदेश मधेश". ekantipur.com (ภาษาเนปาล). สืบค้นเมื่อ 2022-01-26.
  5. Rastriya Samachar Samiti (2004). "More Indian tourists visit Janakpurdham". Himalayan Times, 17 January 2004.
  6. Burghart, R. (1978). The disappearance and reappearance of Janakpur. Kailash: A Journal of Himalayan Studies 6 (4): 257–284.
  7. "राजविराज नगरपालिका, नगर कार्यपालिकाकाे कार्यालय | प्रदेश नं. २, नेपाल सरकार". www.rajbirajmun.gov.np (ภาษาเนปาล). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.
  8. "Rajbiraj revisited". Nepali Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.
  9. "Birgunj Metropolitan City official Website". birgunjmun.gov.np.
  10. "Biratnagar, Birgunj promoted to Metropolitan Cities". The Himalayan Times. 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  11. "Possible headquarters of states". onlinekhabar.com.
  12. "Where will Province Chief live?". Naya Patrika Nepal's National News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  13. "Possible Province headquarters". BroadNepal News Bnn. 15 August 2015.
  14. "कुन प्रदेशको राजधानी कहाँ ?". Himalayan Kangaroo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
รัฐมเธศ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?