For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ.

ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ

ระบบนำไฟฟ้าหัวใจ
ระบบนำไฟฟ้าหัวใจ
ระบบนำไฟฟ้าหัวใจ 1-SA node. 2-AV node. 3. Bundle of His. 8. ผนังกั้น
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินsystema conducente cordis
MeSHD006329
TA98A12.1.06.002
FMA9476
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

การนำไฟฟ้าหัวใจที่ปกติทำให้พลังผลักดัน (impulse) ที่สร้างจากปุ่มไซนัสหัวใจห้องบน (Sinaoatrial node) หรือเอสเอโนด (SA node) ของหัวใจแผ่ไปยัง (และกระตุ้น) กล้ามเนื้อหัวใจ ผลของการกระตุ้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว การกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเป็นระเบียบนี้ทำให้หัวใจหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย

โครงสร้าง

[แก้]

สัญญาณที่เกิดขึ้นในเอสเอโนดกระตุ้นหัวใจห้องบนให้หดตัวแล้วเดินทางต่อไปยังปุ่มหัวใจห้องบนล่าง (AV node) หลังการหน่วงระยะหนึ่ง สิ่งเร้าถูกนำผ่านบันเดิลออฟฮิส (bundle of His) ไปยังเพอร์คินจีไฟเบอร์ (Purkinje fibers) และเยื่อบุหัวใจที่ปลายหัวใจ และไปยังเยื่อหุ้มหัวใจชั้นในของหัวใจห้องล่างในที่สุด[1]

ในระดับเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คลื่นดีโพลาไรเซชัน (depolarization) แผ่ไปยังเซลล์ข้างเคียงโดยแกบจังก์ชัน (gap junction) ซึ่งอยู่ที่อินเตอร์คาเลเต็ดดิสก์ (intercalated disc) หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกัน (functional syncytium) คำว่า "functional syncytium" แตกต่างจาก "true syncytium" ซึ่งเซลล์รวมกัน โดยใช้เยื่อหุ้มเซลล์ร่วมกันดังที่พบในกล้ามเนื้อลาย ในการทำงานร่วมกัน พลังผลักดันไฟฟ้าแผ่อย่างอิสระระหว่างเซลล์ในทุกทิศทาง ฉะนั้นกล้ามเนื้อหัวใจจึงทำงานเป็นหน่วยยืดหดหน่วยเดียว คุณสมบัตินี้ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจดีโพลาไรซ์ได้อย่างรวดเร็วพร้อมเพรียงกัน ตามปกติคุณสมบัตินี้จะเป็นข้อดี ทว่าอาจเป็นข้อเสียได้ เพราะสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้องอาจแผ่ไปได้เช่นกัน แกบจังก์ชันเหล่านี้สามารถปิดเพื่อแยกเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหายหรือกำลังตายได้ เช่น ในกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

การทำหน้าที่

[แก้]

กลไกไฟฟ้าเคมี

[แก้]

กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกับเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อลายบางประการ ลักษณะที่คล้ายเซลล์ประสาทคือ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหนึ่งมีศักยะเยื่อ (membrane potential) เป็นลบขณะพัก การกระตุ้นเหนือค่าขีดเริ่มเปลี่ยนชักนำให้ช่องไอออนแบบควบคุมด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated) เปิดออก แล้วแคตไอออนจะเข้ามาในเซลล์ ไอออนประจุบวกเข้าสู่เซลล์ทำให้เกิดลักษณะดีโพลาไรเซชันของศักยะงาน ลักษณะที่คล้ายกล้ามเนื้อลายคือ ดีโพลาไรเซชันทำให้ช่องไอออนแบบควบคุมด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้าเปิดออกและ Ca2+ ถูกปล่อยออกมาจากทีทิวบูล (t-tubule) การไหลเข้าของแคลเซียมทำให้มีการปล่อยแคลเซียมที่อาศัยแคลเซียมชักนำ (calcium-induced calcium release) จากซาร์โคพลาสมิกเรติคิวลัม และ Ca2+ อิสระทำให้กล้ามเนื้อหดตัว หลังการหน่วงระยะหนึ่ง ช่องโพแทสเซียมจะเปิดออกอีกครั้งและการไหลออกจากเซลล์ของ K+ ทำให้เกิดรีโพลาไรเซชัน (repolarization) กลับสู่สภาวะพัก

สังเกตว่ามีข้อแตกต่างทางสรีรวิทยาสำคัญระหว่างเซลล์โนดและเซลล์หัวใจห้องล่าง ความแตกต่างเฉพาะในช่องไอออนและกลไกของโพลาไรเซชันทำให้เซลล์เอสเอโนดมีคุณสมบัติเฉพาะ ที่สำคัญที่สุด ดีโพลาไรเซชันพร้อมกันจำเป็นต่อกิจกรรมตัวคุมจังหวะหัวใจของเอสเอโนด

ข้อกำหนดการสูบฉีดอย่างมีประสิทธิภาพ

[แก้]

เพื่อให้ประสิทธิภาพการหดตัวและปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีสูงสุด ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจต้องมี

  • การหน่วงจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่างอย่างเพียงพอ เพื่อให้หัวใจห้องบนบีบเลือดลงสู่หัวใจห้องล่างให้หมด การหดตัวพร้อมกันจะทำให้การเติมเลือดนี้ไม่มีประสิทธิภาพและการไหลย้อนกลับ ในการนำไฟฟ้า หัวใจห้องบนจะถูกแยกจากหัวใจห้องล่าง โดยเชื่อมกันเฉพาะผ่านเอวีโนดซึ่งหน่วงสัญญาณเป็นเวลาสั้น ๆ
  • การหดตัวพร้อมกันของเซลล์หัวใจห้องล่าง หัวใจห้องล่างต้องเพิ่มความดันช่วงหัวใจบีบตัวให้มากที่สุดเพื่อดันเลือดผ่านระบบไหลเวียนโลหิต
    • การหดตัวของหัวใจห้องล่างเริ่มจากปลายหัวใจ แล้วค่อย ๆ ไล่ขึ้นบนเพื่อขับเลือดออกสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ การหดตัวซึ่งบีบเลือดสู่ทางออกจะมีประสิทธิภาพกว่าการบีบตัวจากทุกทิศทาง แม้ว่าสิ่งเร้าหัวใจห้องล่างจะกำเนิดจากเอวีโนดในผนังกั้นหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง ก็จะมีบันเดิลออฟฮิสนำสัญญาณไปยังปลายหัวใจก่อน
    • ดีโพลาไรเซชันแผ่ไปทั่วทั้งกล้ามเนื้อหัวใจอย่างรวดเร็ว เซลล์หัวใจห้องล่างหดตัวแทบพร้อมกัน
    • ศักยะงานของกล้ามเนื้อหัวใจคงอยู่นานกว่าปกติ ซึ่งป้องกันการคลายตัวก่อนจังหวะ โดยรักษาการหดตัวเริ่มแรกกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมดมีเวลาดีโพลาไรซ์และหดตัว
  • การไม่มีการชักเกร็ง หลังหดตัว หัวใจต้องคลายตัวเพื่อเติมเลือดอีกครั้ง การหดตัวค้างของหัวใจโดยไม่มีการคลายตัวร้ายแรงถึงชีวิต และป้องกันได้โดยการทำให้บางช่องไอออนหมดฤทธิ์ชั่วคราว

ดีโพลาไรเซชันและอีเคจี

[แก้]
หลักการเกิดอีซีจี เส้นสีแดงแสดงคลื่นดีโพลาไรเซชัน
กลุ่มคลื่น ECG: P=คลื่น P, PR=ระยะ PR, QRS=กลุ่มคลื่น QRS, QT=ระยะ QT, ST=ช่วง ST, T=คลื่น T

เอสเอโนด: พีเวฟ

[แก้]

ภายใต้สภาพปกติ เอสเอโนดสร้างกิจกรรมไฟฟ้าขึ้นเอง เป็นตัวคุมจังหวะหัวใจทางสรีรวิทยา พลังผลักดันไฟฟ้าแผ่ไปทั่วหัวใจห้องบนขวา และผ่านบัคมันนส์บันเดิล (Bachmann's bundle) ไปยังหัวใจห้องบนซ้าย กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องบนหดตัว การนำพลังผลักดันไฟฟ้าทั่วหัวใจห้องบนปรากฏบนอีซีจีเป็นคลื่น P

ขณะที่กิจกรรมไฟฟ้าแพร่ไปทั่วหัวใจห้องบน ก็เดินทางผ่านช่องทางพิเศษเรียกว่า อินเตอร์โนดอลแทร็ก (internodal tract) จากเอสเอโนดไปยังเอวีโนด

เอวีโนด/บันเดิล: พีอาร์อินเตอร์วอล

[แก้]

เอวีโนดทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงสำคัญในระบบนำไฟฟ้า หากไม่มีการหน่วงนี้ หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างจะหดตัวพร้อมกัน และเลือดจะไม่ไหลจากหัวใจห้องบนไปยังหัวใจห้องล่างอย่างมีประสิทธิภาพ การหน่วงในเอวีโนดนี้เป็นส่วนใหญ่ของระยะ PR (PR segment) ในอีซีจี และรีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องบนบางส่วนแสดงเป็นระยะ PR

ส่วนปลายของเอวีโนด เรียก บันเดิลออฟฮิส บันเดิลออฟฮิสแยกออกเป็นสองสาขาในผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องล่าง สายซ้ายจะกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้าย ขณะที่สายขวาจะกระตุ้นหัวใจห้องล่างขวา สายซ้ายสั้นกว่า โดยแยกเป็นมัดหน้าซ้ายและมัดหลังซ้าย มัดหลังซ้ายค่อนข้างสั้นและกว้าง ด้วยหลอดเลือดหล่อเลี้ยง (blood supply) คู่ ทำให้ส่วนนี้ทนทานต่อความเสียหายจากการขาดเลือดเฉพาะที่เป็นพิเศษ มัดหลังซ้ายส่งผ่านพลังผลักดันไปยังกล้ามเนื้อพาพิลลารี (papillary muscle) ทำให้ลิ้นไมทรัลปิด เนื่องจากมัดหลังซ้ายสั้นกว่าและกว้างกว่ามัดทางขวา พลังผลักดันจึงไปถึงกล้ามเนื้อพาพิลลารีก่อนดีโพลาไรเซชัน และการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายตามลำดับ เหตุนี้ทำให้คอร์ดีเท็นดินี (chordae tendinae) อัดแรงก่อน (pre-tensioning) คือ เพิ่มความต้านทานต่อการไหลผ่านลิ้นไมทรัลระหว่างการหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย

เพอร์คินจีไฟเบอร์/กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง: คิวอาร์เอสคอมเพล็กซ์

[แก้]

สาขาบันเดิลสองสาขาเรียวลงเป็นเพอร์คินจีไฟเบอร์จำนวนมาก ซึ่งกระตุ้นกลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้หดตัวเป็นกลุ่ม ๆ

การกระจายกิจกรรมไฟฟ้าทั่วกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างทำให้เกิดกลุ่มคลื่น QRS (QRS complex) บนอีซีจี

รีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องล่าง

[แก้]

เหตุการณ์สุดท้ายในวัฏจักร คือ รีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องล่าง โดยเป็นการฟื้นคืนสู่สภาวะพัก ในอีซีจี รีโพลาไรเซชันรวมถึงคลื่น J (J-wave) ช่วง ST (ST-segment) คลื่น T (T-wave) และคลื่น U (U-wave)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Anatomy and Function of the Heart's Electrical System". สืบค้นเมื่อ 2013-08-07.((cite web)): CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  2. Kowey, P., Yan, Gan-Xin. "Ventricular repolarization components on the electrocardiogram". สืบค้นเมื่อ 2013-03-08. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?